พูดไปสองไพเบี้ย...นิ่งเสียตำลึงทอง

 
JANYAPINPARD
วันที่  16 ส.ค. 2553
หมายเลข  16946
อ่าน  23,715

พูดไปสองไพเบี้ย...นิ่งเสียตำลึงทอง วลีธรรมดาที่คุ้นหู และเหมือนรู้แล้ว หน่า แต่เมื่อศึกษาธรรมะ จะพิจารณาวลีนี้ ได้ลึกซึ้งยิ่งนัก ท่านมีความเห็นอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 16 ส.ค. 2553

ในอกุศลกรรมบท 10 มีการกล่าวถึงอกุศลกรรมทางวาจาถึง 4 ข้ออกุศลกรรมบท 10 คือ

1. การฆ่า

2. การถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้

3. การประพฤติผิดในกาม

4. การพูดเท็จ

5. การพูดส่อเสียด

6. การพูดคำหยาบ

7. การพูดเพ้อเจ้อ

8. การเพ่งเล็งอยากได้ของๆ ผู้อื่นมาเป็นของตน

9. การคิดร้ายเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน

10. การเห็นผิด (ทิฏฐิ)

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
สมศรี
วันที่ 16 ส.ค. 2553

มีเหตุที่บางครั้งก็ต้องนิ่งไม่ประสงค์จะพูดให้ผิดใจ หรือมีการโต้แย้งกัน เพราะเป็นคนไม่ ชอบพูดโต้แย้งกับใคร มีเพื่อนสองคนได้ชักชวนให้ไปนั่งสมาธิกันที่ต่างจังหวัด 10 วัน เพื่อนคนหนึ่งเป็นแม่ชี อีกคนหนึ่งก็เป็นนักปฏิบัติ นั่งได้ครั้งละนานๆ บางครั้งไม่นอนทั้ง คืน แต่ก่อนก็เคยไปปฏิบัติแบบนั่งสมาธิ เป็นประจำ ตอนนี้ได้ปฏิเสธกับเพื่อนว่า เดี๋ยวนี้ ชอบนั่งฟังธรรมมากกว่านั่งสมาธิ เพราะทำให้เข้าใจอะไรหลายอย่าง ครั้งนั้นเพื่อนบอก ว่า มันจะได้เรื่องอะไรถ้าไม่ปฏิบัติ ครั้งนี้ จึงไม่ประสงค์จะพูดเหตุผลอื่นๆ คิดว่านิ่งเสียจะ ดีกว่า ไม่ทราบว่าเป็นคนเห็นแก่ตัวหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 16 ส.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตําลึงทอง

ภาษิตถูกทํานอง เตือนเราให้ใช้เหตุผล พูดไปให้เป็นเรื่อง คนขุ่นเคืองเพราะคําตน นิ่งไว้ใจอดทน ตําลึงทองเป็นของเรา" สุภาษิตไทย ให้ข้อคิดที่เข้าใจกันทั่วๆ ไป คือ บางอย่างเมื่อพูดออกไปแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์เพียงเล็กน้อย (หรือ ไม่เกิดประโยชน์เลย) แต่เกิดผลเสียมากกว่า หากนิ่งเสียก็จะเป็นประโยชน์มากกว่า

ขออนุญาต ร่วมสนทนา การพูด เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวัน จำเป็นจะต้องพูดคุยสนทนากับผู้อื่นอยู่เสมอ และเป็นที่น่าพิจารณาว่า ในวันหนึ่งๆ โดยปกติของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้น ย่อมเป็นไป หวั่นไหวด้วยอำนาจของ กุศลเสียเป็นส่วนใหญ่ ตามการสะสม แม้แต่การพูดก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่ว่าจะพูดด้วยกุศลจิตตลอด บางครั้งก็พูดด้วย กุศลจิต จึงมี วจีทุจริต เกิดขึ้นค่อนข้างมากในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเรื่องของการพูดเพ้อเจ้อแต่เวลาที่หิริ (ความละอายต่อกุศลธรรม) โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อกุศลธรรม) มีกำลังมากขึ้น ก็จะทำให้พูดสิ่งที่ดีเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ก่อนอาจจะพูดไปโดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นโทษเป็นภัยอย่างไร แต่เวลาที่หิริโอตตัปปะเกิดขึ้น จะทำให้พิจารณาเห็นได้ว่าสิ่งใดที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ ก็สามารถที่จะเว้นไม่พูดในขณะนั้นได้

ไม่ได้ห้ามการพูด ไม่ใช่ไม่ให้พูด แต่สิ่งใดที่พูดไปแล้ว เป็นการเพิ่ม กุศลให้กับทั้งคนพูดและคนฟัง ก็ไม่ควรพูด (แต่ห้ามได้ไหม? จนกว่าจะเห็นโทษจริงๆ ) แต่ถ้าสิ่งใด เมื่อพูดไปแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นแห่ง กุศลธรรม ควรพูด (แต่จะเป็นไปได้มากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความเข้าใจและเห็นประโยชน์) ในกรณีที่จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ไม่ควรนิ่งเฉย ควรอย่างยิ่งที่จะพูด เพื่ออนุเคราะห์เกื้อกูลให้เขาเข้าใจตามความเป็นจริง หรือ ให้เขาแก้ไขความประพฤติที่ไม่เหมาะสมทั้งทางกาย ทางวาจา ด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา พร้อมกันนั้นก็ยังจะต้องดูกาละ ที่สมควรด้วย การพูดนั้นจึงจะไม่ไร้ประโยชน์ แต่ถ้าเขาไม่ยอมรับฟังเตือนแล้ว ไม่ฟัง ก็ไม่ควรที่จะพูดให้มากไปกว่านั้น พึงมีความเป็นกลางไม่หวั่นไหวไปด้วยโทสะ ด้วยความเข้าใจว่า สัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 17 ส.ค. 2553

"...แต่ถ้าเขาไม่ยอมรับฟังเตือนแล้ว ไม่ฟัง ก็ไม่ควรที่จะพูดให้มากไปกว่านั้น พึงมีความเป็นกลางไม่หวั่นไหวไปด้วยโทสะ ด้วยความเข้าใจว่า สัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน..."

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 17 ส.ค. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

ผมเคยได้ฟังมาว่า พระโพธิสัตว์ ท่านสมบูรณ์ด้วยกุศลในคำพูด กล่าวคือ ท่านกล่าวแต่คำจริง ไม่เพ้อเจ้อ ไม่ส่อเสียด และไม่หยาบคาย แต่ในอกศุลกรรมบทเรื่องอื่น อาจมีพร่องอยู่บ้าง ไม่ทราบว่าจะถูกต้องหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prachern.s
วันที่ 17 ส.ค. 2553

เรียนความเห็นที่ ๖

ผมเคยได้ฟังมาว่า พระโพธิสัตว์ ท่านสมบูรณ์ด้วยกุศล ในบางชาติอาจล่วงศีล ได้บางข้อ แต่ศีลข้อมุสาวาท ย่อมไม่ล่วงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 17 ส.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การพูดและการนิ่งก็คือจิต เจตสิกที่ทำหน้าที่ การพูด พูดด้วยจิตที่เป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ การนิ่ง นิ่งด้วยจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงในเรื่อง ของการพูดไว้ว่าเราไม่กล่าวว่าควรพูดในสิ่งที่เราเห็น ได้ยินทั้งหมด เพราะสิ่งใดเมื่อ พูดแล้วจิตเป็นอกุศล (ผู้พูด) สิ่งนั้นก็ไม่ควรพูด แม้เรื่องนั้นจะจริงก็ตาม เรื่องใดไม่จริง ไม่ควรพูด เรื่องใดจริง แท้แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ควรพูด เรื่องใดจริง ประกอบ ด้วยประโยชน์ ควรพูดแต่ดูกาลเทศะที่จะพูดด้วย คำว่าประกอบด้วยประโยชน์ ในที่นี้ คือเป็นกุศลกับตัวเองและทำให้ผู้อื่นเป็นกุศลหรือให้ออกจากอกุศล


เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...

กล่าววาจาต่อหน้าและลับหลัง [อรณวิภังคสูตร]

องค์แห่งวาจาสุภาษิต ๕ ประการ [วาจาสูตร]

การนิ่ง การนิ่งที่เราเรียกว่า ดุษณีภาพ การนิ่ง นิ่งด้วยจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ กุศลก็ได้ ผู้ที่นิ่งก็ด้วยเหตุหลายประการตามพระไตรปิฎกที่ได้แสดงไว้พอสรุปได้ดังนี้

1. นิ่งเพราะไม่รู้จึงนิ่ง ไม่พูด

2. เป็นผู้ไม่แกล้วกล้าจึงนิ่ง ไม่พูด

3. เป็นผู้สำรวมงดเว้นจากการพูดวจีทุจริตจึงนิ่ง ไม่พูด

4. โกรธจึงนิ่ง

5. เป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยคือเป็นการนิ่งอันประเสริฐการนิ่งอย่างพระอริยะ หรือกานิ่งอย่างประเสริฐหมายถึง ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขณะ ที่นิ่งหรือขณะที่พิจารณาสภาพธรรมอยู่ ซึ่งขณะนั้น ไม่ได้พูดหรือแสดงออกทางกาย วาจาอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงชื่อว่าเป็นการนิ่งอย่างพระอริยะ ด้วยจิตที่เป็นกุศล สรุปได้ว่า การนิ่งจึงเป็นไปทั้งจิตที่เป็นกุศลและอกุศล บุคคลจะเป็นผุ้มีปัญญา เป็นผู้ สงบ เพราะเหตุคือเป็นผู้นิ่งหรือเป็นผู้พูดมากก็ไม่ใช่ แต่สำคัญที่ใจและความเข้าใจที่มีของบุคคลนั้น

เชิญคลิกที่นี่ ...

ไม่ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะความเป็นผู้นิ่ง [คาถาธรรมบท]

เมื่อไหร่ควรพูด เมื่อไหร่ไม่ควรพูด (เป็นผู้นิ่ง) ธรรมเป็นอนัตตาเมื่อมีเหตุปัจจัยก็พูด หรือไม่พูด แต่ถ้าเป็นความถูกต้องแล้ว หากจะนิ่งไม่พูดเพราะจิตเป็นอกุศลก็ไม่ควร พูด ด้วยจิตที่เป็นอกุศลก็ไม่ควรแต่ขณะที่ฟังธรรม ขณะที่เข้าประชุมพระพุทธเจ้าทรงแสดง ว่าสิ่งที่ควรพูดคือกล่าวธรรมหรือหากเธอไม่กล่าวธรรมก็ควรเป็นผู้นิ่ง นิ่งอย่างพระอริยะ คือพิจารณาธรรม เป็นต้น การพูดคือควรพูดในสิ่งทีเป็นประโยชน์ด้วยจิตที่เป็นกุศล และการนิ่งก็นิ่งด้วยจิตที่ประกอบด้วยกุศล มีการพิจารณาธรรม เป็นต้น

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 73

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอประชุมกันแล้ว ก็มีกิจที่ควรกระทำ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา กล่าวธรรม หรือ ดุษณีภาพนิ่งอย่างอริยะ".

ควรเป็นผู้นิ่ง เพราะเคารพธรรม หากจะกล่าวเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องของพระธรรมก็ควรนิ่งเสีย ในขณะที่ฟังธรรม เพราะเป็นผู้เคารพธรรม

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...

นิ่งไม่พูด เรื่องไม่เป็นประโยชน์เพราะเคารพธรรม [ปุนัพพสุสูตร]

ควรเป็นผู้นิ่ง ด้วยเหตุเมื่อได้รับคำด่า วาจาที่ไม่เป็นธรรม เพื่อประโยชน์กับตัวเองคือรักษาจิตตัวเองและรักษาผู้อื่นไม่ให้ผู้อื่นเกิดอกุศลมากไปกว่านี้ หากมีการกล่าวโต้ตอบกัน จึงควรนิ่งเสียด้วยกุศลจิต
[เล่มที่ 25]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒
- หน้าที่ 471

ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือทั้งฝ่ายตนและคนอื่น

เรื่องควรนิ่งเมื่อถูกคำด่าว่า

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 715

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคาถานี้แล้ว จึงรับสั่งถามพระอานนทเถระว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุทั้งหลายถูกคำว่าเย้ยหยันอย่างนี้แล้วพูดอย่างไร. กราบทูลว่า มิได้พูดอะไรเลย พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เราเป็นผู้มีศีลมิใช่หรือ เพราะฉะนั้นควรนิ่งในเรื่องทั้งหมด แม้รู้อยู่ก็ไม่พูด เพราะคนพาลกับบัณฑิตเข้ากัน ไม่ได้. เรื่องที่ควรพูด.......พูดด้วยกุศลจิต พูดเพื่อตักเตือน พูดเพื่อประโยชน์กับผู้อื่นและบางอย่าง เมื่อผู้อื่นกล่าวคำติเตียน พระรัตนตรัย ก็ควรพูดเพื่อให้มีความเข้าใจถูกและเคารพในพระรัตนตรัย แต่ควรดูกาลเทศะ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...

ไม่ควรนิ่งเมื่อมีใครว่าพระรัตนตรัย [พรหมชาลสูตร]

การอบรมปัญญาคือเข้าใจความเป็นอนัตตา เมือมีเหตุให้พูดก็พูด ให้นิ่งก็นิ่ง ไม่ได้ ห้ามให้พูดหรือนิ่งเป็นไปไม่ได้ แต่ให้เข้าใจความจริงที่เกิดแล้วเข้าใจว่าเป็นธรรม ขณะ ที่พูดก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะที่นิ่งก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 17 ส.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.ประเชิญ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
kinder
วันที่ 17 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
hadezz
วันที่ 18 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chaiyut
วันที่ 18 ส.ค. 2553

ฟังพระธรรมเพื่อเข้าใจ เพื่อน้อมประพฤติปฏิบัิติตาม ไม่ว่าจะกำลังพูดหรือว่าจะกำลังนิ่ง มีสิ่งที่มีจริงปรากฏ เป็นธรรม และเป็นอนัตตา

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
wannee.s
วันที่ 18 ส.ค. 2553

ในพระไตรปิฏกมีแสดงไว้ว่า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำสามัญเสีย วาทะลับหลังใด ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าววาทะนั้นเป็นอันขาด ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 19 ส.ค. 2553

คนที่สะสมมาคิดก่อนพูดก็มี สะสมมาที่พูดก่อนคิดก็มี พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง เป็นการคิดก่อนพูด การศึกษาพระธรรมทำให้เข้าใจเรื่องการพูดว่า ควรพูดด้วยจิตที่เป็นกุศลและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

ความเข้าใจที่ว่า ธรรมะเป็นอนัตตา ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ดังนั้น การกระทำ การพูด หรือคิดจะเป็นกุศลหรืออกุศล เพราะจิตในขณะนั้นและจิตทีเป็นกุศลหรืออกุศลขึ้นกับกิเลส..สิ่งที่ดับกิเลสได้คือปัญญา..ที่เริ่มต้นด้วยการฟังธรรมให้เข้าใจ เริ่มต้นด้วยการฟังธรรมให้เข้าใจ เป็นวลีที่คุ้นอีกเหมือนกันจนเคยถามว่ามีอย่างอื่นอีกไหม...แต่ยิ่งศึกษาพระธรรมยิ่งรู้ว่าไม่มีอย่างอื่นอีกจริงๆ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 19 ส.ค. 2553

"ไม่ควรนิ่งเมื่อมีใครว่าพระรัตนตรัย" ข้อนี้ไม่เคยนิ่งเลยค่ะ ถึงแม้จะไม่เป็นที่รักของใครก็ไม่กล้วค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ภัสร์
วันที่ 19 ต.ค. 2553
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ