ขณะที่ให้ทานนั้นจิตเป็นอะไร........

 
oom
วันที่  24 ต.ค. 2552
หมายเลข  14069
อ่าน  1,315

ได้ฟังเทปธรรมะ ซึ่งอจ.นิภัทร ถามว่าขณะที่ให้ทานนั้นจิตเป็นอะไร ยังเป็นเราที่ให้ทานอยู่

หรือว่าเป็นอะไร...........

ดิฉันจึงรู้เลยว่าการให้ทานของดิฉันส่วนใหญ่ยังเป็นเราตลอดเวลา เพราะคิดว่าี่เรา

เสียสละให้คนอื่น เพื่อสะสมกุศลเจริญปัญญา

ท่านผู้อ่านคิดว่าการให้ทานของท่านขณะนั้นจิตเป็นอะไร.................................


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 27 ต.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ชีวิตดำรงอยู่ได้เพียงชั่วขณะจิตเดียว มีจิตเกิดดับสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา เป็นจิตชาติต่างๆ ทั้งกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา (สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์มีกิริยาจิต ๒ ประเภท คือปัญจทวาราวัชชนจิต และมโนทวาราวัชชนจิต) ไม่มีขณะใดเลยที่พ้นไปจากจิต ขณะใดที่จิตไม่ได้เป็นไปในทาน ในศีล ในภาวนา และนอกเหนือไปจากวิบากจิตในชีวิตประจำวัน และกิริยาจิต ๒ ประเภทดังกล่าวนั้น ที่เหลือทั้งหมดเป็นอกุศลทั้งนั้น การศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูก ไปตามลำดับ ก็จะทำให้รู้จักตนเองตามความเป็นจริง ขณะนี้และทุกขณะสามารถที่จะระลึกศึกษา สังเกต พิจารณาลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นได้ แม้แต่ในขณะที่ให้ทานก็เช่นเดียวกัน ขณะใดที่มีการสละวัตถุสิ่งของประการต่างๆ เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นในขณะนั้นเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นสภาพจิตที่ดีงาม (กุศลจิต) เกิดขึ้นเป็นไปในทาน พร้อมทั้งมีสภาพธรรมคือ เจตสิกฝ่ายดีเกิดร่วมด้วยอีกมากมาย เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น

แต่เพราะยังไม่ได้เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง จึงมีความสำคัญยึดถือว่าเป็นเราที่ให้ทาน เป็นทานของเรา แต่จริงๆ แล้วทุกขณะของชีวิต ไม่มีเรา มีแต่สภาพธรรมเท่านั้น ครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
oom
วันที่ 27 ต.ค. 2552

ขอบพระคุณ อจ.กัมปั่น มากค่ะ ที่ให้ความรู้ความเข้าใจ

ขอเรียนถามอาจารย์ เรื่องของสติ คือสติทางโลกและสติทางธรรมมีความแตกต่างกันอย่างไร เพราะเท่าที่ฟังอจ.สุจินต์ สติ คือธรรมที่เป็นไปในทางกุศล กรณีที่คนทำผิดแล้วระลึกได้ว่าไม่ดี ขณะนั้นเป็นสติ แต่ขณะที่ทำผิดขณะนั้นไม่ใช่สติ ไม่ทราบว่าดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 27 ต.ค. 2552


เรียน คุณ oom ครับ

สติ เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี (เป็นโสภณธรรม) ที่ระลึกได้ในกุศลทั้งหลาย, ขณะที่อกุศลเกิดขึ้นในวันหนึ่งๆ นั้น ซึ่งเกิดบ่อย เกิดมากในชีวิตประจำวัน ขณะนั้นสติไม่ได้เกิดขึ้นระลึกเป็นไปในทาน ศีล ภาวนา แต่ถ้า กุศลจิตเกิดขึ้นเป็นไปในทาน ศีลหรือภาวนาขณะใด ขณะนั้นสติ ก็เกิดขึ้นระลึกเป็นกุศลประเภทนั้นๆ ดังนั้น เมื่อได้ศึกษาแล้วก็จะเข้าใจได้ว่า สติที่ใช้กันในทางโลก กับสติที่เป็นโสภณธรรมซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง จึงมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะสติที่ใช้ในทางโลกนั้นไม่ตรงตามสภาพธรรมของสติจริงๆ อีกประการหนึ่ง ในฐานะที่เป็นปุถุชนย่อมมีความหวั่นไหวไปด้วยอำนาจของกิเลสประการต่างๆ เป็นธรรมดา ขณะที่จิตเป็นอกุศลก็ต้องเป็นอกุศล เพราะเป็นความจริงแต่ถ้าเป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐานแล้ว ถึงแม้ว่ากิเลสเกิด แต่ถ้าสติเกิดขึ้นระลึกรู้ในขณะนั้น ก็จะทำให้รู้สภาพธรรมที่เกิดขึ้นกับตนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ซึ่งการรู้ความจริงนี้เอง จะทำให้ละคลายกิเลส แล้วก็ขัดเกลาอกุศลธรรมได้ละเอียดยิ่งขึ้น จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสติ ที่เป็นสภาพธรรมเครื่องรักษา กล่าวคือ รักษาให้เป็นไปในกุศลธรรมและกั้นกระแสของอกุศลธรรมทั้งหลาย นั่นเอง ครับ สภาพธรรมเกิดดับสดับกันอย่างรวดเร็ว ที่คุณ oom แสดงความคิดเห็นมา ก็เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะกุศลกับอกุศลจะไม่ปะปน เพราะเป็นคนละขณะกันขณะที่กุศลจิตเกิด จะไม่ปราศจากสติ แต่ขณะใดที่จิตเป็นอกุศล ขณะนั้น ไม่มีสติครับ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ oom ด้วยนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 28 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
opanayigo
วันที่ 28 ต.ค. 2552

ขออนุญาตแสดงความเห็น ;

ไม่มีใครรู้จิตใครได้

นอกจากตนเอง

ปัจจัตตัง

รู้ได้เฉพาะตน

......................

การฟังธรรมเสมอๆ ค่อยๆ อบรมความเข้าใจที่ละเล็กละน้อย

บ่อยๆ เนืองๆ

......................

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วิริยะ
วันที่ 29 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
oom
วันที่ 2 พ.ย. 2552

ต้องกราบขอโทษ อจ.คำปัน ด้วยค่ะ ที่เขียนชื่อ อจ.ผิด มีผู้ทักท้วงมาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 2 พ.ย. 2552

เรียน คุณ oom ครับ ชื่อ ก็เป็นเพียงชื่อเท่านั้น ไม่มีความสำคัญอะไร ครับ

[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๘๕ ธรรมดาว่า ชื่อ ไม่เป็นประมาณดอก จิตที่คิดเกื้อกูลเท่านั้น เป็นประมาณ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ oom ด้วยนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
oom
วันที่ 3 พ.ย. 2552

เรียน อจ.คำปั่น

ดิฉันก็คิดเหมือนกันว่า ชื่อเป็นเพียงสมมติบัญญัติ แต่ถ้าผิดแก้ให้ถูกต้องก็ดีเหมือนกัน เพราะตอนที่ไปเรียนที่มูลนิธิฯ เวลาที่ท่านวิทยากรอ่านพระสูตรผิด อจ.ยังต้องแก้ให้ถูกต้องเลย มีเรื่องจะเรียนถามอาจารย์เพิ่มเติมค่ะ คือเรื่องของภาวนา ตอนเช้าวันที่ ๓ พ.ย ๕๒ ฟังธรรมะตอน ๖.๐๐ น. ท่านอจ.สุจินต์บอกว่า ภาวนาคือ การอบรมเจริญปัญญา อยากทราบว่า เวลาที่นั่งสมาธิแล้ว เราก็บริกรรม คำภาวนาต่างๆ เช่น พองหนอ ยุบหนอ เพื่อรู้ตามอาการนั้น ถือเป็นภาวนาหรือไม่ หรือว่าเป็นสมาธิเพื่อให้จิตตั้งมั่น รบกวน อจ.ช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 3 พ.ย. 2552

จากความคิดเห็นที่ ๑๐

ภาวนา เป็นเรื่องของการอบรมเจริญ มีทั้งอบรมเจริญความสงบของจิต (สมถภาวนา) และอบรมเจริญปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) ภาวนาไม่ใช่การไปนั่งสมาธิ หรือไม่ใช่การบริกรรมคำต่างๆ การไปนั่งสมาธิหรือบริกรรมคำต่างๆ นั้น ไม่ใช่ "ภาวนา" ขณะที่ทำอย่างนั้น ย่อมไม่พ้นไปจากอกุศลคือ โลภมูลจิต การกระทำอะไรด้วยความไม่รู้ด้วยความไม่เข้าใจ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเมื่อเหตุผิด ผลก็ย่อมผิดตามไปด้วย มีแต่จะสะสมอกุศล สะสมความไม่รู้อีกต่อไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น ที่สำคัญที่สุด ภาวนานั้นจะขาดปัญญาไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ภาวนาจึงไม่ใช่การนั่งสมาธิ ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

นั่งเจริญภาวนายุบหนอ พองหนอ ก็ไม่เห็นเลย การภาวนา เจริญภาวนาอย่างไร ภาวนาและวิปัสนาภาวนา ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
คุณ
วันที่ 14 พ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 9 พ.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ