ความเป็นผู้ซื่อตรง และ อ่อนโยน

 
พุทธรักษา
วันที่  3 เม.ย. 2552
หมายเลข  11870
อ่าน  2,480

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

ใน อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรม ๒ ประเภทนี้ คือ ความเป็นผู้ซื่อตรง ๑ ความเป็นผู้อ่อนโยน ๑

สำหรับ เรื่องของความตรง คือ ความเป็นผู้ซื่อตรงหมายความว่า ต้องตรง ในเหตุ ในผลต้องตรง แม้แต่ สภาพธรรมที่เกิดกับท่านเอง ตามความเป็นจริง ถ้ามีความต้องการ มีความปรารถนา ในผลของการปฏิบัติจนกระทั่ง ทำให้ผลของการปฏิบัติ คลาดเคลื่อน และ ผิดไป

ใครจะแก้ได้ นอกจากตัวของท่านเอง สติจะต้องเกิด ระลึกรู้ ตรงต่อสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ในขณะนั้น คือ รู้ว่า เป็น "ปัญญา" ที่ รู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏจริงๆ หรือเปล่า และถ้ายังไม่ใช่ "ปัญญา" ที่ รู้ลักษณะ ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในขณะนี้แล้วไปอบรม "อย่างอื่น" และ เกิดความยินดี ว่าได้รู้ลักษณะ ของ "สภาพธรรมอื่น" โดยที่ไม่ใช่ ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริง ที่ตรงต่อลักษณะ ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้

อย่างนี้ ย่อมไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญาที่จะดับกิเลส เป็นสมุจเฉท ได้ เพราะฉะนั้น ท่านต้องเป็น "ผู้ตรง" จริงๆ ด้วย สติ ที่ระลึกรู้ ว่า ปัญญาที่จะดับกิเลส ต้องเป็น "ปัญญา" ที่สามารถรู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ได้ นี่คือ การไม่สงสัย ใน "ลักษณะของสติ"

แต่ถ้าท่านผู้ใด ยังคงสงสัยอยู่ ว่า "สติ เป็นอย่างไร" หมายความว่า ท่านจะต้องฟัง ศึกษา พิจารณา จนกระทั่ง มีความเข้าใจ ว่า สติปัฏฐาน นั้น คือ สภาพที่ระลึกรู้ ลักษณะ ของสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

ถ้ายังมีความสงสัยอยู่ ก็ให้เป็นผู้ที่ตรงต่อตัวท่านเอง ว่ายังมีความสงสัยอยู่ และ อย่าเพิ่งคิดว่า ทั้งๆ ที่ยังสงสัยอยู่นี้ ท่านก็สามารถที่จะละคลาย การยึดถือสภาพธรรม ว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ได้

ถ้าสภาพธรรม ตามความเป็นจริง คือยังไม่รู้ "ลักษณะของสติ" ก็ควรพิจารณาให้รู้ชัดก่อน ว่า สติ เป็นอย่างไร และ ที่จะพิสูจน์ได้ ว่าท่านหมดความสงสัยใน "ลักษณะของสติ"แล้ว ก็คือสติ สามารถที่จะเกิดขึ้น ระลึกรู้ ลักษณะ ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ได้ และเมื่อสติเกิดแล้ว ผู้ที่อบรมเจริญปัญญา ก็จะต้องตรงต่อตัวท่านเองด้วยว่า ขณะนี้ สติ กำลังระลึกรู้ ลักษณะ ของนามธรรม หรือ รูปธรรมทางตา หรือ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

สำหรับเรื่องของความอ่อนโยน ก็จะแสดงให้เห็น ว่า ถ้าท่านยังเป็นผู้ที่ขาดความอ่อนโยนจิต ในขณะนั้น ก็เป็นอกุศลได้ เพราะว่าในชีวิตประจำวัน ก็ย่อมประสพกับอารมณ์ ที่ไม่น่ายินดี หลายอย่างในบางเหตุการณ์ เช่น ได้ยินคำพูด ที่ไม่น่ายินดี หรือ ได้เห็นการกระทำกิริยาอาการของบุคคลอื่นที่ไม่น่ายินดี เป็นต้น ถ้าท่านเป็นผู้ที่ไม่อ่อนโยน หรือ ไม่มีความอดทน จิต ในขณะนั้น ย่อมหยาบกระด้าง หรือ แข็งกระด้าง ซึ่งก็เป็นเหตุให้มีการเบียดเบียนต่อบุคคลอื่น ทางกาย ทางวาจาหรือเกิดอกุศลจิต คิดที่จะเบียดเบียน ทางใจ แต่ถ้าขณะนั้นเป็นผู้ที่เพียรขัดเกลาอกุศลธรรม เห็นว่า อกุศลธรรม เป็นสิ่งที่ละเอียดเหลือเกิน เพียงจิตไม่อ่อนโยน ก็เป็นอกุศลธรรมเสียแล้ว

เพราะฉะนั้น การที่จะดับกิเลสหมด ต้องดับ แม้ความไม่อ่อนโยน ของจิตใจ จะเป็นเหตุทำให้ท่านเป็นผู้ที่สะสมกุศลจิต เกิดความอ่อนโยน ไม่หยาบกระด้าง และ ตัดความคิดที่จะเบียดเบียน บุคคลอื่น ก็จะเห็นได้ว่า กุศลธรรมทั้งหลาย ก็จะนำมาซึ่งกุศลธรรมอื่นๆ ต่อไป และอกุศลธรรม แม้เพียงเล็กน้อย ก็จะนำมาซึ่ง อกุศลธรรมอื่นๆ ต่อไป

แนวทางเจริญวิปัสสนาครั้งที่ ๖๐๓ บรรยาย โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ถอดเทป โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
opanayigo
วันที่ 3 เม.ย. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 3 เม.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 3 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 5 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 5 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
petcharath
วันที่ 5 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pamali
วันที่ 11 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 11 ส.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 10 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ