มั่นคงในกรรม

 
วิริยะ
วันที่  13 ส.ค. 2552
หมายเลข  13162
อ่าน  1,145

คำพูดที่ว่า ต้องมีความมั่นคงในกรรม นั้น อย่างไรคะที่เรียกว่า มีความมั่นคง และ คำพูดที่พูดกันติดปากว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั้น เรียกว่ามั่นคงหรือไม่ อย่างไร

ขอบพระคุณค่ะ


Tag  กรรม  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 14 ส.ค. 2552
คำว่า มีความมั่นคงในกรรม ก็คือเมื่อได้ประสบ ได้รับสิ่งใดทุกขณะในชีวิตประจำวัน ก็เข้าใจว่าเพราะกรรมของตนที่เคยทำไว้ ไม่หวั่นไหว ไม่โกรธ ไม่โทษสิ่งอื่น ไม่โทษบุคคลอื่น เพราะเราเคยทำเหตุอย่างนี้ไว้จึงได้รับผลอย่างนี้ แต่เราต้องทำดีที่สุดมิได้หมายความว่าไม่ทำอะไร อ้างกรรมอย่างเดียวก็ไม่ถูกต้องครับ ขอเชิญทุกท่านร่วมสนทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
captpok
วันที่ 14 ส.ค. 2552
สั่งสมกรรมดีเพื่อวิบากที่ดี ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sam
วันที่ 14 ส.ค. 2552

ความมั่นคงในกรรม เกิดจากความเข้าใจว่ากรรมคืออะไร สิ่งใดคือกรรมดี สิ่งใดคือ

กรรมชั่ว รวมทั้งการให้ผลของกรรม ตามที่ทรงแสดงไว้ และมีการระลึกศึกษา

ลักษณะของกรรมและผลของกรรมในขณะที่ปรากฎให้รู้ได้ในชีวิตประจำวัน

คุณวิริยะคิดว่าใครคือผู้ที่ "มั่นคงในกรรม" จริงๆ ครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วิริยะ
วันที่ 14 ส.ค. 2552

เมื่อความหมายของความมั่นคงในกรรมเป็นไปตามที่ ความเห็นที่หนึ่ง สองและสาม

ได้กล่าวมาแล้ว ก็พอจะบอกได้ว่า มนุษย์ทุกวันนี้ รวมทั้งตัวเองด้วย ก็ยังไม่มีความ

มั่นคงในเรื่องของกรรมหรอกค่ะ

เวลาที่มนุษย์ประสบกับสิ่งที่ดี ที่เป็นกุศลวิบาก มนุษย์ไม่ค่อยได้คิดเรื่องผลของ

กรรมไม่ดีหรืออกุศลวิบาก เพราะมัวแต่จะเพลิดเพลิน ปลื้มใจไปกับสิ่งที่น่าพอใจที่ตน

ประสบอยู่ แต่เมื่อใดที่ประสบกับความทุกข์ ความไม่ชอบใจ มนุษย์ก็จะหาทางออก

ด้วยวิธีต่างๆ นาๆ เพื่อที่จะให้พ้นจากสิ่งที่เป็นทุกข์ และ ไม่น่าพอใจเหล่านั้น แล้วมัน

เป็นเรื่องง่ายมั้ยล่ะคะ ที่จะดิ้นรนให้พ้นจากอกุศลวิบากที่ตนพึงจะได้รับ ในขณะที่

มนุษย์ดิ้นรนอยู่นั้น โดยมากไม่ได้คิดเลยนะคะว่า นั่นคือผลของกรรม รู้อยู่อย่างเดียวว่า

จะทำอย่างไร ให้พ้นจากความทุกข์และความไม่น่าพอใจ และสิ่งนั้นนั่นเอง ยังจะเป็น

สาเหตุให้มนุษย์สะสมอกุศลจิต ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า มีทั้งความรู้สึกโกรธ

เกลียด ฟุ้งซ่าน หมกมุ่น เป็นต้น และเมื่อจิตใจไม่ดี เป็นอกุศลจิต คำพูดและการ

กระทำก็ไม่ดีตามไปด้วยเป็นลูกโซ่ วนเวียนอยู่เช่นนั้น

จึงคิดว่า การศึกษาในเรื่องของกรรม เป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งทีเดียว ส่วนเรื่อง

ความมั่นคงในเรื่องของกรรมนั้น มนุษย์ธรรมดาๆ จะมีความมั่นคงได้ถึงระดับไหน

อย่างไร ไม่แน่ใจจริงๆ ค่ะ ถ้ามั่นคงมากขนาดไม่ต้องทุกข์ใจ ไม่ต้องเศร้าโศก ไม่โกรธ

ไม่เกลียด ก็ต้องขั้นพระอริยบุคคลละมังคะ ใครทราบช่วยบอกหน่อยค่ะ ดิฉันตอบ

คุณ K ไม่ได้

ขอบคุณ ความเห็นที่ หนึ่ง สอง และสามนะคะ ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 14 ส.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13162 ความคิดเห็นที่ 3 โดย K

ความมั่นคงในกรรม เกิดจากความเข้าใจว่ากรรมคืออะไร สิ่งใดคือกรรมดี สิ่งใดคือ

กรรมชั่ว รวมทั้งการให้ผลของกรรม ตามที่ทรงแสดงไว้ และมีการระลึกศึกษา

ลักษณะของกรรมและผลของกรรมในขณะที่ปรากฎให้รู้ได้ในชีวิตประจำวัน

คุณวิริยะคิดว่าใครคือผู้ที่ "มั่นคงในกรรม" จริงๆ ครับ?

ขอร่วมสนทนาด้วยนะคะ.!ที่คุณ K ถามว่า............
.
ความมั่นคงในกรรม เกิดจากความเข้าใจว่ากรรมคืออะไร.?
เข้าใจว่า....กรรม คือ เจตนาเจตสิก.เป็นกุศลกรรม ก็ได้ หรือ เป็นอกุศลกรรมก็ได้แล้วแต่เหตุ-ปัจจัย.
.
สิ่งใดคือกรรมดี สิ่งใดคือกรรมชั่ว.?
เข้าใจว่า....ความรู้ (ปัญญา) ขั้นการศึกษา คือ ขั้นฟัง ขั้นพิจารณาพระธรรมแม้จะเกิดความเข้าใจจากการศึกษา ว่ากรรมดี คือ การกระทำทางกาย วาจา อันเป็น เหตุที่จะให้ผลที่ดี ในภายภาคหน้าซึ่ง ประกอบด้วย กุศลธรรมฝ่ายดี คือ เจตสิกฝ่ายดีต่างๆ เช่น สติเจตสิก เป็นต้น.แต่ ประกอบด้วยปัญญาเจตสิกก็ได้ หรือ ไม่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิกก็ได้.ทั้งนี้ ก็แล้วแต่การสะสม อบรมปัญญาของแต่ละบุคคล.
กรรมชั่ว คือ การกระทำทางกาย วาจา ที่ประกอบด้วย อกุศลเจตสิกต่างๆ อันเป็นเหตุให้เกิด ผลที่ไม่ดี ในภายภาคหน้า.ซึ่ง ต้องไม่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก และ เจตสิกฝ่ายดี เลย.
แต่ความเข้าใจขั้นการฟังพระธรรม เพียงแค่นี้...ไม่พอที่จะละเว้นกรรมชั่ว ซึ่งเป็นเหตุ อันเป็นเหตุไปสู่อบายภูมิได้อย่างเด็ดขาด.
ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระโสดาบัน.!
เพราะปุถุชน ยังล่วงอกุศลกรรมบถได้เมื่อมีเหตุ-ปัจจัยถึงพร้อม.!
จึงยังไม่ชื่อว่า "มั่นคง" แล้ว.!
เพราะว่า ต้องเป็นผู้ที่อบรมเจริญปัญญา จนบรรลุอริยสัจธรรมดับความเห็นผิดในสภาพธรรม ได้เป็นสมุจเฉทคือ พระอริยบุคคล ขั้นพระโสดาบัน เป็นต้นไป จึงจะไม่ทำกรรมชั่ว อันเป็นเหตุนำเกิดในสู่อบายภูมิอีกเลย
จึงชื่อว่า "มั่นคง" แล้ว.!
.
การให้ผลของกรรม ตามที่ทรงแสดงไว้.?
การให้ผลของกรรม...ถ้าเป็น ผลของกรรมที่ดี ก็ให้ผลเป็น กุศลวิบากจิต กุศลวิบากจิต รู้ อารมณ์ที่น่าพอใจ.ถ้าเป็น ผลของกรรมที่ไม่ดี ก็เป็น อกุศลวิบากจิตอกุศลวิบากจิต รู้ อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ.
.

มีการระลึกศึกษา ลักษณะของกรรม และ ผลของกรรมในขณะที่ปรากฏ ให้รู้ได้ ในชีวิตประจำวัน..............?
ถ้ายังไม่มีปัจจัย ให้สติเกิด ระลึกรู้ลักษณะของกรรมและผลของกรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริงในขณะนี้.!

ก็ไม่มีปัจจัยให้เกิด "ปัญญา"ขั้นประจักษ์แจ้งในสภาพธรรมตามความเป็นจริง ว่าสภาพธรรมตามความเป็นจริงทุกอย่าง รวมทั้ง "กรรม และ ผลของกรรม"ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนยังมีความเป็นเรา-เป็นเขา.
ปัญญายังไม่พอ ที่จะเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมที่เป็นเพียงนามธรรม และ รูปธรรม ที่กำลังเกิดดับเท่านั้นจึงยังละความยึดถือในสภาพธรรม ไม่ได้จริงๆ
ยังไม่ชื่อว่า "มั่นคง" แล้ว.!
.
ไม่ทราบว่า เข้าใจถูกต้อง หรือเปล่า...?เป็นการทบทวน จากการศึกษาเท่านั้น. กรุณาตรวจสอบความถูกต้องให้ด้วยค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วันใหม่
วันที่ 14 ส.ค. 2552

จากหัวข้อกระทู้ที่ว่า

ที่พูดกันติดปากว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั้น เรียกว่ามั่นคงหรือไม่ อย่างไร

แน่นอนว่าพูดได้ แต่ขณะไหนเป็นขณะที่ดี ขณะไหนเป็นผลของกรรมดี ขณะไหนเป็นกรรมชั่ว ขณะไหนเป็นผลของกรรมชั่ว ขณะนี้ตอนไหนเป็นดี เป็นชั่ว ขณะนี้ตอนไหนเป็นผลของกรรมดี ผลของกรรมชั่ว มั่นคงในเรื่องกรรม ก็ต้องเข้าใจคำว่ากรรมและผลของกรรมที่มีในขณะนี้เอง รู้ได้ด้วยปัญญา มั่นคงขึ้นก็ด้วยปัญญา ซึ่งไม่ใช่ปัญญาเพียงขั้นการคิดนึก แต่ประจักษ์สภาพธรรมที่เป็นกรรมและผลของกรรมในขณะนี้ เห็นเป็นผลของกรรม ได้ยินเป็นผลของกรรม ขณะที่เป็นกุศล ทำกุศลเป็นกรรมดี เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องเป็นปัญญาจริงๆ จึงจะมั่นคงได้ มั่นคงเพราะปัญญาไม่ใช่อย่างอื่น สาธุจากความเห็นที่ 4 ที่ว่า

ส่วนเรื่องความมั่นคงในเรื่องของกรรมนั้น มนุษย์ธรรมดาๆ จะมีความมั่นคงได้ถึงระดับไหน อย่างไร ไม่แน่ใจจริงๆ ค่ะ ถ้ามั่นคงมากขนาด ไม่ต้องทุกข์ใจ ไม่ต้องเศร้าโศก ไม่โกรธ ไม่เกลียด ก็ต้องขั้น พระอริยบุคคลละมังคะ ใครทราบช่วยบอกหน่อยค่ะ

ปัญญาเท่านั้นที่ทำให้มั่นคง เพราะประจักษ์ความจริงที่เป็นกรรมและผลของกรรมในขณะนี้ ไม่ใช่รู้เป็นเรื่องราวว่า อุบัติเหตุถูกรถชนเป็นผลของกรรมไม่ดี นั่นรู้เพียงคร่าวๆ เป็นเรื่องราวแต่ไมได้ประจักษ์ความจริงที่เป็นกรรมและผลของกรรมในขณะนี้จริงๆ เมื่อปัญญาประจักษ์ความจริงย่อมมั่นคงในเรื่องของกรรมมากขึ้น แต่ต้องไม่ลืมว่าแม้มีความมั่นคงในเรื่องของกรรม จนเป็นพระอริยบุคคล แต่เมื่อยังมีกิเลสอยู่แม้เป็นพระโสดาบันท่านก็ยังร้องไห้ เศร้าโศกเพราะท่านยังมีกิเลสที่เป็นเหตุปัจจัยให้ร้องไห้ ทุกข์ใจแต่ท่านก็ไม่หลงผิดไปว่า ทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี หรือไม่เข้าใจว่าทำกรรมแล้วไม่มีผล เพระท่านประจักษ์ความจริงจนสามารถแทงตลอดดับกิเลสเป็นพระอริยบุคคลได้แล้ว จึงเป็นผู้มั่นคงในเรื่องของกรรม การศึกษาพระธรรมจึงเป็นเหตุปัจจัยให้มั่นคงในเรื่องของกรรมมากขึ้นเพระปัญญาเจริญนั่นเอง สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วิริยะ
วันที่ 15 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 15 ส.ค. 2552

มั่นคงในกรรมก็คือเชื่อกรรมและผลของกรรม คือเชื่อในเหตุในผล เชื่อในพระปัญญา

ของพระพุทธเจ้า เชื่อในพระธรรมคำสอน เช่น ผู้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน

คือการเจริญอริยมรรคมีองค์แปดเป็นหนทางเดียวที่สามารถจะนำออกจากทุกข์ได้จริงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
คุณ
วันที่ 15 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
petcharath
วันที่ 15 ส.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ