เรียนถามแนวทางการศึกษา และความเข้าใจจากการศึกษาธรรมะ

 
bsomsuda
วันที่  1 ม.ค. 2553
หมายเลข  14955
อ่าน  1,351

ขอเรียนถามพี่ๆ ที่เมตตาทุกคน

ว่าแนวทางการศึกษาธรรมะและความเข้าใจต่อไปนี้เป็นไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่คะ

เริ่มจากที่มีศรัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ว่า เป็นสามารถช่วยบรรเทาทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ จนถึงนำสู่ความดับทุกข์ได้ จึงหมั่นศึกษาธรรมะ เพื่อ ลดละ "ความเป็น เรา"

ด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรม และเรื่องราวของธรรมะโดยละเอียด ด้วยการฟัง อ่าน สอบถาม และสนทนาธรรมกับกัลยาณมิตร เรื่องที่ศึกษาเป็นพิเศษ ได้แก่

- เรื่องสติ และปัจจัยเกื้อกูลให้สติเกิด

- เรื่องปัญญา และปัจจัยเกื้อกูลให้ปัญญาเกิด

- เรื่องรูป-นาม ได้แก่ จิตและเจตสิกต่างๆ รูปต่างๆ และนิพพาน

- เรื่องปัจจัย

- เรื่องกรรม

พร้อมกับหมั่นศึกษา "ธรรมะที่ปรากฎในขณะนี้" ทางทวารทั้ง 6 เพื่อเจริญปัญญาให้รู้ว่า..ธรรมะที่ปรากฎ "ไม่ใช่ตัวตน" แต่เป็นเพียง "รูป" และ "นาม" ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับ

และเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้รูปและนามเกิดขึ้น ก็คือ กรรม แต่เมื่อรูปและนามเกิดขึ้นรับผลของกรรมแล้ว หลังจากนั้น อย่างรวดเร็วมาก อกุศลธรรมต่างๆ ที่สะสมมาหนาแน่น ก็จะปรุงแต่งให้จิตเป็นอกุศล

ดังนั้น ตลอดทั้งวัน หากสติไม่ระลึก ชวนจิตก็จะมีแต่โลภะ คือ ความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และความคิด ท่านอาจารย์กล่าวให้ฟังเมื่อคราวที่ไปสนทนาธรรมที่ศุภาลัยรีสอร์ท จ.สระบุรี ว่า "โลภะแทรกอยู่ แม้ในช่องว่างระหว่างกลาปต่างๆ "

แต่ขณะที่สติระลึก ปัญญารู้สภาพธรรมะตามความเป็นจริง ก็จะช่วยลดทอนกำลังการสะสมของโลภะ โทสะ โมหะ และลด "ความเป็นเรา" เมื่อ "ความเป็นเรา" น้อยลง ก็จะ "ทุกข์" น้อยลงหากความเข้าใจนี้บกพร่อง ผิดพลาดหรือผิดแนวทางอย่างไรขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

ขอบพระคุณมากมากค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 2 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 2 ม.ค. 2553

เจ้าของกระทู้สรุปได้ดีเข้าใจง่ายจังเลยค่ะ ไม่มีอะไรจะแนะนำเลย มีแต่จะทำตามนั้น

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 2 ม.ค. 2553

ขณะที่ฟังธรรมเข้าใจ ขณะนั้นเป็นปัญญาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 2 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาและขออนุญาตร่วมสนทนาในประเด็นของ "โลภะ" และ "ศรัทธา" (อริยทรัพย์)

โลภะเข้าใจว่า โลภะ เป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะติดข้อง มีความละเอียดมาก แม้ขณะที่มีก็ไม่รู้ว่ามี บางครั้งก็เข้าใจผิดว่าไม่มี ดังนั้น เข้าใจว่า ท่านเปรียบเทียบความละเอียดของโลภะที่เกิดอยู่ตามปกติ ซึ่งมีการสะสมโลภะมากเป็นปกติในชีวิตประจำวันเปรียบเสมือน แทรกอยู่ระหว่างกลาป (อณูที่เล็กที่สุด) โลภจึงเป็นอกุศลธรรมที่ละยากมาก เพราะเป็นความพอใจ ติดข้อง นั่นเองแต่ตราบใด ที่ยังมีหนทางในการดับทุกข์ ความดับทุกข์ย่อมเกิดได้ คือเริ่มต้นด้วย "ความศรัทธา" โดยการเห็นคุณค่าของพระธรรม ศึกษาพระสัทธรรม ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การอ่าน การพิจารณา เพียรน้อมนำมาประพฤติ เท่าที่กำลังปัญญาและกุศลธรรมอื่นๆ อันเป็นเหตุปัจจัย

ในพระไตรปิฎก มีข้อความที่พระผู้มีพระภาคฯ กล่าวถึง "ความศรัทธา" ซึ่งเป็นหนึ่งในอริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐ ทรัพย์ที่สามารถสะสมไปได้ถึงชาติต่อไปไม่เหมือนทรัพย์อื่นๆ ที่สูญหายไปได้ หรือโจรขโมยไปได้ เป็นต้น ผู้ใดมีไว้ก็เป็นปัจจัยเบื้องต้นที่นำมาซึ่งความเจริญของกุศลธรรมระดับแรก จนสูงสุดคือ ความดับทุกข์ คือ พระนิพพาน อริยทรัพย์ ๗ ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา หิริ และ โอตตัปปะ

ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ [ชราสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 2 ม.ค. 2553

ดังนั้น ตลอดทั้งวัน หากสติไม่ระลึก ชวนจิตก็จะมีแต่โลภะ คือความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และความคิด ท่านอาจารย์กล่าวให้ฟังเมื่อคราวที่ไปสนทนาธรรมที่ศุภาลัยรีสอร์ท จ.สระบุรี ว่า

"...โลภะแทรกอยู่ แม้ในช่องว่างระหว่างกลาปต่างๆ " ท่านอาจารย์เปรียบเทียบให้เห็นว่า โลภะนั้นช่างแนบเนียน ช่างหลอกล่อ เป็นเพื่อนที่ติดตามไปทุกแห่ง ที่แท้โลภะสะสมอยู่ที่จิต

ขออนุโมทนาคุณสมสุดาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Pinyapachaya
วันที่ 3 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ เป็นแนวทางที่ดิฉันขอประพฤติตามนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
narong.p
วันที่ 4 ม.ค. 2553

"เมื่อ "ความเป็นเรา" น้อยลง ก็จะ "ทุกข์" น้อยลง" ความเห็นของเจ้าของกระทู้ในประโยคข้างบนนี้ แสดงให้เห็นโลภะ ที่แทรกอยู่แม้ในช่องว่างระหว่างกลาปกำลังมาแล้วครับ ดังนั้น จึงต้องมั่นคงว่าการศึกษาพระธรรม ก็เพื่อ "ละ" "ละ"อะไร ละความไม่รู้ ละในขณะที่เข้าใจธรรมะที่ได้ยินได้ฟัง แม้ในขั้นฟังก็เริ่มละแล้วครับ ส่วนความทุกข์ที่น้อยลงนั้น เป็นผลที่ตามมาครับ จึงควรมีความเข้าใจถูกตั้งแต่ต้นว่า การศึกษาธรรม เพื่ออะไร ถ้าเพื่อได้{ (อยาก) ให้ความทุกข์น้อยลง} ก็จะกั้นการเจริญของปัญญา ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
bsomsuda
วันที่ 4 ม.ค. 2553

- ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

- ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณ wannee.s คุณพุทธรักษา พี่เมตตา และคุณ narong.p ที่ช่วยให้ความเห็น คำแนะนำให้มีความเข้าใจพระธรรมลึกซึ้งขึ้น รวมถึงช่วยเตือนสติด้วยค่ะ จะหมั่นเตือนตนเสมอว่าศึกษาธรรมะ เพื่อ "ละ" ความไม่รู้ ความยึดถือสภาพธรรมะว่าเป็นตัวตนค่ะ

- ยินดีและเต็มใจอย่างยิ่งหากแนวทางศึกษาธรรมะที่แสดงมานี้จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาธรรมะแก่ผู้ที่มีศรัทธาเช่นเดียวกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Sam
วันที่ 4 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
narong.p
วันที่ 4 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาในศรัทธาของเจ้าของกระทู้ครับ ธรรมะนั้นลึกซึ้งมากเกินกว่าที่เราจะคิดเองได้ครับ ขอให้คุณbสมสุดา ศึกษาตามกำลังศรัทธาที่มี ไม่ต้องกังวลหรือคอยที่จะเตือนตน เพราะเป็นหน้าที่ของปัญญาเท่านั้นที่สามารถเตือนได้ครับ ความเป็นเราไม่สามารถเตือนได้ครับ ตราบใดที่ความเข้าใจยังไม่เกิด ก็ยังไม่เตือนครับ ศึกษาธรรม แล้วต้องเป็นปกติครับและไม่ต้องคิดที่จะทำอะไร เพราะนั่นตัวตนมาแล้วครับ "ฟังให้เข้าใจในสิ่งที่ได้ฟัง"เท่านั้น ซึ่งข้อความนี้เหมือนจะเข้าใจไม่ยาก แต่จริงๆ นั้้นก็ไม่ง่ายที่จะเข้าใจได้ ปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้นๆ ครับ เร็วไม่ได้ เหมือนการจับด้ามมีด เป็นต้น

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
bsomsuda
วันที่ 6 ม.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 6 ม.ค. 2553

"ฟังให้เข้าใจในสิ่งที่ได้ฟัง" เท่านั้น ซึ่งข้อความนี้เหมือนจะเข้าใจไม่ยาก แต่จริงๆ นั้้นก็ไม่ง่ายที่จะเข้าใจได้

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เมตตา
วันที่ 7 ม.ค. 2553

"ฟังให้เข้าใจในสิ่งที่ได้ฟัง" เท่านั้น ซึ่งข้อความนี้เหมือนจะเข้าใจไม่ยาก แต่จริงๆ นั้นก็ไม่ง่ายที่จะเข้าใจได้ เห็นด้วยกับคุณวันชัยอย่างมากค่ะ จริงๆ แล้วสิ่งที่ได้ฟังนั้นไม่ง่ายที่จะเข้าใจ

พระธรรมนั้นยากที่จะเข้าใจ ไม่เช่นนั้นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าคงไม่ต้องทรงบำเพ็ญพระบารมีถึง ๔ อสงไขย แสนกัปป์ กว่าที่จะตรัสรู้ความจริง

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
รากไม้
วันที่ 23 ม.ค. 2553

ควรเริ่มจาก ง่ายที่สุด เสียก่อน คือ ศึกษา ในส่วนที่เราเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้เข้าใจได้จริงๆ เสียก่อน มิฉะนั้นแล้ว จะกลายเป็นการสะสม "ความไม่รู้" ซึ่งอันตรายเป็นอย่างยิ่ง

ขออนุโมทนา ผู้มีจิตใฝ่ธรรมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ