อภิธรรมในชีวิต [19] ชื่อว่า จิต เพราะกระทำให้วิจิตร

 
พุทธรักษา
วันที่  16 ก.พ. 2554
หมายเลข  17891
อ่าน  1,295

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงว่า จิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เราอาจจะสงสัย ว่า จิต มีจริงหรือ เราจะพิสูจน์ จิต ได้อย่างไร ว่า จิต มีจริง เป็นไปได้ไหม ว่า มีแต่ รูปธรรม เท่านั้น ส่วน นามธรรม ไม่มี เรารู้ว่า มีหลายอย่างในชีวิตของเรา เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้าเครื่องมือ เครื่องใช้ ในชีวิตประจำวัน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่ เกิดขึ้น โดย จิต

จิต เป็น นามธรรม จิต เป็น สภาพธรรมที่รู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จิต ต่างจาก รูปธรรมซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร เราฟังดนตรี ซึ่ง เรียบเรียง โดย นักดนตรี ซึ่งก็เป็น จิต นั่นเอง ที่ "คิดนึก" เรียบเรียงขึ้น และ ก็ จิต นั่นเอง ที่ทำให้มือของนักดนตรี เคลื่อนไหว ในขณะที่เขียนโน้ตเพลง ถ้าไม่มี จิต มือของเขา จะเคลื่อนไหวไม่ได้เลย จิต เป็นสภาพธรรม ที่วิจิตร มากจิต ทำให้มี "สิ่งต่างๆ " เกิดขึ้น

ในอัฏฐสาลินี ซึ่งเป็นอรรถกถาธัมมสังคณีปกรณ์ ตอน ๒ จิตตุปปาทกัณฑ์มีข้อความว่า ชื่อว่า จิต เพราะกระทำให้วิจิตร อย่างไร จริงอยู่ ธรรมดา ว่า ความวิจิตรอื่น จะยิ่งไปกว่า จิตรกรรมย่อมไม่มีในโลก ธรรมดา ว่า ลวดลายในจิตรกรรม แม้นั้น ก็เป็น ความวิจิตร คือ เป็นความงามอย่างยิ่งทีเดียว พวกช่างลวดลาย เมื่อจะกระทำจิตรกรรมนั้น ย่อมเกิด สัญญาอันวิจิตร ว่า รูป ทั้งหลาย ชนิดต่างๆ เราพึงกระทำ ณ ตรงนี้ โดยอุบายอย่างนี้ การกระทำให้วิจิตร ทั้งหลาย ที่ให้สำเร็จกิจ มีการเขียน การลงสี การทำสีให้เรืองรอง และ การสลับสี เป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น ด้วย สัญญาอันวิจิตร รูปอันวิจิตร อย่างใดอย่างหนึ่ง ในความวิจิตร คือ ลวดลายย่อมสำเร็จมาจาก การกระทำให้วิจิตร นั้น เพราะเหตุนั้นศิลปะอันวิจิตร ทุกชนิด ในโลก อัน จิต นั่นเอง "คิด" ว่า รูปนี้ จงอยู่บนรูปนี้ รูปนี้ จงอยู่ใต้รูปนี้ รูปนี้ จงอยู่ข้างทั้งสอง ดังนี้ แล้วจึงกระทำเหมือน รูปอันวิจิตร ที่เหลือ ย่อมสำเร็จได้ ด้วย "กรรม" อันช่างคิดแล้ว ฉะนั้น แม้ จิต-ที่ให้สำเร็จความวิจิตรนั้น ก็ชื่อว่า จิต อย่างนั้น เหมือนกัน เพราะ (จิต) เป็น "ธรรมชาติ-วิจิตร ด้วยการกระทำ" นี้ดังพรรณามา ฉะนี้

อีกอย่างหนึ่ง จิต นั่นเอง ชื่อว่า วิจิตร แม้กว่าลวดลายในจิตรกรรม นั้น เพราะให้สำเร็จจิตรกรรม ตามที่ "จิต-คิด" ทุกชนิด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคฯ จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา ว่า ลวดลายอันวิจิตร เธอเห็นแล้วหรือ" .. "เห็นแล้ว พระพุทธเจ้าข้า" .. "ภิกษุทั้งหลาย ลวดลายอันวิจิตร แม้นั้นแลก็ จิต นั่นเอง คิด แล้ว ภิกษุทั้งหลาย จิต นั่นแหละ วิจิตรกว่าลวดลายอันวิจิตร แม้นั้นแล"

มีข้อความ ที่แสดงว่า "สิ่งต่างๆ " สำเร็จด้วย "จิต" เช่น การให้ทาน (เป็นต้น) ซึ่งเป็น กุศลกรรม การทารุณโหดร้าย การหลอกลวง (เป็นต้น) ซึ่งเป็น อกุศลกรรมกุศลกรรม และ อกุศลกรรม ย่อมให้ผล ต่างกัน ฉะนั้น จึงไม่ใช่ว่า มี จิต เพียงประเภทเดียวเท่านั้น แต่ มี จิต มากมาย-หลายประเภท ทีเดียว


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chaiyut
วันที่ 16 ก.พ. 2554

"ภิกษุทั้งหลายลวดลายอันวิจิตร แม้นั้นแลก็ จิต นั่นเอง คิด แล้ว.ภิกษุทั้งหลายจิต นั่นแหละ วิจิตรกว่า-ลวดลายอันวิจิตร แม้นั้นแล."

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 16 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
intira2501
วันที่ 16 ก.พ. 2554

ไม่ใช่ว่า มี จิต เพียงประเภทเดียวเท่านั้นแต่ มี จิต มากมาย-หลายประเภท ทีเดียว แต่ทำไมหนอ ... ตนเองถึงได้มีความ โลภ ความโกรธ ความหลง มากมายเหลือ เกินขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ