เมื่อได้กระทำความผิดลงไปแล้ว

 
khampan.a
วันที่  28 ก.ค. 2553
หมายเลข  16827
อ่าน  2,536

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 102

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราเมื่อครั้งเป็นสุเมธดาบส ได้คิดว่า (เป็นข้อความที่ท่านสุเมธดาบสสอนตนเอง)

" ... ธรรมดาว่าน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปสม่ําเสมอ และย่อมชําระล้างมลทิน คือ ธุลี (สิ่งสกปรก) ในชนทั้งหลายทั้งคนดีและคนชั่ว แม้ฉันใด เธอก็จงเป็นฉันนั้นนั่นแหละ พึงเจริญเมตตาบารมี เจริญเมตตาไปสม่ําเสมอในชนผู้ทําประโยชน์และผู้ไม่ทําประโยชน์แล้ว ท่านจักบรรลุสัมโพธิญาณ."

(ข้อความบางตอนจาก ... พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีปกรณ์)

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 530

อุเบกขา มีการเป็นไปโดยอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลายเป็นลักษณะ มีความเห็นสัตว์ทั้งหลายโดยความเสมอกันเป็นรส (เป็นกิจ) มีการเข้าไปสงบความโกรธและ ความรักเป็นปัจจุปัฏฐาน (อาการปรากฏ) มีความเห็นสัตว์มีกรรมเป็นของตน อย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน สัตว์เหล่านั้นจักมีความสุข หรือจักพ้นจากทุกข์ หรือจักไม่เสื่อมจากสมบัติตามความพอใจของใครดังนี้เป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิด) อุเบกขานั้น มีความสงบความโกรธและความรักเป็นสมบัติ มีความเกิดขึ้นแห่งอัญญาณูเบกขาซึ่งอาศัยเรือนเป็นวิบัติ.

(ข้อความบางตอนจาก ... พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีปกรณ์)

ธรรมดาของบุคคลผู้ที่ยังมีกิเลสนั้น อกุศลย่อมเกิดขึ้นมาก มักจะไหลไป เป็นไปด้วยอำนาจของอกุศลเป็นส่วนใหญ่ และบางครั้งบางคราวก็ล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรมทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน ซึ่ง (อาจจะ) มีได้ ทั้งหมดทั้งปวงก็เป็นธรรม เป็นความเป็นไปของจิต เจตสิกเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน สิ่งที่ควรพิจารณาคือไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิด ย่อมมีแน่นอนสำหรับบุคคลผู้ที่กระทำความผิด จะมากหรือน้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตัวเราเองก็เช่นเดียวกัน เวลาที่ตนเองทำความผิดได้ผิดพลาดพลั้งไป ก็อยากจะให้คนอื่นเขาเข้าใจ และเห็นใจคนอื่นๆ ที่เป็นแบบเราก็มีความต้องการอย่างนี้เช่นเดียวกัน แต่เวลาคนอื่นทำความผิด ได้ผิดพลาดพลั้งไปนั้น เรามักจะลืมให้อภัยเขา ลืมเข้าใจเขา

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นเครื่องเตือนที่ดีอยู่เสมอ เพราะพระองค์ไม่เคยสอนให้เกิดอกุศลเลยแม้แต่น้อย แม้ในบุคคลผู้กระทำความผิด ก็ไม่ควรโกรธ เพราะเหตุว่าบุคคลผู้ควรแก่การโกรธ ไม่มี และอีกประการหนึ่งที่ควรพิจารณาคือในขณะที่คนอื่นได้กระทำความผิดไป ก็อย่าพึ่งโทษหรือโจทก์เขา ควรที่จะสอบสวนพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ถ้าเขาผิดจริง ควรที่จะมีเมตตา คอยอนุเคราะห์เกื้อกูลให้เขาสละคืน คือละซึ่งการปฏิบัติอันไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมนั้นเสีย ถ้าเขารับฟัง นั่นเป็นการดี แต่ถ้าเขาเป็นผู้ว่ายากไม่ยอมรับฟังในคำแนะนำอันถูกต้องนั้น ก็ควรจะเป็นผู้มีอุเบกขาคือความเป็นกลางไม่หวั่นไหวไปด้วยอำนาจของอกุศล คือ โทสะ พร้อมกับพิจารณาเห็นว่า สัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน ใครทำกรรมอะไรไว้ ก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้นๆ แต่การจะมีอุเบกขา (อุเบกขาพรหมวิหาร ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก) ได้นั้น พื้นฐานของจิตใจต้องเป็นผู้มีเมตตา

เพราะฉะนั้นแล้ว ควรมองข้ามความผิดของผู้อื่นไปเสีย และอย่ากระทำให้เขาหมดกำลังใจด้วยการพิพากษาโทษของเขาอย่างรุนแรง และประการที่สำคัญอย่างยิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คืออย่าได้มองข้ามความผิดของตนเอง เพราะปุถุชนก็คือปุถุชน ไม่ใช่ พระอริยบุคคล ย่อมมีอกุศลเกิดมากเป็นธรรมดา มีกุศลเกิดแทรกสลับกับอกุศล เท่านั้นเอง ดีเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ จนกว่าจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ซึ่งก็จะต้องอาศัยกาลเวลาอันยาวนานในการอบรมเจริญปัญญา เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองต่อไป

ความเข้าใจพระธรรม (ปัญญา) เท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริงสำหรับทุกคน ความเข้าใจพระธรรม นอกจากจะเป็นประโยชน์สำหรับตนเองโดยตรงแล้วยังสามารถเกื้อกูลให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ด้วย ด้วยการแนะนำให้เจริญในหนทางข้อปฏิบัติที่ถูกต้องตรงตามพระธรรมคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ตามกำลังปัญญาของตนเองครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 28 ก.ค. 2553

ทุกข้อความที่ยกมา มีความหมายอันลึก และ เป็นประโยชน์ยิ่งในการขัดเกลากิเลสของตน (ในที่นี้หมายถึง ข้าพเจ้าเอง)

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของคุณคำปั่นด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 29 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 29 ก.ค. 2553

เวลาที่ตนเองทำความผิดได้ผิดพลาดพลั้งไป ก็อยากจะให้คนอื่นเขาเข้าใจและเห็นใจ คนอื่นๆ ที่เป็นแบบเราก็มีความต้องการอย่างนี้เช่นเดียวกัน แต่เวลาคนอื่นทำความผิดได้ผิดพลาดพลั้งไปนั้น เรามักจะลืมให้อภัยเขา ลืมเข้าใจเขา

เพราะความรักตัวเอง ... ความผิดของตนย่อมอยากให้ได้รับการอภัยแต่ความผิดผู้อื่น ... จึงไม่คิดที่จะอภัย ... เพราะมานะว่าเขาแย่กว่าเรา ... เราดีกว่า ... ความผิดของผู้อื่นจึงไม่อยากลืม ... แต่ความผิดตนจึงพยายามลืม

ขออนุโมทนาค่ะ ... เป็นข้อความเตือนใจที่มีค่ายิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ups
วันที่ 29 ก.ค. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
opanayigo
วันที่ 29 ก.ค. 2553

ไพเราะ ละเอียด ลึกซึ้ง มีประโยชน์ในการน้อมพิจารณาในสภาพธรรมในชีวิตประจำวัน (สอนตนเอง ปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลส) ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน (จริงๆ ค่ะ) ทุกอย่างไม่ได้เป็นไปตามความอยาก หรือไม่อยาก เมื่อมีเหตุพร้อมปัจจัยจะเกิด ก็ต้องเกิด

กราบอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 29 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jaran
วันที่ 29 ก.ค. 2553

ขอขอบคุณและอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
คุณ
วันที่ 29 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
พร้อมเสมอ
วันที่ 29 ก.ค. 2553

สาธุ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 29 ก.ค. 2553

ผู้ใดอดกลั้นถ้อยคำล่วงเกินได้ ผู้นั้นชื่อว่าฝึกตน ย่อมเป็นผู้ประเสริฐที่สุดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 29 ก.ค. 2553

" ... ธรรมดาว่า น้ำ ย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวโดยเสมอกัน ... "

ซาบซึ้งกับข้อความนี้มากๆ ค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
pirmsombat
วันที่ 29 ก.ค. 2553

ขอบคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิต กุศลกรรม และปัญญาของคุณ คำปั่น มากครับ

ผมซาบซึ้งมากและจะน้อมนำมาปฏิบัติตามในคำว่า "บุคคลผู้ควรแก่การโกรธ ไม่มี" ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
aiatien
วันที่ 29 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Jans
วันที่ 30 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
bsomsuda
วันที่ 30 ก.ค. 2553

"การจะมีอุเบกขา (อุเบกขาพรหมวิหาร ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก) ได้นั้น พื้นฐานของจิตใจต้องเป็นผู้มีเมตตา"

" ... ควรมองข้ามความผิดของผู้อื่นไปเสีย และอย่ากระทำให้เขาหมดกำลังใจด้วยการพิพากษาโทษของเขาอย่างรุนแรง และประการที่สำคัญอย่างยิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คืออย่าได้มองข้ามความผิดของตนเอง เพราะปุถุชนก็คือปุถุชน ไม่ใช่พระอริยบุคคล ย่อมมีอกุศลเกิดมากเป็นธรรมดา ... "

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
orawan.c
วันที่ 30 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
สากล
วันที่ 30 ก.ค. 2553

"อย่าได้มองข้ามความผิดของตนเอง"

ความผิด คือ ความไม่ถูกต้อง ผมรู้เฉยๆ แต่ผมไม่เห็นโทษของมันทั้งๆ ที่รู้ว่า มันไม่ถูกต้อง ผมยังคงทำมันต่อไป ด้วยหวังจะได้อะไรสักอย่างเพื่อสนองความอยาก ที่อ้าอยู่ ไม่ยอมหุบของผมเอง เมื่อไหร่หนอถึงจะเห็นโทษของมัน

ขอบคุณครับกับข้อความดีๆ ที่เตือนใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
narong.p
วันที่ 27 มี.ค. 2554

anumotana

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 29 มี.ค. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
ธุลีพุทธบาท
วันที่ 4 เม.ย. 2558

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอย่างยิ่ง ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 4 ส.ค. 2558

สาธุ อนุโมทนา และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ (งดงามไพเราะควรแก่การจดจำค่ะ)

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
Jumzper
วันที่ 4 มี.ค. 2559

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
Jarunee.A
วันที่ 21 พ.ย. 2566

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ