ควรคบ หรือ ไม่ควรคบ...อย่างไร?

 
พุทธรักษา
วันที่  6 มี.ค. 2552
หมายเลข  11516
อ่าน  933

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำหรับเรื่องของ บุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่เลว เสมอกัน หรือ สูงกว่า

ข้อความใน สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถา ขุทกนิกายจูฬนิทเทศ ขัคควิสาณสุตตนิทเทศ อธิบายความหมายของข้อความที่ว่า พึงละสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันไม่เสมอไม่ควรเสพคนผู้ขวนขวาย และ คนประมาทด้วยตนเองพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น

สำหรับ การไม่คบ นั้น มีคำอธิบายว่าได้แก่ ไม่พึงเข้าไปหาด้วยตนเอง (ตยํ เสเวยย) ได้แก่ ไม่พึงเข้าไปหา แม้ด้วยจิต (สามํน เสเวยย) การที่จะไม่คบนี่ หมายถึง ไม่พึงเข้าไปหาด้วยตนเองและ ไม่พึงเข้าไปหา แม้ด้วยจิต บางคนยังไม่ไป แต่อยากไปใช่ไหม ได้ยินข่าวลือ ก็อยากไปดู อยากไปหา อยากจะไปเข้าใกล้อยากจะไปคบด้วย แต่ถ้าพูดถึง บุคคลซึ่งไม่เป็นประโยชน์ เพราะว่าประกอบด้วยสิ่งอันชั่ว มีความเห็นผิดแสดงสิ่งซึ่งไม่ใช่ประโยชน์ ให้แก่บุคคลเหล่าอื่นและได้ชื่อว่า ตั้งอยู่แล้ว ในธรรม อันไม่สม่ำเสมอคือ มีกายทุจริต เป็นต้น

การไม่คบ บุคคลนั้น ได้แก่ ไม่พึงเข้าไปหาด้วยตนเอง ตยํ สาเวยย การไม่คบ บุคคลนั้น ได้แก่ ไม่พึงเข้าไปหา แม้ด้วยจิต สามํน สาเวยย ไม่ควรแม้แต่คิดที่จะอยากคบ กับคนที่มีความเห็นผิด ใจจริงๆ อยากคบไหมคะ หรือก็สนใจเหมือนกัน อยากจะได้ยินได้ฟังบ้าง

ข้อความต่อไปมีว่า

บทว่า นเส เวยยํ ได้แก่ ไม่พึงคบ

บทว่า นนิ เสเวยย ได้แก่ ไม่พึงเข้าไปแม้เพียงสู่ที่ใกล้

บทว่า นสํ เสเวยย ได้แก่ พึงอยู่เสียให้ไกล

บทว่า นปฏิ เสเวยย ได้แก่ พึงก้าวกลับเสีย

ข้อความละเอียดมากนะคะ ที่แสดงให้เห็นว่าการไม่ควรคบนี้ ควรจะเป็นอย่างไร "ไม่ควรคบ" คือ

บทว่า นเส เวยยํ ได้แก่ ไม่ควรคบ และ

บทว่า นนิเสเวยย ไม่พึงเข้าไป แม้เพียงสู่ที่ใกล้ เข้าไปใกล้ๆ

ก็น่ากลัว ถูกเรียกร้อง ชักชวน ดึงดูด ฯลฯ แน่นอนที่สุด ถ้าท่านเข้าไปใกล้สถานที่ ที่มีความเห็นผิด ผล ก็คือ ท่านอาจจะถูกชักชวน ไปในทางที่ผิด ไปสู่ความเห็นที่ผิด ไปสู่ข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิด เพราะฉะนั้น "การไม่คบ" คือ

บทว่า นสํ เสเวยย ได้แก่ พึงอยู่เสียให้ไกล และ

บทว่า นปฏิ เสเวยย ได้แก่ พึงก้าวกลับเสีย ถ้าก้าวเข้าไปใกล้ เมื่อไร ก็ให้ก้าวกลับเสียให้ระลึกได้ ที่จะก้าวกลับเสีย ถอยออกมาห่างๆ อย่าเข้าไปใกล้ๆ เพราะว่า ถ้าเข้าไปใกล้แล้วอาจทำให้ถูกชักชวน ชักจูงไปสู่ความเห็นผิด และ ข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิด ต่างๆ สนทนาธรรมกับท่านอาจารย์

ท่านผู้ฟัง ๑ ในพระสูตร ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น ผมเห็นว่าถูกต้องแต่ทีนี้มีปัญหาอยู่ที่ว่า เวลานี้ ผู้ที่มีศีลดี สมาธิดี มีปัญญาดีนั้น จะคบ ก็เห็นด้วยแต่ทีนี้ ผู้ที่ศีลไม่ดี สมาธิไม่ดี ปัญญาไม่ดีแต่ถ้า "ปริยัติ" ท่านดี อย่างนี้ ควรคบ หรือ ไม่ควรคบครับ

ท่านอาจารย์ ถ้าทราบว่า "ปริยัติ" ดี ก็ควรคบเรื่องปริยัติ ถ้าทราบว่าเรื่องใดไม่ดี ก็ไม่ควรคบในเรื่องนั้น

ท่านผู้ฟัง ๑ ก็รู้อยู่ว่าคนเราเมื่อคบกันแล้ว ก็อาจจะมีเรื่องที่สนทนากัน คุยกันเช่นเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ก็อาจจะคุยถึงบ้าง เป็นธรรมดา จะคบกันเฉพาะปริยัติ ไม่พูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา ก็ดูจะยากหน่อย

ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้ารู้ตัวว่ายากอย่างนี้ ก็เลือกเอาซิคะ เลือกเอาประโยชน์ อย่างไหนจะได้ประโยชน์ในการที่จะเข้าใกล้ เป็นของที่แน่นอน โดยเฉพาะถ้าการปฏิบัติผิด แต่ปริยัติถูก ถ้าผู้นั้น มีปริยัติดี แล้วยังปฏิบัติผิดได้ จะมีความเห็นผิด ที่แรงกล้า สักแค่ไหน.!ที่จะยึดมั่นในข้อปฏิบัติที่ผิดของตน ว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ถูกซึ่งเป็นอันตรายมาก เพราะทั้งๆ ที่รู้ปริยัติ แต่กลับปฏิบัติผิดเพราะฉะนั้นก็เลือกเอาที่ประโยชน์ค่ะ

ท่านผู้ฟัง ๒ ความจริง ที่คุณพูดเมื่อกี้นี้ ว่า รู้ปริยัติดี แต่ปฏิบัติผิดความเห็นของผม ถ้ารู้ดีละก็ ไม่ผิด รู้ปริยัติดี รู้อรรถธรรมของปริยัติดี เนื้อหาปริยัติดีรู้ดีแล้วต้องไม่ผิด ต้องปฏิบัติถูก คนรู้ไม่ดี รู้ไม่จริงนั่นล่ะ ปฏิบัติผิด ถ้ารู้ปริยัติดี แปลดี เข้าใจซึ้งดี ตามไวยากรณ์ และ ตามตัวหนังสือล่ะก็ไม่ผิดหรอกครับ ถ้ารู้ปริยัติจริงๆ ปฏิบัติไม่ผิดหรอกครับ

ท่านอาจารย์ ถ้าเช่นนั้น ก็แปลว่า ท่านผู้นั้น เป็นผู้ศึกษาปริยัติ แต่ไม่รู้ปริยัติจริง

ท่านผู้ฟัง ๒ เรียนปริยัติ ก็ต้องรู้ปริยัติ "ปริยัติ" หมายความว่าอะไร ถ้าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงบัญญัติไว้ถ้าได้รู้ถึงหลักเกณฑ์ของปริยัติดีแล้ว จะไม่ผิดผู้ที่รู้ไม่จริง รู้ งูๆ ปลาๆ นี่ล่ะ ที่จะผิด ถ้ารู้จริง ไม่ผิดหรอกผมน่ะ ขอโทษเถอะ ไปว่าคนอื่นเขา ผมมันไม่รู้จริงถ้ารู้จริง ยังไม่สึกหรอกครับ

ท่านผู้ฟัง ๑ ปริยัติ และ ปฏิบัติ มันคนละเรื่อง คนละอันการปฏบัตินั้น มันรู้ความจริง ปริยัตินั้น มันรู้ชื่อเวลานี้ ผมคุยกับใครต่อใครก็เยอะ คำว่า "สติ" ทุกวันนี้ คนที่เข้าใจว่า สติ ในชีวิตประจำวันนี้มีสติ ตั้งแต่เช้า ตื่น จนกระทั่งหลับ ก็คนเขาว่าอย่างนี้คือว่า คนที่ตื่นอยู่จะต้องมีสติ.ทีนี้ ปริยัติ ใน อภิธัมมัตถสังคหะ ก็กล่าวว่าสติ เป็นโสภณธรรม ซึ่งเกิดกับกุศลจิตเท่านั้นแล้วลองคิดดูซิ ว่า เราจะไม่มีอกุศลจิตเลยหรือ ในวันหนึ่งๆ ในเมื่อเรายังเป็นปุถุชนอยู่ เพราะฉะนั้น คำว่า "สติ" นั้น ถ้าใครไม่รู้จัก "ลักษณะของสติ" คำว่า "สติ" ก็เป็นปริยัติ คือเป็น "ชื่อ" ที่ใครๆ ก็รู้จัก ใครๆ ก็พูดตามได้ ที่ว่าเรียนมาแล้ว ที่ว่ารู้จริงนั้น เป็นไปไม่ได้หรอกครับ

ท่านผู้ฟัง ๒ ว่าด้วยความรู้ของผมที่มีมา บางคนสอบได้ถึง ม๕ บางทีรู้ไม่จริงหรอก ไปลอกเขามาบ้าง จำเขามาบ้าง เหมือนกันทุกคน ที่เรียน ๙ ประโยค มันก็เหมือนกันล่ะครับ.เพราะฉะนั้น ต้องรู้ปริยัติ ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ต้องรู้จริง ถ้าเราเข้าใจดี มันก็ไม่ผิดหรอกครับเข้าใจดี แล้วแปลออกมาถูกต้อง ทีนี้ถ้าไม่รู้จริง อรรถาธิบาย ก็ไม่เข้าใจ ฯ ที่ว่าตะกี้ ผมยังยืนยันครับถ้ารู้ปริยัติดีแล้ว ก็ (ปฏิบัติ) ไม่ผิดครับ เพราะการปฏิบัติก็ออกมาจากปริยัติพระพุทธเจ้าท่านสอนออกมาเป็นปริยัติ แล้วเอามาแปล แล้วถึงปฏิบัติ ฯ

ท่านผู้ฟัง ๑ ที่ว่ารู้จริงๆ น่ะ รู้แต่ปริยัติอย่างเดียว หรือรู้จริงจากการปฏิบัติด้วย ถ้ารู้จริงทั้งปริยัติ และ ปฏิบัติ ล่ะแน่นอนที่สุด ไม่ผิดแน่ และอีกอย่างหนึ่ง ที่ว่า คนสลบแล้วฟื้นขึ้นมานั้นมีสติ แต่ไม่ใช่สติปัฏฐานผมขอเรียนถามว่า ถ้าไม่ใช่สติปัฏฐานแล้วมันสติอะไร

ท่านผู้ฟัง ๒ ที่ยกตัวอย่างเมื่อกี้ คนเอาคำบาลีมาใช้ในภาษาไทย แต่ไม่เข้าใจรูปศัพท์เอามาเรียกกัน ผิดๆ ถูกๆ รู้ปริยัติดี ก็หมายความว่า รู้อรรถรส อรรถธรรมรู้ดีแล้ว ก็แปลออกมาจากปริยัติ แล้วมาปฏิบัติ ก็ต้องถูก ฯ ไปแปลศัพท์ผิด จึงเข้าใจผิด การปฏิบัติก็เลยผิด ฯ

ท่านอาจารย์ หมายความว่า ท่านที่ศึกษาปริยัติธรรมรู้คำ รู้ชื่อ รู้เรื่อง ของสภาพธรรม

แนวทางเจริญวิปัสสนาบรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ถอดเทปโดย คุณสงวน สุจริตกุล

ขออนุโมทนา



  ความคิดเห็นที่ 1  
 
orawan.c
วันที่ 7 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 7 มี.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
saifon.p
วันที่ 7 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณ
วันที่ 7 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 8 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 8 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
hadezz
วันที่ 8 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jans
วันที่ 12 มี.ค. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ