สังโยชนสูตร .. สังโยชน์ ๑๐ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 เม.ย. 2552
หมายเลข  12005
อ่าน  5,815

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๒๕ เม.ย. ๒๕๕๒ เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐น. คือ

สังโยชนสูตร

ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐ ประการ

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๒๗



[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๒๗

สังโยชนสูตร

ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐ ประการ

[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งเหล่า สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ... สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ ... สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการ

สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ... สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑

สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑

พยาบาท ๑

สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการนี้.

สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการเป็นไฉน คือ ...

รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑

อวิชชา ๑

สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล.

จบสังโยชนสูตรที่ ๓

อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๓

สังโยชนสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โอรมฺภาคิยานิ แปลว่า เป็นส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า อุทฺธมฺภาคิยานิ แปลว่า เป็นส่วนเบื้องบน. ในสูตรนี้ ท่านกล่าววัฏฏะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๓



  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 20 เม.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 21 เม.ย. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สังโยชนสูตร

ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐ ประการ

ข้อความโดยสรุป

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงสังโยชน์ ๑๐ ประการ แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยทรงจำแนกสังโยชน์ ๑๐ ประการ เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ คือ

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา)

๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม)

๓. สีลัพพตปรามาส (ความลูบคลำศีลพรตซึ่งเป็นข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด)

๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ)

๕. พยาบาท (ความโกรธ ขุ่นเคืองใจ ปองร้าย)

และ เป็นสังโยชน์เบื้องบน ๕ คือ

๑. รูปราคะ (โลภะที่ติดข้องในรูปฌาน ติดข้องในรูปภพ)

๒. อรูปราคะ (โลภะที่ติดข้องในอรูปฌาน ติดข้องในอรูปภพ)

๓. มานะ (ความสำคัญตน)

๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

๕. อวิชชา (ความไม่รู้)

* สังโยชน์ ๑๐ ประการ เป็นอกุศลธรรมที่ผูกมัดเหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ จะดับได้อย่างเด็ดขาดด้วยมรรคจิต กล่าวคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดับได้ด้วยโสตาปัตติมรรค กามฉันทะ พยาบาท ดับได้ด้วยอนาคามิมรรค สังโยชน์เบื้องบน ๕ ประการ ดับได้ด้วยอรหัตตมรรค ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
opanayigo
วันที่ 24 เม.ย. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
opanayigo
วันที่ 25 เม.ย. 2552

ฟังธรรมที่มูลนิธิวันนี้

ท่านอาจารย์เปรียบ สังโยชน์ ๑๐ ว่าเป็นภาวะของอกุศลทั้งหมด ไปสู่ความเป็นกุศลไม่ได้ ถูกอกุศล คล้อง ไว้ตลอดเวลา คนส่วนใหญ่กลัวภัยภายนอกต่างๆ นาๆ เช่น ภัยธรรมชาติ ฯลฯ แต่ลืมนึกถึง "ภัยที่มองไม่เห็น"

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 25 ม.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
palsawangpattanagul
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

กราบขอบพระคุณยิ่งค่ะ ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ