ความจริงแห่งชีวิต [168] จิต รู้ บัญญัติได้ขณะไหน

 
พุทธรักษา
วันที่  27 ก.ย. 2552
หมายเลข  13724
อ่าน  1,220

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถ. ยัง​ไม่​ค่อย​เข้าใจ สมมติ​ง่ายๆ ว่า ใน​ตอน​นี้​เห็น​ปากกา ท่าน​อาจารย์​บอก​ว่า​ เมื่อ​เห็น​เป็นปากกา​แล้ว​ก็​แสดง​ว่า​ผ่าน​ทาง​ปัญจ​ทวาร​ไป​สู่​มโน​ทวาร​แล้ว ทีนี้​ไม่​ทราบ​ว่า​มี​การ​ศึกษา​หรือปฏิบัติ​อย่างไร​จึง​จะ​ไม่​ให้​ข้าม​ทาง​ปัญจ​ทวาร​ก่อน

สุ. ต้อง​ฟัง​จน​กระทั่ง​เข้า​ใจ​จริงๆ ว่า​ขณะ​ไหน​มี​บัญญัติ​เป็น​อารมณ์​ และ​จิต​รู้​บัญญัติ​อารมณ์ทาง​ทวาร​ไหน ขณะ​ที่​จิต​มี​ปรมั​ตถ​ธรรม​เป็น​อารมณ์​นั้น ไม่มี​สัตว์ บุคคล ตัว​ตน วัตถุ​ใดๆ เลย ขณะ​นี้​สภาพ​ธรรม​เกิด​ดับ​สืบ​ต่อ​กัน​เร็ว​จน​ทำให้​เห็น​เหมือน​กับ​พัดลม​กำลัง​หมุน การ​ที่​รูป​ใด​จะปรากฏ​เป็น​อาการ​เคลื่อนไหว​นั้น ต้อง​มี​รูป​เกิด​ดับ​สืบ​ต่อ​กัน​มากมาย​หลาย​รูป​จึง​จะ​ทำให้​เห็นเป็นการ​เคลื่อนไหว​ได้ ฉะนั้น มโน​ทวาร​วิถี​จิต​ที่​มี​บัญญัติ​เป็น​อารมณ์ จึง​มากมาย​หลาย​วาระจน​ปิด​กั้น​ลักษณะ​ของ​ปรมั​ตถ​ธรรม ทำให้​ไม่รู้​เฉพาะ​ลักษณะ​ของ​ปรมั​ตถ​ธรรม​ตาม​ความ​เป็นจริง​เลย

ถ. ถ้า​อย่าง​นั้น​จะ​ให้​เอา​คำ​ว่า​บัญญัติ​ไป​ทิ้ง​ไว้​ที่ไหน

สุ. ไม่ใช่​ให้​ทิ้ง แต่​ให้​รู้​ตาม​ความ​เป็น​จริง​ว่า​ ขณะ​ที่​กำลัง​รู้​ว่า​เป็น​สัตว์ เป็น​บุคคล​หนึ่ง​บุคคล​ใด วัตถุ​สิ่ง​หนึ่ง​สิ่ง​ใด​นั้น ขณะ​นั้น​มโน​ทวาร​วิถี​จิต​กำลัง​รู้​บัญญัติ

ถ. เป็น​สภาพ​นึกคิด​คำ

สุ. ขณะ​ที่​ไม่​ได้​คิด​คำแต่​รู้​รูป​สัณฐาน หรือ​รู้​ความ​หมาย​อาการ​ปรากฏ​ก็​เป็น​บัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถ์ จะ​ต้อง​รู้​ถูกต้อง​ตรง​ลักษณะ​ของ​สภาพ​ธร​รม​จริงๆ จึง​จะ​ประจักษ์​การ​เกิด​ขึ้น​และ​ดับไป​ของ​ปรมั​ตถ​ธรรม​ได้ ท่าน​ที่​บอก​ว่า​ไม่​เห็น​เก้าอี้​ดับ​เลย เมื่อ​ยัง​ไม่​ได้​แยก​ลักษณะ​ของ​ปรมัตถ​ธรรม​แต่ละ​อย่าง​ที่​รวม​กัน​ออก​ก็​เห็น​เป็น​เก้าอี้ ขณะ​นั้นเป็นการ​รู้​บัญญัติ​แล้ว​จะ​ดับ​ได้อย่างไร ตัวอย่าง​ที่​ว่า​ ภาพ​เขียน​องุ่น​กับ​ผล​องุ่น​นั้น​เมื่อ​กระทบ​สัมผัส​ทาง​กายทวาร​ต่าง​กันไหม แข็ง​ไม่​เหมือน​กัน หรือ ​ธาตุ​แข็ง​เกิด​จาก​สมุฏฐาน​ต่างๆ กัน ทำให้​แข็ง​มาก แข็ง​น้อย อ่อนมาก อ่อน​น้อย​ก็​จริง แต่​แข็ง​ก็​เป็น​สภาพ​ธรรม​ที่​ปรากฏ​ทาง​กาย ทั้ง​ภาพ​องุ่น​และ​ผล​องุ่น แต่องุ่น​ที่​เป็น​ภาพ​เขียน​ไม่มี​รส​ของ​ผล​องุ่น รูป​ที่​เกิด​รวม​กัน​ทำให้​รู้​ว่า​เป็น​ผล​องุ่น​นั้น ความ​จริงแล้ว​รส​ก็​เป็น​รูป ๑ กลิ่น​ก็​เป็น​รูป ๑ เย็น​หรือ​ร้อน​ก็​เป็น​รูป ๑ อ่อน​หรือ​แข็ง​ก็​เป็น​รูป ๑ ตึง​หรือไหว​ก็​เป็น​รูป ๑ เมื่อ​รวม​กัน​และ​เกิด​ดับ​อย่าง​รวดเร็ว​ก็​ทำให้​บัญญัติ​รู้​โดย​อา​กา​รนั้นๆ ว่า​นี่​คือ สิ่ง​นี้​ที่​ดู​เสมือน​ไม่​ดับ แต่​ตาม​ความ​เป็น​จริง​นั้น​ปรมั​ตถ​ธรรม​แต่ละ​ลักษณะ​เกิด​ขึ้น​แล้ว​ก็​ดับอย่าง​รวดเร็ว รูป​ที่​ผล​องุ่น ไม่​ว่า​จะ​เย็น​หรือ​ร้อน อ่อน​หรือ​แข็ง​ก็​ดับ รส​ก็​ดับ สภาว​รูป​ทุก​รูปมีอายุ​เพียง ๑๗ ขณะ​จิต​เท่านั้น ไม่​ว่า​จะ​เป็น​สีสัน​วัณณะ​อย่างไร เสียง กลิ่น รส​อะไร​ก็ตาม ปัญญา​ต้อง​พิจารณา​แยก​ย่อย​ฆน​สัญญา​ออก​จน​รู้​ความ​จริง​ว่า ที่​บัญญัติ​เป็น​สิ่ง​หนึ่ง​สิ่ง​ใด​นั้น แท้จริง​แล้ว​ก็​เป็น​แต่​เพียง​ปรมั​ตถ​ธรรม​แต่ละ​ลักษณะ ซึ่ง​เกิด​ดับ​รวม​กัน เมื่อ​รวม​กัน​เป็นอาการ​สัณฐาน​แล้ว มโน​ทวาร​วิถี​จิต​จึง​หมาย​รู้​โดย​ประ​กา​รนั้นๆ ขณะ​ใด ขณะ​นั้น​ก็​มี​บัญญัติ คือ อาการ​สัณฐาน​นั้นๆ เป็น​อารมณ์

ถ. แต่​ถ้า​ทาง​มโน​ทวาร​ทราบ​ว่า​เป็น​ปากกา ผิด​หรือ​ถูก

สุ. ไม่​ผิด เพราะ​ว่า​ขณะ​นั้น​มี​ธัม​มา​รมณ์ คือบัญญัติ​เป็น​อารมณ์ แต่​ปัญญา​ต้อง​รู้​ถูก​ต้อง​ว่า ชั่วขณะ​ที่​เป็น​มโน​ทวาร​วิถี​ต่าง​กับ​ขณะ​ที่​เป็น​จักขุ​ทวาร​วิถี ซึ่ง​ผู้​ที่​ไม่​ได้​อบรม​เจริญ​ปัญญา​ ย่อม​รู้รวม​กัน​ทั้ง​ทาง​จักขุ​ทวาร​วิถี​และ​มโน​ทวาร​วิถี​ว่า​เป็น​สิ่ง​หนึ่ง​สิ่ง​ใด เช่น เป็น​สัตว์ บุคคล วัตถุ​สิ่งต่างๆ ใน​วัน​หนึ่งๆ นั้น​ทุก​คน​ชอบ​อะไร โลภ​ะ​ชอบ​อะไร ชอบ​ทุก​อย่าง รวม​ทั้ง​อะไร

ถ. สิ่ง​ที่​พึง​พอใจ​ทุก​ประเภท

สุ. โลภ​ะ​ชอบ​ทุก​อย่าง รวม​ทั้ง​บัญญัติ​ด้วย โลก​เต็ม​ไป​ด้วย​บัญญัติ จึง​ปฏิเสธ​ไม่​ได้​ว่า​ชอบ​ทั้งปรมั​ตถ​ธรรม​และ​บัญญัติ​ด้วย เมื่อ​ชอบ​สิ่ง​หนึ่ง​สิ่ง​ใด ขณะ​นั้น​ชอบ​บัญญัติ​ด้วย ไม่ใช่​ชอบ​แต่เฉพาะ​ปรมัตถ์​เท่านั้น ถ้า​ชอบ​เข็มขัด ๑ เส้น ก็​ชอบ​สี​ที่​ปรากฏ​ทาง​ตา

ถ. ชอบ​ยี่ห้อ​ด้วย

สุ. ชอบ​ทั้งหมด​เลย ถ้า​บอก​ว่า​ชอบ​สี สี​อะไร สี​ที่​เป็น​คิ้ว เป็น​ตา เป็น​จมูก เป็น​ปาก ถ้า​ไม่มี​สีปรากฏ จะ​มี​คิ้ว ตา จมูก ปาก​ได้​ไหม ไม่​ได้ แต่​เวลา​เห็น​สี สี​ก็​เป็น​เพียง​สิ่ง​ที่​ปรากฏ​ทาง​ตา​อยู่นั่นเอง ไม่​ว่า​จะ​แดง เขียว ฟ้า นํ้าเงิน ขาว แต่​แม้​กระนั้น​ก็​ยัง​ชอบ​สี​ที่​เป็น​คิ้ว สี​ที่​เป็น​ตา สี​ที่​เป็นจมูก สี​ที่​เป็น​ปาก นั่น​คือ​ชอบ​บัญญัติ

ปรมั​ตถ​ธรรม​มี​จริง แต่​เมื่อ​ชอบ​สิ่ง​ใด ขณะ​นั้น​ก็​ชอบ​ทั้ง​ปรมั​ตถธรรม​ที่​กำลัง​ปรากฏ และ​ชอบบัญญัติ​ของ​ปรมั​ตถ​ธรรม​นั้น​ด้วย


โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จัดพิมพ์เผยแพร่ โดย คณะกรรมการ ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ครบ ๗๕ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

ขอเชิญอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ ...

ปรมัตถธรรมสังเขป

ขอเชิญอ่านตอนต่อไป ...

ความจริงแห่งชีวิต


ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่ และสรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ