การไม่ศึกษากับการศึกษาผิด อย่างไหนมีโทษมากกว่า

 
Sam
วันที่  23 ก.ย. 2552
หมายเลข  13670
อ่าน  1,135

คนที่ผมรู้จัก ส่วนใหญ่จะไม่สนใจที่จะศึกษาพระธรรม และก็ทำดีบ้าง ทำไม่ดี บ้างปะปนกันไป และมีญาติมิตรบางส่วนที่สนใจศึกษาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งมีคำสอน หลายอย่างที่คลาดเคลื่อนไป แต่ผู้ที่ศึกษาเหล่านี้ มักจะมีกิริยาวาจาที่สุภาพเรียบร้อย จึงขอเรียนถามความเห็นของทุกท่านครับว่า การไม่สนใจศึกษาพระธรรมเลย เมื่อเทียบกับการศึกษาคำสอนที่ผิด (หรือเข้าใจผิดในพระธรรมคำสอน) อย่างไหนจะมี โทษมากกว่า และอย่างไหนจะเกื้อกูลต่อการศึกษามากกว่า หากได้มีโอกาสศึกษา อย่างถูกต้องในภายหลัง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 23 ก.ย. 2552

มีโทษทั้งสองอย่างแหละค่ะ แต่การศึกษาผิดทำให้ยึดมั่นในข้อปฏิบัติที่ผิด จึงมีโทษมากกว่า เหมือนคนที่เดินหลงทาง ย่อมเสียเวลาและเหนื่อยเปล่า

 

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 24 ก.ย. 2552

การไม่ศึกษาพระธรรมเลย ย่อมเสียประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าการศึกษาพระธรรมคลาดเคลื่อน ระดับที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีโทษมาก. เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุปัจจัย และ การสั่งสมปัญญามาแต่ปางก่อน ของแต่ละบุคคลนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า เพราะว่าคนที่ไม่สนใจศึกษาพระธรรมเลย หรือ คนที่เคยเข้าใจผิดในพระธรรมคำสอนแต่ภายหลัง เมื่อมีเหตุปัจจัยให้พบพระธรรมที่ถูกต้องปัญญาที่สั่งสมมาแล้ว การคบสัตบุรุษ การฟังธรรมของสัตบุรุษการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย การเจริญกุศลทุกประการ เป็นต้นเหตุปัจจัยต่างๆ ที่ประกอบกันอย่างถึงพร้อมย่อมเกื้อกูล เมื่อได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมอย่างถูกต้องในภายหลังหรือไม่ก็ได้

ลองคิดในมุมกลับ ผู้ได้พบพระธรรมที่ถูกต้อง แต่ ศึกษาพระธรรมไม่ดีเช่น ศึกษาพระธรรมผิด เปรียบเสมือนการจับงูพิษข้างหาง คุณแซม มีความเห็นว่าอย่างไรคะ อย่างไหน มีโทษมากกว่ากัน

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 24 ก.ย. 2552

ความจริงเรื่องนี้ก็มีความละเอียดอ่อนพอสมควร ขอแยกเป็นแต่ละประเด็นดังนี้ถ้าไม่สนใจศึกษาพระธรรมเลย ก็เป็นผู้ประมาทมัวเมา ไม่รู้ว่า อะไรควรทำ อะไรควรเว้น ไม่สะสมความดีอะไรเลย อย่างนี้มีโทษมาก แต่คนที่ศึกษาพระธรรมก็มีหลายประเภท บางคนศึกษาเพียงเล็กน้อย พอรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรควรเว้นสะสมกรรมดี ในขั้นทาน ศีล แต่ไม่เข้าใจพระธรรมในส่วน ข้อปฏิบัติที่ถูกต้องเขาก็มีการเจริญกุศลเพียงบางส่วน ก็ยังดีกว่าคนแรก ส่วนผู้ที่ศึกษาแล้วเข้าใจถูกในเรื่องของสมถภาวนา แต่ไม่เข้าใจในวิปัสสนา เจริญสมถภาวนาอย่างถูกต้อง ก็ดีกว่าสองคนที่กล่าวมา ถ้าดีที่สุดก็คือเป็นผู้ได้ศึกษาและเข้าใจถูกต้อง เจริญกุศลทุกประการ ทั้งทาน ศีล สมถภาวนา สติปัฏฐาน ส่วนอย่างไหนจะเกื้อกูลต่อการศึกษามากว่ากันในภายหลัง ก็อยู่ที่บุคคลอีกเช่นกันถ้าเป็นคนศึกษามาก่อนแต่ไม่ยึดติดในความรู้ของตน ความรู้เดิมก็เกื้อกูลได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นคนที่ยึดติดในความรู้ความเห็นของตน การจะรับของใหม่ที่ถูกต้อง ย่อมยากกว่าคนที่ไม่เคยมีความเห็นอื่นมาก่อน สรุปคือ แล้วแต่บุคคลและการสะสมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
worrawat
วันที่ 25 ก.ย. 2552

ไม่ศึกษาพระธรรม ความไม่รู้รู้ ความเห็นผิดก็ย่อมเจริญต่อไป และก็ไม่สะสมอุปนิสัยที่จะศึกษา

ศึกษาผิดๆ ความไม่รู้รู้ ความเห็นผิดก็ย่อมเจริญต่อไปและยากจะไถ่ถอนความเชื่อผิดๆ โดยส่วนตัว ผมสนใจพระธรรม แต่ก็เคยมีความเห็นผิดๆ ศึกษาผิดๆ ปฏิบัติผิดๆ เข้าใจ ผิดๆ จนวันหนึ่งได้เปิดวิทยุ AM เพื่อจะฟังรายการธรรมะต่างๆ เช่น การทำสมาธิ การสวด มนต์ แต่แล้ว ก็ได้พบรายการแนวทางเจริญวิปัสสนา ที่ท่านอาจารย์สุจินต์ได้บรรยาย ชอบใจเสียงของผู้บรรยายซึ่งไพเราะมาก แต่ฟังไม่เข้าใจ และฟังเท่าไหร่ก็ไม่พูดถึงวิธี ปฏิบัติเสียที จึงฟังต่อไปเรื่อยๆ จนเข้าใจ (ขั้นฟัง) มากขึ้นทีละนิดๆ เมื่อเข้าใจในสิ่งที่ ฟังแล้วจึงรู้ว่าเมื่อก่อน ที่ผ่านมา ตนเองนั้นเห็นผิด รู้ผิด ศึกษาผิด

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ธนกฤต
วันที่ 25 ก.ย. 2552

ความเห็นของผมนะครับเทียบเคียงกับพระไตรปิฎก การไม่ศึกษา (ไม่รู้สิ่งใดถูกผิด) แล้วทำผิดมีคนเตือนก็ไม่แก้ไขให้ถูกธรรมก็อาจ พลาดจากสวรรค์และมรรคผล

การศึกษาผิด (มีความเห็นผิด) แล้วทำผิดมีคนเตือนก็ไม่แก้ไขให้ถูกธรรม ก็อาจ พลาดจากสวรรค์และมรรคผล ดังนั้น ต้องศึกษาให้ถูกต้องและปฏิบัติให้ตรงตามธรรมครับ

เดินทางผิด...ก็ผิดตลอดสาย เล่ม 38 หน้า 339

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตะ (ความเป็นผิด) จึงมีการพลาดจาก สวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล เพราะอาศัยมิจฉัตตะ อย่างไร จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นผิด ย่อมมีความคิดผิด ผู้มีความคิดผิด ย่อมมีวาจาผิด ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการงานผิด ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด ย่อมมีความพยายามผิด ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความระลึกผิด ผู้มีความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งใจผิด ผู้มีความตั้งใจผิด ย่อมมีความรู้ผิด ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย มิจฉัตตะ (ความเป็นผิด) อย่างนี้แล จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 25 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 25 ก.ย. 2552

การไม่ศึกษากับการศึกษาผิด......หากได้มีโอกาสศึกษา อย่างถูกต้องในภาย หลังอย่างไหนจะเกื้อกูลต่อการศึกษามากกว่า อยู่ที่บุคคลอีกเช่นกันถ้าเป็นคนศึกษามาก่อนแต่ไม่ยึดติดในความรู้ของตน ความรู้เดิมก็เกื้อกูลได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นคนที่ยึดติดในความรู้ความเห็นของตน การจะรับของใหม่ที่ถูกต้อง ย่อมยากกว่าคนที่ไม่เคยมีความเห็นอื่นมาก่อน

สรุปคือ แล้วแต่บุคคลและการสะสมครับ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 25 ก.ย. 2552

ไม่ศึกษาเลย ก็เท่ากับไม่ได้เริ่มอะไรเลย เริ่มศึกษา ก็เริ่มสร้างอุปนิสัย จึงมีโอกาสลองผิดลองถูก เข้าใจผิด เข้าใจถูก มากบ้าง น้อยบาง ตามลำดับ ตราบใดที่ทิฏฐิมานะยังไม่ครอบงำ ตราบนั้นก็น่าจะยังพอมีโอกาสนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 25 ก.ย. 2552

ถ้าศึกษาธรรมผิด ปฏิบัติผิด ไม่ปฏิบัติดีกว่า ถ้าปฏิบัติผิด สังสารวัฏฏ์ก็ยิ่งยาวค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sam
วันที่ 28 ก.ย. 2552

ขอบคุณทุกๆ ความคิดเห็น

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Sam
วันที่ 28 ก.ย. 2552

ป.ล. ขออนุญาตตอบคุณพุทธรักษาในความคิดเห็นที่ ๒ ครับ คุณแซม มีความเห็นว่าอย่างไรคะ อย่างไหน มีโทษมากกว่ากัน.?

ผมคิดว่า "แล้วแต่บุคคลและการสะสม" ครับ และควรพิจารณาโทษในตน เป็นสำคัญ ไม่ควรตัดสินคนอื่น ประการสำคัญที่สุด ธรรมะเป็นสิ่งที่ละเอียดอย่างยิ่ง เราไม่ควรด่วนสรุปอะไร ง่ายๆ โดยไม่พิจารณาอย่างถ้วนถี่ และสอบถามความคิดเห็นกัลยาณมิตรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
พุทธรักษา
วันที่ 28 ก.ย. 2552

ก็ถือเป็นการร่วมสนทนาธรรม นะคะ ซึ่งควรเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน คำถามของคุณ มักจะทำให้ข้าพเจ้าต้อง "ไปค้นคว้าเพิ่มเติม" เพื่อกลับมา "พิจารณาตนเอง" อยู่เสมอค่ะเช่น คำว่า "การศึกษา" "การสั่งสม" และ "โทษ" ทำให้กลับมาพิจารณา ความหมายของคำว่า "ธรรมทั้งหลายเป็น อนัตตา"

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
majweerasak
วันที่ 6 ต.ค. 2552

ไม่รู้ว่าจะตรงประเด็นรึไม่นะครับ

ทุกอย่างที่คุณ Sam กล่าวมา อาจจะอยู่ในคนๆ เดียวทั้งหมด

ผมเคยไม่สนใจที่จะศึกษาพระธรรม

ผมเคยทำดีบ้าง ทำไม่ดีบ้างปะปนกันไป

ผมเคยสนใจศึกษาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งมีคำสอนหลายอย่างที่คลาดเคลื่อนไป

ผมเคยมีกิริยาวาจาที่สุภาพเรียบร้อย

ผมเคยไม่สนใจศึกษาพระธรรมเลย

ผมเคยศึกษาคำสอนที่ผิด

ผมเคยเข้าใจผิดในพระธรรมคำสอน

และผมเองก็เคยได้มีโอกาสศึกษาอย่างถูกต้อง อยู่บ้างเหมือนกัน

ความเห็นของผมคือ ปุถุชนมีกิเลสครบ ขณะไหนไม่รู้ เป็นอวิชา ไม่ดี ขณะไหนมีความเห็นผิด ก็ไม่ดี

บางครั้งได้ฟังผู้กล่าวธรรมะผิดๆ แต่ก็เป็นเหตุให้ปัญญาเจริญก็ได้

บางครั้งได้ฟังพระธรรมที่ถูกต้อง กลับมีความไม่รู้และเข้าใจผิดก็ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pornpaon
วันที่ 24 ต.ค. 2552

การไม่ศึกษากับการศึกษาผิด อย่างไหนมีโทษมากกว่า

ไม่ศึกษา เพราะไม่รู้ว่าสังสารวัฏฏ์คืออะไร มีทุกข์เท่าไร ใช้ชีวิตแบบคิดว่ามีชาติเดียว ศึกษาผิด เพราะเข้าใจหนทางปฏิบัติผิด คิดว่าเป็นสุขพ้นทุกข์ได้ ด้วยการเพียรผิด โทษคงเท่ากัน เพราะสังสารวัฏฏ์ยิ่งยาววว..นานนน ขึ้นอีก ด้วยความไม่รู้ที่เพิ่มขึ้นๆ แต่ความจริงคือ บางบุคคล แม้จะศึกษาสิ่งที่ถูก ก็ยังเข้าใจผิด และเห็นผิดได้ บางบุคคล เกิดอยู่ในกลุ่มคนที่เห็นผิด กลับผ่าเหล่า เป็นผู้ที่มีความเห็นถูกก็มี ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลจริงๆ และ เพราะเคยได้กระทำบุญไว้แต่ชาติปางก่อน ผู้ที่ได้เคยสะสมการฟังพระสัทธรรมและความเข้าใจถูกมาแล้ว มากหรือน้อยก็ดี ความเข้าใจนั้นย่อมติดตามไปเกื้อกูล เป็นมิตร เป็นเครื่องอุดหนุนค้ำจุน ให้ได้ ฟังอีก ศึกษาอีก และเข้าใจถูกอีก เป็นผู้มีปัญญาเจริญขึ้นอีก เมื่อได้โอกาส ขออนุโมทนาในกุศลจิต ศรัทธา และความเพียรชอบของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 28 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ