ความจริงแห่งชีวิต [165] อธิบายบัญญัติโดยนัยต่างๆ

 
พุทธรักษา
วันที่  23 ก.ย. 2552
หมายเลข  13673
อ่าน  1,059

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บัญญัติ

ปรมั​ตถ​ธรรม​เป็น​สภาพ​ธรรม​ที่​มี​จริง แต่​ไม่ใช่​สัตว์ บุคคล ตัว​ตนเลย ปรมั​ตถ​ธรรม​ที่​เกิด​ขึ้น​เป็น​แต่​เพียง​จิต เจตสิก รูป แต่ละ​ลักษณะแต่ละ​อาการ ซึ่ง​เกิด​ขึ้น​เพราะ​เหตุ​ปัจจัย​แล้ว​ก็​ดับ​ไปอย่าง​รวดเร็ว ขณะ​ใด​ที่​ไม่รู้​ลักษณะ​ของ​จิต เจตสิก รูป ว่า​เป็น​ปรมั​ตถ​ธรรม​ที่​เกิด​ขึ้น​และ​ดับไป​สืบ​ต่อ​กัน​อย่าง​รวดเร็ว ขณะ​นั้น​เป็นการ​รู้​บัญญัติ คือ การ​ถือ​อาการ​ของ​รูป​และ​นาม​ซึ่ง​เกิด​ดับ​สืบ​ต่อ​กัน​อย่าง​รวดเร็ว​ว่า​เป็น​สิ่ง​หนึ่ง​สิ่ง​ใด ฉะนั้น ผู้​ที่​ไม่รู้​ลักษณะ​ของ​ปรมั​ตถ​ธรรม ​จึง​อยู่​ใน​โลก​ของ​สมมติ​สัจจะ เพราะ​ยึดถือ​สภาพ​ธรรม​ที่​ปรากฏ​โดย​อาการโดย​สัณฐาน​ว่า​เป็น​สิ่งหนึ่ง​สิ่ง​ใด​อย่าง​แท้จริง แต่​เมื่อ​ศึกษา​ปรมั​ตถ​ธรรม​แล้ว วและ​รู้​หนทาง​ที่​จะ​อบรม​เจริญ​ปัญญา ศึกษา​ลักษณะ​ของ​สภาพ​ธรรม​ที่​เกิด​ขึ้น​ปรากฏจน​ปัญญา​เจริญ​ขึ้น​ถึง​ขั้น​ที่​สามารถ​ประจักษ์การ​เกิด​ขึ้น​และ​ดับ​ไป​ของ​สภาพ​ธรรม​ที่​กำลัง​เกิด​ดับ​ใน​ขณะ​นี้ จึง​รู้​แจ้ง​ชัด​ว่า​ไม่มี​สัตว์ บุคคล ตัว​ตน​เลย เป็น​แต่​ปรมั​ตถ​ธรรม​แต่ละ​ลักษณะ​จริงๆ ตรง​ตาม​ที่​พระ​ผู้​มี​พระ​ภาค​ทรง​ตรัสรู้​และ​ทรง​แสดง​ไว้ความ​ลึก​และ​เหนียว​แน่น​ของ​อวิชชา​ที่​ทำให้​ยึดถือ​ใน​สมมติ​สัจจะ​ว่า​เป็น​วัตถุ เป็น​สัตว์ บุคคลต่างๆ นั้น เริ่ม​ตั้งแต่​เมื่อ​ปฏิสนธิ​จิตเกิด​ขึ้น​ก็​มี​นามธรรม​และ​รูป​ธรรม​เกิด​ดับ​สืบ​ต่อ​มา​เรื่อยๆ เมื่อ​คลอด​จาก​ครรภ์​มารดา​แล้ว​ย่อม​เห็น​สิ่ง​ที่​ปรากฏ ได้ยิน​เสียง​ที่​ปรากฏ ได้​กลิ่น​ที่​ปรากฏ ลิ้ม​รส​ที่​ปรากฏ รู้​เย็น​ร้อน​ที่​กระทบ​สัมผัส​กาย แต่​ไม่รู้​ว่า​สิ่ง​ที่​ปรากฏ​ทาง​ตาเป็น​แต่​เพียง​สภาพธรรม​ชนิด​หนึ่ง จึง​ยึดถือ​ใน​อาการ​ของ​สภาพ​ธรรม​ที่​เกิด​ดับ​สืบ​ต่อ​กัน​ตลอด​เวลา​ ที่​ปรากฏเสมือน​ไม่​เกิด​ดับ​ว่า​เป็น​สิ่ง​หนึ่ง​สิ่ง​ใด ขณะ​นั้น​ก็​มีฆ​นบัญญัติ คือ การ​ยึดถือ​อาการ​ของ​สภาพ​ธรรม​ที่​รวม​กัน​เป็นก​ลุ่ม​ก้อน โดย​ยัง​ไม่รู้​ว่า​สมมติ​เรียก​สิ่ง​นั้น​ว่า​เป็น​อะไร เด็ก​เล็กๆ ที่​ยัง​ไม่รู้ความ​และ​ยัง​พูด​ไม่​ได้​ และ​สัตว์​ดิรัจฉาน ย่อม​รู้ฆ​นบัญญัติ​เหมือน​กัน​จนกว่า​จะ​เจริญ​เติบโตขึ้น เข้าใจ​ความ​หมาย​ของ​เสียง จึง​รู้​สมมติ​สัจจะ คือการ​สมมติ​บัญญัติ​เรียก​สภาพ​ธรรม​ต่างๆ เพื่อ​ให้​เข้าใจ​ถูก​ต้อง​ตรง​กัน ฉะนั้น เมื่อ​เป็น​เด็ก​เคย​เห็น​อาการ​ของ​สภาพ​ธรรม​ที่​ปรากฏเสมือน​ไม่​เกิด​ดับ​อย่างไร เมื่อ​เติบโต​ขึ้น​แล้ว​ก็​ยัง​คง​เห็น​เป็น​อย่าง​นั้นเป็น​สิ่ง​นั้น เช่น เห็น​เป็นวัตถุ เป็น​สัตว์ บุคคล​ต่างๆ ตาม​ความ​เป็น​จริง​นั้น สภาพ​ที่​แข็ง​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ถ้วย​หรือ​จาน หรือช้อน หรือ​ส้อม ​ก็​เป็น​เพียง​ธาตุ​แข็ง เป็น​ปฐวี​ธาตุ แต่​ในวันหนึ่งๆ นั้น เห็น​อะไร กระทบ​สัมผัสอะไร ใน​ขณะ​ที่​กระทบ​สัมผัส​ไม่​เคย​คิด​ว่าเพียง​กระทบ​สัมผัส​สิ่ง​ที่​มี​จริง​ซึ่ง​เป็น​สภาพ​ที่​แข็ง แต่​มีความ​รู้สึก​ว่า​สัมผัส​ช้อน หรือ​ส้อม หรือ​จาน หรือ​ถ้วย ตาม​ที่​เคย​ยึดถือ​ใน​อาการ​ที่​เกิด​ดับ​สืบต่อ​กัน​อย่าง​รวดเร็ว จน​ปรากฏ​เป็น​รูป​ร่าง​สัณฐาน​ต่างๆ ทั้งๆ ที่​เมื่อ​สัมผัส​ช้อน​ก็​แข็ง ส้อม​ก็แข็ง ถ้วย​ก็​แข็ง จาน​ก็​แข็ง เพราะ​ลักษณะ​ที่แท้​จริง​เป็น​แต่​เพียง​สภาพ​ธรรม​ที่​แข็ง แต่​โดย​การจำรูป​ร่าง​ต่างๆ จึง​ทำให้​รู้​ว่า​ถ้วย​ไม่ใช่​จาน ช้อน​ไม่ใช่​ส้อม ฉะนั้น แม้ว่า​สภาพ​ธรรม​ที่​มี​จริงนั้น​เป็น​รูป​ธรรม​ที่​มี​ลักษณะ​แข็ง แต่​ก็​ยัง​จำ​สมมติ​สภาพ​นั้น​ว่า จาน​สำหรับ​ใส่​ข้าว ถ้วย​สำหรับ​ใส่แกง ช้อน​สำหรับ​ตัก​อาหาร จำสมมติ​สภาพ​ที่​เป็น​ธาตุ​แข็ง​ต่างๆ เช่น เหล็ก วัสดุ ที่​นำมาประกอบ​กัน​เป็น​วิทยุ เป็น​โทรทัศน์ เป็น​วัตถุ​สิ่ง​ต่างๆ โดย​ไม่​ประจักษ์​ลักษณะ​ของ​นามธรรมและ​รูป​ธรรม ซึ่ง​เกิด​ขึ้น ​ปรากฏ​แต่ละ​ลักษณะ​แล้ว​ก็​ดับ​ไป

นี่​คือ​การ​จำสมมติ​บัญญัติ​สิ่ง​ที่ปรากฏ​ทาง​ตา ซึ่ง​มี​มาก​ขึ้น​เรื่อยๆ ตาม​การ​ประ​ดิษฐ์​ใหม่ๆ ทุกๆ วัน ขณะ​ที่​รู้​รูป​ร่าง​สัณฐานอาการ​ที่​ปรากฏ​รวม​กัน​เป็น​สิ่ง​ต่างๆ ขณะ​นั้น​เป็นการ​รู้​บัญญัติ เป็นสมมติ​สัจจะ ไม่​ใช่​ปรมั​ตถ​สัจจะ

นอก​จา​กรู้​ฆ​นบัญญัติ​ทาง​ตา​แล้ว ยัง​รู้​สัท​ทบัญญัติ คือรู้​ความ​หมาย​ของ​เสียง​ด้วย นี่​เป็น​เรื่องชีวิต​ประจำวัน​ที่​จะ​ต้อง​รู้​ชัด​ว่า สภาพ​ธรรม​ใด​เป็น​ปรมั​ตถ​ธรรม สภาพ​ธรรม​ใด​เป็น​สมมติ สมมติ​หมายความ​ถึง​สิ่ง​ที่​ไม่​ใช่​ปรมั​ตถ​ธรรม เมื่อ​รู้​อาการ​รูป​ร่าง​สัณฐาน​ต่างๆ ที่​ปรากฏ​เป็นถ้วย ชาม ช้อน วิทยุ รถยนต์ โทรทัศน์ ฯลฯ แล้ว มนุษย์​ยัง​สามารถ​เปล่ง​เสียง​เป็น​คำ​บัญญัติสมมติ ​เรียก​สิ่ง​ที่​ปรากฏ​ให้​เข้าใจ​ว่า​หมาย​ถึง​สิ่ง​ใด ซึ่ง​กำเนิด​สัตว์​ดิรัจฉาน​ไม่มี​ความ​สามารถ​ที่จะ​ทำ​อย่าง​มนุษย์​ได้​โดย​ละเอียด เสียง​เป็น​สภาพ​ธรรม​ที่​มี​จริง​และ​เสียงชื่อ​ว่า "นาม" เพราะว่า​ถ้า​ไม่มี​เสียง นาม (คือ​ชื่อ) หรือ​คำทั้ง​หลาย​ก็​มี​ไม่​ได้ แม้ว่า​มี​ตา​จึง​เห็น​สิ่ง​ต่างๆ แต่​ถ้า​ไม่มีเสียง​ก็​จะ​ไม่มี​ชื่อ​ ไม่มี​คำที่​ใช้​เรียก​สิ่ง​ที่​มอง​เห็น​เลย ฉะนั้น การ​รู้​ความ​หมาย​ของ​เสียง​จึง​เป็นสัท​ทบัญญัติ ทำให้​มี​คำพูด มีชื่อ เป็น​เรื่อง​ราว​ต่างๆ

ทุก​คน​ติด​ใน​ชื่อ​ที่​สมมติ​บัญญัติ​ต่างๆ ฉะนั้น จึง​ควร​รู้​ลักษณะ​ของ​เสียง​ซึ่ง​เป็น​สภาพ​ธรรม​ชนิดหนึ่ง คำว่า "เสียง" ไม่มี​ใน​ภาษา​บาลี สภาพ​ธรรม​ที่​เป็น​เสียง​นั้น​ภาษา​บาลี​บัญญัติ​เรียก​ว่า "สัททรูป" เสียง​เป็น​สิ่ง​ที่​มี​จริง เสียง​ไม่ใช่​สภาพ​รู้ เสียง​เป็น​รูป​ธรรม​เป็น​สิ่ง​ที่​ปรากฏ​ทาง​หู

ใน​อภิ​ธัมมัตถ​วิภา​วิ​นี​ฎีกา ปริ​จ​เฉท​ที่ ๘ มี​ข้อความ​อธิบาย​เรื่องปรมั​ตถ​ธรรม​และ​สมมติบัญญัติซึ่ง​เป็น​ชีวิต​ประจำวัน​ที่​ลึก​ซึ้ง​และ​ควร​จะ​ได้​เข้าใจ​ให้​ถูก​ต้อง แม้​ใน​เรื่อง​ชื่อ​ต่างๆ ซึ่งจะมี​ได้​ก็​เพราะ​มี​เสียง

ข้อความ​ใน​อภิ​ธัมมัตถ​วิภา​วิ​นี​ฎีกา​มี​ว่า สัท​ทรูป (เสียง) ที่​ชื่อ​ว่า "นาม" (ใน​ที่​นี้​หมาย​ถึง​ชื่อ ไม่ใช่​หมาย​ถึง​นามธรรม ซึ่ง​เป็น​สภาพ​รู้) เพราะ​อรรถ​ว่า น้อม​ไป​ใน​อรรถ​ทั้ง​หลาย นาม​นั้น​มี ๒ อย่าง​ด้วย​อำนาจ​แห่ง​นาม (คือ​ชื่อ) ที่​คล้อย​ตาม​อรรถ ๑ และ​นาม (คือ​ชื่อ) ตาม​นิยม ๑

วัน​หนึ่งๆ พูด​เรื่อง​อะไร พูด​ทำไม พูด​เพื่อ​ให้​คน​อื่น​เข้าใจ​เรื่องเข้าใจ​สิ่ง​ที่​หมาย​ถึง ฉะนั้น สัททรูป​ชื่อ​ว่า​นาม ​เพราะ​อรรถ​ว่าน้อม​ไป​ใน​อรรถ ​คือ​เรื่อง​ราว​ทั้ง​หลาย

การ​ที่​จะ​ให้​ใคร​เข้าใจ​ความ​หมาย​และ​เรื่อง​ราว​ต่างๆ นั้น ก็​ย่อม​แล้ว​แต่​ใคร​นิยม​ใช้​คำอะไร ภาษา​อะไร เพื่อ​ให้​เข้าใจความ​มุ่ง​หมาย​นั้นๆ เรื่อง​ราว​นั้นๆ หรือ​ชื่อ​นั้นๆ

นอกจาก​นั้น​ข้อความ​ใน​อภิ​ธัมมัตถ​วิภา​วิ​นี​ฎีกา ยัง​กล่าว​ถึง​นาม (คือ​ชื่อ) อีก​หลาย​นัย คือ ชื่อมี ๔ อย่าง​ด้วย​สามารถ​แห่ง สามัญ​ญนาม คือ ชื่อ​ทั่วไป เช่น ฟ้า ฝน ลม ข้าว เป็นต้น คุณนาม คือ ชื่อ​ตาม​คุณ​ความ​ดี เช่น พระ​อร​หัน​ต​สัมมา​สัม​พุทธ​เจ้า ซึ่ง​ผู้​ที่​ไม่ใช่​พระ​อร​หัน​ต​สัมมา​สัมพุทธ​เจ้า​จะชื่อ​นี้​ไม่​ได้​เลย เพราะ​ว่า​ไม่​ได้​ประกอบ​ด้วย​คุณธรรม​ของ​พระ​อร​หัน​ต​สัมมา​สัม​พุทธ​เจ้า กิริยา​นาม คือ ชื่อ​ของ​การก​ระ​ทำ​ต่างๆ และ ​ยถิจฉ​นาม คือ ชื่อ​ตามใจ​ชอบ


โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จัดพิมพ์เผยแพร่ โดย คณะกรรมการ ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ครบ ๗๕ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

ขอเชิญอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ ...

ปรมัตถธรรมสังเขป

ขอเชิญอ่านตอนต่อไป ...

ความจริงแห่งชีวิต

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่ และสรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Komsan
วันที่ 23 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Jans
วันที่ 23 ก.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ