ความหมายของธัมมะในที่ต่างๆ

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  23 ม.ค. 2553
หมายเลข  15242
อ่าน  1,219

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 48 ... ..

ศัพท์ว่า ธัมมะ นี้ ย่อมปรากฏในศัพท์เป็นต้นว่า ปริยัตติสัจจะ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา ปุญญะ อาปัตติและเญยยะ. จริงอยู่ ศัพท์ว่า ธัมมะ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปริยัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุในพระธรรมวินัย ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะเคยยะ ดังนี้. ปรากฏในอรรถว่า สัจจะ ตังในประโยคเป็นต้นว่า พระธรรมอันบัณฑิตเห็นแล้ว คือรู้แล้ว ดังนี้. ปรากฏในอรรถว่า สมาธิ ดังในประโยคเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น มีธรรมอย่างนี้. ปรากฏในอรรถว่า ปัญญา ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนพญาวานร ท่านผู้ใดมีธรรม ๔ เหล่านี้ คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ และจาคะ ดุจท่าน ท่านผู้นั้น ย่อมก้าวล่วง (ไม่ตกอยู่) ในอำนาจศัตรู ดังนี้. ปรากฏในอรรถว่า ปกติ ในประโยคเป็นต้นว่า มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา ดังนี้. ปรากฏในอรรถว่า สภาวะ ในประโยคเป็นต้นว่า กุศลธรรมดังนี้. ปรากฏในอรรถว่า สุญญตา ในประโยคเป็นต้นว่า ก็ในสมัยนั้นแล พระธรรมทั้งหลาย ย่อมมี ดังนี้. ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปุญญะ (บุญ) ในประโยคเป็นต้นว่าพระธรรมที่ประพฤติดีแล้ว (สะสมไว้ดีแล้ว) ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้. ย่อมปรากฏในอรรถว่า อาปัตติ ในประโยคเป็นต้นว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นอนิยต ๒ ประการ ดังนี้. ปรากฏในอรรถว่า เญยยะ ในประโยคเป็นต้นว่า พระธรรมทั้งปวง ย่อมมาสู่คลองในพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการทั้งปวง ดังนี้. ฯลฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 21 ก.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ