พึงประกาศพระสรณตรัยนั้น...ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย

 
พุทธรักษา
วันที่  31 พ.ค. 2552
หมายเลข  12534
อ่าน  1,574

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอน ... โดย คุณ study

พระธรรม ที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา เป็น ธรรม เพื่อละกิเลส กิเลส ซึ่งเป็น สาเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง พระอริยสาวกทั้งหลายเมื่อฟังพระธรรม และ ประพฤติ ปฏิบัติตาม จึงละกิเลสได้ เป็นผู้ "เย็นสนิท" ไม่มีความใจร้อน และ เครื่องเศร้าหมองจิตและ พ้นจากทุกข์ทั้งปวง.สรุปคือ จะละกิเลสได้ ต้องอบรมปัญญา ด้วยการฟังพระธรรม และ เจริญกุศล ทุกประการ จึงจะเป็นคนดีขึ้น เป็นคนใจเย็นขึ้น ตามลำดับจนถึง ความเป็นพระอรหันต์จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ "ใจเย็นอย่างสูงสุด"

[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

ประกาศด้วยข้ออุปมา

บัดนี้ จะกล่าวอธิบาย คำที่ว่า จะประกาศ พระสรณตรัยนั้น ด้วยข้ออุปมา ทั้งหลาย ก็ในคำนั้น

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนพระจันทร์เพ็ญ

พระธรรม เปรียบเหมือนกลุ่มรัศมี ของพระจันทร์

พระสงฆ์ เปรียบเหมือนโลก ที่เอิบอิ่มด้วยรัศมีของพระจันทร์เพ็ญ ที่ทำให้เกิดขึ้น

พระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ ทอแสงอ่อนๆ

พระธรรม ดังกล่าวเปรียบเหมือนข่ายรัศมี ของดวงอาทิตย์นั้น

พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลก ที่ดวงอาทิตย์นั้นกำจัดมืดแล้ว

พระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนคนเผาป่า

พระธรรม เครื่องเผาป่า คือ กิเลส เปรียบเหมือนไฟเผาป่า

พระสงฆ์ ที่เป็น บุญเขต เพราะเผากิเลสได้แล้ว เปรียบเหมือน ภูมิภาคที่เป็นเขตนา เพราะเผาป่าเสียแล้ว

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนเมฆฝนใหญ่

พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำฝน

พระสงฆ์ ผู้ระงับละอองกิเลสเปรียบเหมือนชนบท ที่ระงับละอองฝุ่น เพราะฝนตก

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนสารถีที่ดี

พระธรรม เปรียบเหมือนอุบาย ฝึกม้าอาชาไนย

พระสงฆ์เปรียบเหมือน ฝูงม้าอาชาไนย ที่ฝึกมาดีแล้ว

พระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนศัลยแพทย์ [หมอผ่าตัด] เพราะทรงถอนลูกศร คือ ทิฏฐิ ได้หมด

พระธรรมเปรียบเหมือน อุบายที่ถอนลูกศรออกได้

พระสงฆ์ผู้ถอนลูกศร คือ ทิฏฐิ ออกแล้ว เปรียบเหมือนชน ที่ถูกถอนลูกศรออกแล้ว

อีกนัยหนึ่ง

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน จักษุแพทย์เพราะทรง ลอกพื้นชั้นโมหะ ออกได้แล้ว

พระธรรม เปรียบเหมือนอุบาย เครื่องลอกพื้น [ตา]

พระสงฆ์ผู้มีพื้นชั้นตา อันลอกแล้ว ผู้มีดวงตา คือ ญาณอันสดใส เปรียบเหมือนชน ที่ลอกพื้นตาแล้ว มีดวงตาสดใส

อีกนัยหนึ่ง

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนแพทย์ผู้ฉลาด เพราะทรงสามารถกำจัด พยาธิ คือ กิเลสพร้อมทั้งอนุสัย ออกได้

พระธรรมเปรียบเหมือนเภสัชยาที่ทรงปรุงถูกต้องแล้ว

พระสงฆ์ ผู้มีพยาธิ คือ กิเลส และ อนุสัย อันระงับแล้ว เปรียบเหมือนหมู่ชน ที่พยาธิระงับแล้ว เพราะประกอบยา

อีกนัยหนึ่ง

พระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนผู้ชี้ทาง

พระธรรมเปรียบเหมือนทางดี หรือพื้นที่ที่ปลอดภัย

พระสงฆ์เปรียบเหมือนผู้เดินทาง ถึงที่ที่ปลอดภัย

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนนายเรือที่ดี

พระธรรม เปรียบเหมือนเรือ

พระสงฆ์เปรียบเหมือนชน ผู้เดินทางถึงฝั่ง.

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนป่าหิมพานต์

พระธรรมเปรียบเหมือนโอสถยา ที่เกิดแต่ป่าหิมพานต์นั้น

พระสงฆ์เปรียบเหมือนชน ผู้ไม่มีโรค เพราะใช้ยา

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ประทานทรัพย์

พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์

พระสงฆ์ผู้ได้อริยทรัพย์มาโดยชอบ เปรียบเหมือนชน ผู้ได้ทรัพย์ ตามที่ประสงค์

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์

พระธรรม เปรียบเหมือนขุมทรัพย์

พระสงฆ์เปรียบเหมือนชน ผู้ได้ขุมทรัพย์

อีกนัยหนึ่ง

พระพุทธเจ้า ผู้เป็นวีรบุรุษ เปรียบเหมือนผู้ประทานความไม่มีภัย

พระธรรม เปรียบเหมือนความไม่มีภัย

พระสงฆ์ผู้ล่วงภัยทุกอย่าง เปรียบเหมือนชน ผู้ถึงความไม่มีภัย.

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ปลอบ

พระธรรมเปรียบเหมือนการปลอบ

พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ถูกปลอบ

พระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนมิตรดี

พระธรรมเปรียบเหมือนคำสอน ที่เป็นหิตประโยชน์

พระสงฆ์เปรียบเหมือนชน ผู้ประสบประโยชน์ตนเพราะประกอบหิตประโยชน์

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบ่อเกิดทรัพย์

พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์ ที่เป็นสาระ

พระสงฆ์เปรียบเหมือนชน ผู้ใช้ทรัพย์ที่เป็นสาระ

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน ผู้ทรงสรงสนานพระราชกุมาร

พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำ ที่สนานตลอดพระเศียร

พระสงฆ์ผู้สรงสนานดีแล้ว ด้วยน้ำ คือ พระสัทธรรมเปรียบเหมือนหมู่ พระราชกุมารที่สรงสนานดีแล้ว

พระพุทธจ้า เปรียบเหมือนช่าง ผู้ทำเครื่องประดับ

พระธรรมเปรียบเหมือนเครื่องประดับ

พระสงฆ์ผู้ประดับ ด้วยพระสัทธรรมเปรียบเหมือนหมู่พระราชโอรสที่ทรงประดับแล้ว

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนต้นจันทน์

พระธรรมเปรียบเหมือนกลิ่น อันเกิดแต่ต้นจันทน์นั้น

พระสงฆ์ผู้ระงับความเร่าร้อน ได้สิ้นเชิงเพราะอุปโภค ใช้พระสัทธรรม เปรียบเหมือนชน ผู้ระงับความร้อน เพราะใช้จันทน์

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบิดา มอบมฤดก โดยธรรม

พระธรรมเปรียบเหมือนมฤดก

พระสงฆ์ผู้สืบมฤดก คือ พระสัทธรรม เปรียบเหมือนพวกบุตร ผู้สืบมฤดก

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดอกปทุมที่บาน

พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำอ้อย ที่เกิดจากดอกปทุมที่บานนั้น

พระสงฆ์เปรียบเหมือนหมู่ภมร ที่ดูดกินน้ำอ้อยนั้น

พึงประกาศ พระสรณตรัย นั้น ด้วย ข้ออุปมาทั้งหลายดังกล่าวมา ฉะนี้

ขออนุโมทนา ท่าน ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพค่ะ และ ขออนุโมทนา ท่าน ผู้แนะนำ "พระสูตรอันไพเราะ" ค่ะ

... ขออนุโมทนา ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 1 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 2 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 5 มิ.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sam
วันที่ 6 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ