สติ

 
พุทธรักษา
วันที่  27 ธ.ค. 2551
หมายเลข  10784
อ่าน  1,438

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สนทนาธรรมกับท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

ท่านผู้ฟัง องค์ธรรม บางองค์รู้สึกว่ามีความหมายใกล้เคียงกันมากเหลือเกินสังเกตยากเหลือเกิน ขอให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิบาย คำว่า ระวัง กับคำว่า รู้สึกตัว

ท่านอาจารย์ ถ้า สติ ไม่เกิดจะมีอะไรระวัง ระวังอย่างไร

ท่านผู้ฟัง เช่น เวลาที่เดินข้ามสะพานลื่นๆ ขณะที่ ระวังไม่ให้ตกลงไปในน้ำขณะนั้นไม่ต้องมี "สติระวัง" นี่ครับ

ท่านอาจารย์ นั่นไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน การระวังไม่ให้พลาดพลั้ง ไม่ให้บาดเจ็บทางกายนั้น ถึงแม้ว่าจะระวังแล้ว ถ้า "สติ" ไม่เกิดและระลึกรู้ลักษณะของจิต ที่กำลังระวังว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนก็ไม่สามารถ "ละคลาย" กิเลสหรือการยึดถือสภาพธรรมที่ "กำลังระวัง" ว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

เพราะฉะนั้น ในชีวิตประจำวัน ในการรักษาร่างกายให้ปกตินั้น ทุกอย่างเป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพื่อการดำเนินชีวิตตามปกติ แต่ว่า ขณะใดที่ "สติ" ไม่ระลึกรู้ "ลักษณะ" ของสภาพธรรมตามปกติ ตามความเป็นจริง ที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน ขณะนั้น ก็เป็น "ตัวตน" ที่ระวัง แต่การที่จะละคลาย "กิเลส" ได้นั้นไม่ว่าจะเป็นขณะที่ กำลังระวัง หรือ กำลังเห็น ได้ยิน คิดนึก ฯลฯ หรืออะไรก็ตาม "สติ" ต้องระลึกรู้ "ลักษณะ" ของสภาพธรรมตามปกติ ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน ในขณะนั้นๆ เพื่อรู้ว่า เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน

เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องละเอียดจริงๆ โดยเฉพาะ "จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน" เพราะว่า สภาพของจิต ซึ่งเกิดดับเร็วมาก และสลับซับซ้อน ตามเหตุปัจจัยบางครั้งเป็นกุศล บางครั้งเป็นอกุศล และในวันหนึ่งๆ ถ้า "สติ" ไม่ระลึก ก็ไม่ทราบเลย ว่า อกุศล มีมากมายแค่ไหน

"โลภะ" ความพอใจ ติดข้อง ในสภาพธรรม ที่เพียงปรากฏ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจมีอยู่เรื่อยๆ ในชีวิตประจำวัน. ถ้า "สติ" ไม่เกิด ก็ไม่มีทางรู้ ว่า เป็นความพอใจแล้ว ในสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นความต้องการแล้ว ในสิ่งที่ปรากฏทางหูเป็นความเพลิดเพลินแล้ว ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะและ เพลิดเพลินแล้ว ติดข้องแล้วในเรื่องราว ที่คิดนึกมีความพอใจแล้ว ที่จะ "คิด" อย่างนั้นๆ เพลิดเพลินไป "ในเรื่องที่คิด" นั้นด้วย

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 28 ธ.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 28 ธ.ค. 2551

ถ้า "สติ" ไม่เกิด ก็ไม่มีทางรู้ ว่า เป็นความพอใจแล้ว ในสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นความต้องการแล้ว ในสิ่งที่ปรากฏทางหูเป็นความเพลิดเพลินแล้ว ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะและ เพลิดเพลินแล้ว ติดข้องแล้ว ในเรื่องราว ที่คิดนึกมีความพอใจแล้ว ที่จะ "คิด" อย่างนั้นๆ เพลิดเพลินไป "ในเรื่องที่คิด" นั้นด้วย

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
narong.p
วันที่ 29 ธ.ค. 2551

ก็ต้องฟังต่อไปให้เข้าใจๆ ทีละเล็กละน้อย

ความเข้าใจจากการฟังที่สะสมจะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติเกิดขึ้นระลึกสภาพธรรมที่ปรากฏในชีวิตประจำวันตามความเป็นจริง หากสติยังไม่เกิด ก็แสดงว่า ความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมยังไม่พอ ต้องฟังต่อๆ ไป เหตุนี้เอง จึงขาดการฟังไม่ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พีรพงษ์ใจหาญ
วันที่ 29 ธ.ค. 2551

ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 29 ธ.ค. 2551

ฟังให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง โดยไม่ต้องหวังว่าเพื่อให้สติปัฏฐานเกิด เพราะจะเป็นเครื่องกั้นทันที สติปัฏฐานเป็นธรรมะและเป็นอนัตตา เกิดดับตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เพราะหวังหรือทำสติได้

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Komsan
วันที่ 29 ธ.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 6 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pamali
วันที่ 23 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 14 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ