ปัจจัตตัง หมายความว่าอย่างไร

 
คุตตสีโล
วันที่  8 ก.ค. 2552
หมายเลข  12847
อ่าน  40,467

มีผู้ปฏิบัติธรรม (ประมาณ5 - 6 ปี) บอกว่าเขาปฏิบัติธรรมถึงขั้น "ปัจจัตตัง" เขาหมายถึง เฉพาะตน ขั้นไหนอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 9 ก.ค. 2552

คำว่า ปจฺจตฺตํ แปลว่า เฉพาะตน. ซึ่งส่วนใหญ่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาจะมีคำว่าเต็มว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ เป็นคำอธิบายพระธรรมคุณ ในอรรถกถาท่านอธิบายดังนี้

ในข้อว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ นี้ มีความสังเขปว่า อันวิญญูชนแม้ทั้งปวงมีอุฆคฏิตัญญูบุคคลเป็นต้น พึงรู้ได้ในตนว่า มรรคอันเราเจริญแล้ว ผลอันเราบรรลุแล้ว นิโรธอันเรากระทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้

บทว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพวิญฺญูหิ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายพึงรู้ได้ในสันดานของตนๆ นั่นเองแต่พาลชนทั้งหลายรู้ได้ยาก ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 9 ก.ค. 2552

ขณะที่บรรลุ........มีใครไปบรรลุด้วยมั้ย?

ขณะที่รู้..............มีใครไปรู้ด้วยมั้ย?

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 9 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 9 ก.ค. 2552

ขอความกรุณาช่วยขยายข้อความนี้ด้วยครับ

"อันบัณฑิตทั้งหลายพึงรู้ได้ในสันดานของตนๆ นั่นเอง แต่พาลชนทั้งหลายรู้ได้ยาก ... "

และขอเรียนถามต่อว่า ... ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นประโยชน์ ... ผู้ที่เป็นบัณฑิต ... เขาจะประกาศคุณนั้นของตนเองไหมครับ และการประกาศคุณที่ตนไม่มีจริง ... จะเป็นอุตริมนุสสธรรมหรือเปล่าครับ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วันใหม่
วันที่ 10 ก.ค. 2552

"อันบัณฑิตทั้งหลายพึงรู้ได้ในสันดานของตนๆ นั่นเอง แต่พาลชนทั้งหลายรู้ได้ยาก ... " จากหนังสือวิสุทธิมรรค อธิบายไว้ว่า

"อันบัณฑิตทั้งหลายพึงรู้ได้ในสันดานของตนๆ คือ ต้องเป็นปัญญาของตนเองเท่านั้นที่รูความจริง รู้ว่าละกิเลสแล้ว ผู้อื่นรู้แทนไมได้ ละกิเลสแทนไม่ได้ แต่พาลชนทั้งหลายรู้ได้ยาก คือ วิสัยของคนโง่ไม่มีทางรู้โลกุตตรธรรม

มีพระนิพพาน เป็นต้น ได้เลย แม้ในความฝัน ... ผู้ที่เป็นบัณฑิต ... เขาจะประกาศคุณนั้นของตนเองไหมครับ

บัณฑิตเป็นผู้มักน้อย แม้คุณธรรมที่ตัวเองก็ไม่อยากให้คนอื่นรู้แต่หากประกาศแล้วเกิดประโยชน์ บัณฑิตก็ทำมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น

และการประกาศคุณที่ตนไม่มีจริง ... จะเป็นอุตริมนุสสธรรมหรือเปล่าครับ

เป็นผู้มีความปรารถนาลามกเพราะต้องการลาภ สักการะ

และอาจเป็นการอวดอุตริมนุสสธรรมด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 12 ก.ค. 2552

ปัจจัตตัง หมายถึงรู้ได้เฉพาะตน เช่น ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขณะนั้นจะให้คนอื่นมา รับรองว่าเป็นสติปัฏฐานไม่ได้ต้องเป็นความรู้ความเข้าใจถูกเป็นปัญญาของตนเองค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
คุณ
วันที่ 18 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
noynoi
วันที่ 19 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
คุตตสีโล
วันที่ 21 ก.ค. 2552

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนา ครับ

ขอจงสุขสวัสดี จงมีแก่ทุกท่าน ในกาลทุกเมื่อเทอญ

นิพพานนะ ปัจจะโย โหตุ.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วิริยะ
วันที่ 14 ต.ค. 2554

เรียนถาม

อยากทราบว่า ความเข้าใจในความหมายของคำต่างๆ ในพระอภิธรรม เรียกว่า เป็นปัจจัตตังหรือไม่ ยกต้วอย่างเช่น คำว่า โยนิโสมนสิการ เป็นต้น รวมทั้งคำ อื่นๆ อีกมากมายด้วยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
prachern.s
วันที่ 15 ต.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ ๑๐

โดยตรงแล้ว คำว่า ปัจจัตตัง ท่านหมายเอาเฉพาะวิญญูชนที่ท่านตรัสรู้แล้ว สำหรับความเข้าใจในความหมายของคำต่างๆ ในพระอภิธรรม ท่านไม่เรียกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วิริยะ
วันที่ 15 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
anattasoonyata
วันที่ 19 ม.ค. 2556

คำนี้ลึกซึ้งมาก เพราะรู้ได้เฉพาะตนจริงๆ รู้เท่าที่จะรู้ได้ ทีละน้อยๆ ค่อยๆ สั่งสมไปตามแต่เหตุและปัจจัย

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Jans
วันที่ 4 ก.ย. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
esp_chawalit
วันที่ 6 ต.ค. 2565

ขอบคุณครับ สำหรับ ความหมายในการตื่น ของปัจจัตตัง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ