ความจริงแห่งชีวิต [167] จิตเห็น รู้ บัญญัติ ไม่ได้

 
พุทธรักษา
วันที่  26 ก.ย. 2552
หมายเลข  13713
อ่าน  1,240

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อารมณ์ ๖

๑. รู​ปา​รมณ์ คือ สิ่ง​ที่​ปรากฏ​ทาง​ตา เป็น​อารมณ์​ของ​จักขุ​ทวาร​วิถี​จิต​ที่​อาศัย​จักขุ​ปสาท​เกิด​ขึ้น เมื่อ​รู​ปา​รมณ์​ดับ​ไป​แล้ว ภวังคจิต​เกิด​ขึ้น​แล้ว​ดับ​ไป​หลาย​ขณะ แล้ว​มโน​ทวาร​วิถี​จิต​ก็​เกิด​ขึ้น​ทาง​มโน​ทวารรับ​รู้​รู​ปา​รมณ์​ที่​ดับ​ไป​ทาง​จักขุ​ทวาร​ต่อ ฉะนั้น รู​ปา​รมณ์​จึง​รู้​ได้ ๒ ทวาร คือ ทาง​จักขุ​ทวาร ​และ​ทาง​มโน​ทวาร โดย​มี​ภวังคจิต​เกิด​คั่น

๒. สัท​ทา​รมณ์ คือ เสียง เป็น​สภาพ​ธรรม​ที่​ปรากฏ​ได้​ทาง​หู เป็น​อารมณ์​ของ​โสต​ทวาร​วิถี​จิต​ที่​อาศัย​โสต​ปสาท​เกิด​ขึ้น แล้ว​เป็น​อารมณ์​ของ​มโน​ทวาร​วิถี​จิต​หลัง​จาก​ที่​ภวังคจิต​เกิด​คั่น แต่ละ​วาระ​ของ​การ​รู้​อารมณ์​ทาง​ทวาร​หนึ่งๆ จะ​ต้อง​มี​ภวังคจิต​เกิด​คั่น ระหว่าง​วิถี​จิต​ทาง​ปัญจทวาร​และ​วิถี​จิต​ทาง​มโน​ทวาร ขณะ​ที่​ได้ยิน​เสียง​และ​กำลัง​รู้​คำนั้น ขณะ​ที่​กำลัง​รู้​คำเป็น​มโนทวาร​วิถี​จิต​ที่​กำลัง​คิดถึง​คำ ไม่ใช่​โสตทวาร​วิถี​จิต​ที่​กำลัง​รู้​เสียง​ที่​ยัง​ไม่​ดับ

๓. คัน​ธาร​มณ์ คือ กลิ่น เป็น​สภาพ​ธรรม​ที่​ปรากฏ​ทาง​จมูก เป็น​อารมณ์​ของ​ฆาน​ทวาร​วิถี​จิต​ที่​อาศัย​ฆาน​ปสาท​เกิด​ขึ้น แล้ว​ต่อ​จาก​นั้น​มโน​ทวาร​วิถี​จิต​ก็​รู้​กลิ่น​นั้น​ต่อ หลัง​จาก​ที่​ภวังคจิต​เกิด​คั่น​แล้ว

๔. รสา​รมณ์ คือ รส เป็น​สภาพ​ธรรม​ที่​ปรากฏ​ที่​ลิ้น ​เป็น​อารมณ์​ของ​ชิวหา​ทวาร​วิถี​จิต​ที่​อาศัยชิวหา​ปสาท​เกิด​ขึ้น และ​เมื่อ​ชิวหา​ทวาร​วิถี​จิต​ดับ​ไป​หมด​แล้ว ภวังคจิต​เกิด​คั่น ​แล้ว​วิถี​จิต​ก็​เกิดขึ้น​รู้​รสา​รมณ์​นั้น​ต่อ​ทาง​มโน​ทวาร

๕. โผฏฐัพ​พา​รมณ์ คือ สภาพ​ที่​เย็น​หรือ​ร้อน อ่อน​หรือ​แข็ง ตึง​หรือ​ไหว ​ที่​ปรากฏ​ทาง​กาย เป็นอารมณ์​ของ​กายทวาร​วิถี​จิต​ที่​อาศัยกาย​ปสาท​เกิด​ขึ้น แล้ว​มโน​ทวาร​วิถี​จิต​ก็​เกิด​ขึ้น​รู้​โผฏฐัพพา​รมณ์​นั้น​ต่อ​ทาง​มโน​ทวาร หลัง​จาก​ที่​ภวังคจิต​เกิด​คั่น​แล้ว

อารมณ์​ทั้ง ๕ นี้​เรียก​ว่า ปัญจ​า​รัม​มณะ หรือ​ปัญจ​า​รมณ์ อารมณ์​ทั้ง ๕ นี้​ปรากฏ​ได้ ๖ ทวาร คือ เมื่อ​จักขุ​ทวาร​วิถี​จิต​เกิด​ขึ้น ​รู้​รู​ปา​รมณ์​ทาง​จักขุ​ทวาร​แล้ว มโน​ทวาร​วิถี​จิต​ก็​เกิด​ขึ้น​รับ​รู้​รู​ปา​รมณ์​สืบ​ต่อ​ทาง​มโน​ทวาร เมื่อ​ภวังคจิต​เกิด​คั่น​แล้ว สัท​ทา​รมณ์ คัน​ธาร​มณ์ รสา​รมณ์ โผฏฐัพ​พา​รมณ์​ก็​นัย​เดียวกัน ฉะนั้น อารมณ์​ทั้ง ๕ นี้​จึง​เป็น​อารมณ์​ของ​จิต​ได้ ๖ ทวาร คือ ทาง​ตา ทาง​หู ทาง​จมูก ทาง​ลิ้น ทาง​กาย ทาง​ใจ แต่​อีก​อารมณ์ ๑ คือ ธมฺ​มา​รมฺมณ หรือ​ธัม​มา​รมณ์​นั้น​รู้​ได้​เฉพาะ​ทาง​มโน​ทวาร คือ ทาง​ใจ​เท่านั้น

๖. ธัม​มา​รมณ์ เป็น​อารมณ์​ที่​จิต​รู้​ได้​เฉพาะ​ทาง​ใจ​ทาง​เดียว​เท่านั้น มี ๖ อย่าง ​คือ ปสาท​รูป ๕ สุขุม​รูป ๑๖ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ นิพพาน บัญญัติ

ธัม​มา​รมณ์ ๕ คือ ปสาท​รูป ๕ สุขุม​รูป ๑๖ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ นิพพาน เป็น​ปรมั​ตถ​ธรรม ธัมมา​รมณ์ ๑ คือ บัญญัติ ไม่​ใช่​ปรมั​ตถธรรม ใน​อัฏฐ​สาลินี จิต​ตุป​ปาท​กัณฑ์ มี​คำอธิบาย​ว่าที่​ชื่อ​ว่า​บัญญัติ "ปญฺญตฺ​ติ" เพราะ​ให้​รู้​ได้​ด้วย​ประ​กา​รนั้นๆ

จักขุ​ทวาร​วิถี​จิต​ทุก​ดวง คือ จักขุ​ทวา​รา​วัช​ชน​จิต จักขุ​วิญญาณสัม​ปฏิ​จ​ฉัน​น​จิต สัน​ตี​รณ​จิต โวฏฐัพ​พน​จิต ชวน​จิต ต​ทา​ลัม​พน​จิต รู้​รู​ปา​รมณ์​ที่​ยัง​ไม่​ดับ จักขุ​ทวาร​วิถี​จิต​จึง​ไม่มี​บัญญัติเป็น​อารมณ์

โสต​ทวาร​วิถี​จิต คือ โสต​ทวา​รา​วัช​ชน​จิต โสต​วิญญาณสัม​ปฏิ​จ​ฉัน​น​จิต สัน​ตี​รณ​จิต โวฏฐัพ​พน​จิต ชวน​จิต ต​ทาลัม​พน​จิต รู้​เสียง​ที่​ยัง​ไม่​ดับ โสต​ทวาร​วิถี​จิต​จึง​ไม่มี​บัญญัติ​เป็น​อารมณ์

ฆาน​ทวาร​วิถี​จิต ชิวหา​ทวาร​วิถี​จิต กายทวาร​วิถี​จิต ก็​โดย​นัย​เดียวกัน

เมื่อ​วิถี​จิต​ทาง​ปัญจ​ทวาร (ทวาร​หนึ่ง​ทวาร​ใด) ดับ​หมด​แล้ว ภวังคจิต​เกิด​คั่น​หลาย​ขณะ​แล้ว มโน​ทวาร​วิถี​จิต​ก็​เกิด​สืบ​ต่อ มโน​ทวาร​วิถี​จิต​วาระ​แรก ​มี​อารมณ์​หนึ่ง​อารมณ์​ใด​ใน ๕ อารมณ์ที่​เพิ่ง​ดับ​ไป​ทาง​ปัญจ​ทวาร​นั่นเอง​เป็น​อารมณ์ มโน​ทวาร​วิถี​จิต​วาระแรก​ที่​เกิด​ต่อ​จาก​ปัญจ​ทวาร​วิถี​จิต​นั้น ยัง​ไม่มี​บัญญัติ​เป็น​อารมณ์

มโน​ทวาร​วิถี​จิต​แต่ละ​วาระ​มี​วิถี​จิต ๒ หรือ ๓ วิถี​จิต คือ มโนทวา​ราวัช​ชน​วิถี​จิต ๑ ขณะ ชวนวิถี​จิต ๗ ขณะ ต​ทา​ลัม​พน​วิถี​จิต ๒ ขณะ (บาง​วาระ​ก็​ไม่​มีต​ทา​ลัม​พน​วิถี​จิต) เมื่อ​มโน​ทวาร​วิถี​จิต​วาระ​ที่ ๑ ดับ​ไป​แล้ว ภวังคจิต​ก็​เกิด​คั่น​หลาย​ขณะ แล้ว​มโน​ทวารวิถี​จิต​วาระ​ต่อ​ไป ก็​เกิดต่อ​มี​บัญญัติ คือ รูป​ร่าง​สัณฐาน​ของ​อารมณ์​หนึ่งอารมณ์​ใด​ใน ๕ อารมณ์​นั้น​เป็น​อารมณ์ โดยเมื่อ​มโน​ทวาร​วิถี​จิต​แต่ละ​วาระ​ดับ​ไป​แล้ว ภวังคจิต​ก็​เกิด​คั่น แล้ว​มโน​ทวาร​วิถี​จิต​วา​ระต่อๆ ไปก็​เกิด​ขึ้น​ มี​อรรถ คือ ความ​หมาย หรือ​คำต่างๆ เป็น​อารมณ์​ที​ละ​วาระ​โดย​มี​ภวังคจิต​เกิด​คั่น ขณะ​ที่​รู้​ว่า​เป็น​คน เป็น​วัตถุ เป็น​สิ่ง​ต่างๆ ขณะ​นั้น​จิต​รู้​บัญญัติ ไม่ใช่​รู้​ปรมั​ตถ​อารมณ์ ปรมัตถ​อารมณ์​ที่​ปรากฏ​ทาง​ตา​เป็น​สีสัน​วัณณะ​ต่างๆ เท่านั้น แต่​ขณะ​ที่​มโน​ทวาร​วิถี​จิต​รู้​ว่า​เป็น​สัตว์ บุคคล วัตถุ สิ่ง​ต่างๆ ขณะ​นั้น​มโน​ทวาร​วิถี​จิต​มี​บัญญัติ​เป็น​อารมณ์​จึง​รู้​ว่า​สิ่ง​นั้น​เป็นอะไร

ฉะนั้น พระ​ธรรม​ที่​ว่า ปรมั​ตถ​ธรรม​ไม่ใช่​บัญญัติ ก็​เพ​ราะปรมั​ตถ​ธรรม​เป็น​สภาพ​ธรรม​ที่​มี​จริง แม้​จะ​ไม่​ใช้​คำบัญญัติ​ใดๆ เรียก​ปรมั​ตถ​ธรรม​เลย สภาพ​ธรรม​ที่​เกิด​ขึ้น​นั้น​ก็​มี​ลักษณะ​เป็นอย่าง​นั้น​จริงๆ ส่วน​บัญญัติ​ไม่​ใช่​ปรมั​ตถ​ธรรม​เพราะ​ไม่ใช่​สภาพ​ธรรม​ที่​มี​จริง และ​ที่​ชื่อ​ว่า ปญฺญตฺ​ติ เพราะ​ให้​รู้​ได้​โดย​ประ​กา​รนั้นๆ

เมื่อ​เห็น​รูปภาพ​ภูเขา ทะเล ต้นไม้ ก็​รู้​ว่า​เป็น​รูปภาพ​หรือ​รูป​เขียน ไม่ใช่​ภูเขา ทะเล ต้น​ไม้​จริงๆ และ​เวลา​ที่​เห็น​ภูเขา ทะเล ต้น​ไม้​จริงๆ อะไร​เป็น​บัญญัติ

เมื่อ​เห็น​รูปภาพ​องุ่น เงาะ มังคุด และ​เห็น​ผล​องุ่น เงาะ มังคุดจริงๆ อะไร​เป็น​บัญญัติ

ธรรม​ย่อม​เป็น​จริง​ตาม​ธรรม ชื่อ​เป็น​บัญญัติ เพราะ​เป็น​คำที่​แสดง​ให้​รู้​ลักษณะหรือ​อรรถ​ของ​สภาพ​ธรรม​ได้ แต่​แม้ว่า​ยัง​ไม่​เรียก​หรือ​ยัง​ไม่มี​ชื่อ​อะไร​เลย ก็​มีฆ​นบัญญัติ​แล้ว ไม่​จำเป็น​ต้อง​รู้​ภาษา​ไหน​เลย แต่​ก็​มี​บัญญัติ​ใน​สิ่ง​ที่​ปรากฏ มิ​ฉะนั้น​ก็​จะ​ไม่รู้​ว่า​สิ่ง​ที่​ปรากฏ​นั้น​เป็น​อะไร ขณะที่​รู้​ว่า​สิ่ง​ที่​ปรากฏ​เป็น​อะไร​นั้น ขณะ​นั้น​รู้​บัญญัติ เพราะ​บัญญัติคือให้​รู้​ได้​โดย​ประ​กา​รนั้นๆ แม้​โดย​ยัง​ไม่​ต้อง​เรียก​ชื่อ เพียง​เห็น​รูป​เขียน​ของ​ผล​ไม้​กับ​ผล​ไม้​จริงๆ อะไร​เป็น​บัญญัติ หรือเป็น​บัญญัติ​ทั้ง​สอง​อย่าง

บัญญัติ​ไม่ใช่​ปรมัตถ์ ผล​ไม้​จริงๆ กับ​รูป​เขียน​ผล​ไม้​มี​อะไร​ต่าง​กัน ใน​ขณะ​ที่​เห็น​ทาง​ตา สิ่ง​ที่​ปรากฏ​ทาง​ตา​ทั้งหมด ไม่ใช่​สัตว์ บุคคล ตัว​ตน หรือ​วัตถุ​หนึ่ง​วัตถุ​ใด​ทั้ง​สิ้น ทั้ง​ใน​ขณะ​ที่​เห็นรูปภาพ​องุ่น​ และ​ใน​ขณะ​ที่​เห็น​ผล​องุ่น บาง​ท่าน​อาจ​จะ​เข้าใจ​ว่า​เฉพาะ​รูปภาพ​เป็น​บัญญัติ และ​ผล​องุ่น​ไม่ใช่​บัญญัติ แต่​ความ​จริง​ทั้ง​รูปภาพ​และ​ผล​องุ่น​ที่​ปรากฏ​ทาง​ตา​นั้น เป็น​บัญญัติอารมณ์​ของ​มโน​ทวาร​วิถี​จิต​ที่​เกิด​สืบ​ต่อ​แล้ว เพราะ​จักขุ​ทวาร​วิถี​จิต​จะ​รู้​แต่​เพียง​สีสัน​วัณณะ​ที่ปรากฏ​เท่านั้น ส่วน​มโน​ทวาร​วิถี​จิต​รู้​บัญญัติ คืออรรถ​ที่​เป็น​องุ่น เพราะ​ให้​รู้​ได้​โดย​ประ​กา​รรนั้นๆ ว่า​องุ่น ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ผล​องุ่น​หรือ​รูปภาพ​องุ่น​ก็ตาม ที่​รู้​ว่า​เป็น​องุ่น​นั้น เป็น​บัญญัติอารมณ์​ไม่​ใช่​ปรมั​ตถอารมณ์

ใน​ขณะ​ที่​กำลัง​เห็น​เป็น​คน​นั้น​คน​นี้ ก็​ควร​ที่​จะ​รู้​ความ​จริง​ว่า​เหมือน​กับ​ภาพ​เขียน​ที่​เป็น​บัญญัติแล้ว ยาก​ที่​จะ​ไถ่​ถอน​บัญญัติ​ออก​ได้​ว่า ขณะ​ที่​รู้​บัญญัติ​ว่า​เห็น​เก้าอี้​นั้น ปรมั​ตถ​อารมณ์​ที่ปรากฏ​ทาง​ตา และ​ปรมั​ตถ​อารมณ์​ที่​ปรากฏ​ทาง​กาย ​เมื่อ​กระทบ​สัมผัส​นั้น ไม่ใช่​บัญญัติ


โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จัดพิมพ์เผยแพร่ โดย คณะกรรมการ ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ครบ ๗๕ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

ขอเชิญอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ ...

ปรมัตถธรรมสังเขป

ขอเชิญอ่านตอนต่อไป ...

ความจริงแห่งชีวิต

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่ และสรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
anong55
วันที่ 27 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนา และชื่นชมในการเผยแพร่พระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
bsomsuda
วันที่ 27 ธ.ค. 2552

ขอขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ