พระธรรมจักร

 
พุทธรักษา
วันที่  10 ก.พ. 2552
หมายเลข  11226
อ่าน  1,558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในเทศนาหาระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปฏิปทาไว้ ๔ ตรัสบุคคล (ผู้ปฏิบัติ) ไว้ ๔ คือ

บุคคล ผู้ตัณหาจริต มีปัญญาอ่อน ย่อมออกไป (จากวัฏฏทุกข์) ด้วยทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาด้วยสตินทรีย์ เพราะความประพฤติที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน คือ สติปัฏฐานทั้งหลาย ฯ

บุคคล ผู้ตัณหาจริต มีปัญญากล้า ย่อมออกไป ด้วยทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ด้วยสมาธินทรีย์ เพราะความประพฤติที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือ ฌาณทั้งหลาย ฯ

บุคคล ผู้ทิฏฐิจริต มีปัญญาอ่อน ย่อมออกไป ด้วยสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ด้วยวิริยินทรีย์ เพราะความประพฤติที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน คือ สัมมัปปธานทั้งหลาย ฯ

บุคคล ผู้ทิฏฐิจริต มีปัญญกล้าย่อมออกไป ด้วยสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาด้วยปัญญินทรีย์ เพราะความประพฤติที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน คือ สัจจะทั้งหลาย ฯ

บุคคล ผู้ตัณหาจริต ทั้ง ๒ ย่อมออกไป (จากวัฏฏทุกข์) ด้วยวิปัสสนา อันมีสมถะเป็นเบื้องต้น ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะการสำรอกราคะฯ

บุคคล ผู้ทิฏฐิจริต ทั้ง ๒ ย่อมออกไป ด้วยสมถะ อันมีวิปัสสนาเป็นส่วนเบื้องต้นชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะการสำรอกอวิชชา ฯ

พระศาสดา หรือ สพรหมจารี รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรมแก่บุคคลใด บุคคลนั้นฟังธรรมแล้ว ย่อมได้ศรัทธา ฯ ในธรรม ตามที่ตนได้ฟังแล้วนั้น ด้วย "วีมังสีปัญญา" (ปัญญาเครื่องพิจารณาบทและอรรถแห่งพระบาลีที่ได้ฟัง ฯ)

"อุสสาหนปัญญา" (ปัญญาที่เกิดจากการฟัง อันความเพียรอุปถัมป์แล้วให้เกิดความสั่งสมธรรม ฯ)

"ตุลนปัญญา" (ปัญญาที่พิจารณาเทียบเคียงลำดับบท กับบทเป็นต้น แล้วถือเอา ฯ)

"อุปปริกขปัญญา" (ปัญญาที่หยั่งลงในมหาปเทส ใคร่ครวญบทพระพุทธพจน์และอรรถแห่งบทฯ)

นี้ชื่อว่า สุตมยปัญญา ฯ

วีมังสปัญญา ตุลนปัญญา อุปปริกขปัญญาซึ่งใคร่ครวญ (คิดทบทวน) ตาม ด้วยใจ โดยอาศัยธรรมอันตนฟังแล้วอย่างนั้นนี้ชื่อว่า จินตามยปัญญา ฯญาณใดของพระโยคี ผู้ขวนขวายทั่วแล้ว (ซึ่งรูปและอรูป) ในมนสิการด้วยปัญญาทั้ง ๒ เหล่านี้ เกิดขึ้นในทัสสนภูมิ หรือ ภาวนาภูมินี้ชื่อว่า ภาวนามยปัญญา ฯ เพราะเสียงจากคนอื่นๆ ชื่อว่า สุตมยปัญญา . เพราะเสียงตั้งขึ้นประจักษ์แล้วมนสิการโดยแยบคาย ฯนี้ชื่อว่า จินตามยปัญญา.ญาณเหล่าใดย่อมเกิดขึ้นจากเสียงคนอื่นด้วย โดยเสียงที่ตั้งขึ้นประจักษ์ด้วยและโดยมนสิการโดยแยบคายด้วยนี้ชื่อว่า ภาวนามยปัญญา ฯ

ปัญญาทั้ง ๒ คือ สุตมยปัญญา และ จินตามยปัญญา เหล่านี้ มีแก่บุคคลใดบุคคลนี้มีปัญญาคมกล้า ชื่อว่า อุคฆฏิตัญญู (เพราะรู้สักว่าอุทเทสทีเดียว) สุตมยปัญญามีอยู่ แต่จินตามยปัญญาไม่มีแก่บุคคลใดบุคคลมีปัญญาไม่คมกล้านี้ ชื่อว่า วิปัญจิตัญญู (เพราะการรู้อุทเทสและนิทเทส ฯ)

ทั้งสุตมยปัญญา ทั้งจินตามยปัญญาไม่มีแก่บุคคลใด บุคคลมีปัญญาอ่อนนี้ ชื่อว่า เนยยะ (เพราะบัณฑิตพึงนำไปด้วยเทศนาพิสดาร คือ อุทเทส นิทเทสและปฏินิทเทส ฯ)

พระธรรมเทศนานี้นั้น ... พระองค์ทรงแสดงอะไร

พระองค์ทรงแสดงสัจจะ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.อาทีนวะ (โทษ) - ผล (โลกียผล) เป็นทุกข์

อัสสาทะ (ตัณหา) เป็นสมุทัย

นิสสรณะ (การออกไป) เป็นนิโรธ

อุบายและอาณัตติ (พระบัญญัติ) เป็นมรรค

ธรรมเหล่านี้ เป็นสัจจะ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ด้วยสัจจะ ๔ นี้เป็น "พระธรรมจักร" ฯ

คำว่า "อิทํ ทุกฺขํ" นี้ เหมือนพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศ "ธรรมจักร" อันยอดเยี่ยมที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณะ หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรืออันใครๆ ในโลกนี้ให้เป็นไปไม่ได้"ดังนี้ ทุกข์ทั้งปวง เป็นธรรมจักร ฯ

ใน "พระธรรมจักร" นั้น การยกขึ้นด้วยอักขระและบทนั้น เป็นเบื้องต้นการขยายความด้วยพยัญชนะและอาการนั้น เป็นท่ามกลางการให้พิสดารด้วยนิรุตติและนิสเทสนั้น เป็นที่สุด ฯ ธรรมวินัยนี้นั้น เมื่อบุคคลยกอุทเทสขึ้นอยู่ ย่อมแนะนำบุคคลผู้เป็น อุคฏิตัญญู

เพราะเหตุนั้นบัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าธรรมวินัยนั้นว่า"มีความงามในเบื้องต้น" ดังนี้.เมื่อบุคคลอธิบาย (นิทเทส) ธรรมวินัยอยู่ย่อมแนะนำบุคคลผู้เป็น วิปัญจิตัญญู เพราะเหตุนั้นบัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวธรรมวินัยนั้นว่า"มีความงามในท่ามกลาง" ดังนี้ ฯ และเมื่อบุคคลยังธรรมวินัยนั้นให้พิสดารอยู่ย่อมแนะนำบุคคลผู้ควรแนะนำ (เนยยะบุคคล) เพราะเหตุนั้นบัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวธรรมวินัยนั้นว่า"มีความงามในที่สุด" ดังนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลายอันมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุดพร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ" ดังนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "เราจักประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ โดยสิ้นเชิง"ดังนี้ ฯ ถามว่า เทศนานี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ใครๆ

ตอบว่า ทรงแสดงแก่พระโยคีทั้งหลาย ฯ.ด้วยเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "อัสสาทะ (ความยินดี) อาทีนวะ (โทษ) นิสสรณะ (การสลัดออก) ผล (อานิสงค์) อุบายและบัญญัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเทสนาหาระ (ทรงแสดงธรรม คือ ธรรมเครื่องขจัดความไม่รู้ และ วิปลาส) เป็นเทสนาหาระเป็นประโยชน์แก่พระโยคีทั้งหลาย" ดังนี้ ฯ

จบ เทสนาหาระ

จาก คัมภีร์เนตติกรณ์รจนา โดยท่านพระมหากัจจายนะ

แปลโดย ท่านอาจารย์สมพร ศรีวราทิตย์

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 13 ก.พ. 2552

ปัญญาทั้ง ๒ คือ สุตมยปัญญา และ จินตามยปัญญา เหล่านี้ มีแก่บุคคลใดบุคคลนี้มีปัญญาคมกล้า ชื่อว่า อุคฆฏิตัญญู (เพราะรู้สักว่าอุทเทสทีเดียว)

ขอเรียนถามว่า เพราะรู้สักว่าอุทเทสทีเดียว มีความหมายว่าอย่างไรค่ะ

ขอขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 13 ก.พ. 2552

จากความเห็นที่ 1 ที่ว่า เพราะรู้สักว่าอุทเทสทีเดียว

คือ ท่านสามารถแทงตลอดอริยสัจจธรรมได้เพียงฟังพระธรรมโดยย่อ เช่น ท่านพระสารีบุตร พระมหาโมคัลลาน เมื่อได้ฟังเพียงหัวข้อธรรมที่ว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ท่านก็รู้ เข้าใจ แทงตลอดโดยนัยต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องขยายความให้มาก

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 13 ก.พ. 2552
ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 13 ก.พ. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 22 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ