สวรรค์อยู่ที่ใหน

 
WS202398
วันที่  16 ธ.ค. 2551
หมายเลข  10686
อ่าน  3,206

มีในพระไตรปิฎกหรือไม่ สวรรค์อยู่ที่ใหน นรกอยู่ที่ใหน จักรวาลหนึ่งประกอบด้วยอะไร จักรวาลมีกี่จักรวาล แต่ละจักรวาลมีนรกสวรรค์ของตัวเองหรือไม่

ที่ว่าหมื่นโลกธาตุนั้น โลกธาตุเดียวประกอบด้วยอะไรบ้าง

โลกธาตุกับจักรวาลอันเดียวกันหรือไม่

ถ้าไล่เรียงว่า กี่โลกในหนึ่งจักรวาลกี่จักรวาลในหนึ่งโลกธาตุ ใช่หรือไม่

ที่ว่าเวลารูปโลกพินาศสัตว์ทั้งหลายไปอยู่พรหมโลกกันหมดโลกในที่นี่หมายถึงโลกในจักรวาลนั้นๆ หรือพินาศพร้อมกันทุกจักรวาล

ที่ว่าหมื่นโลกธาตุสั่นไหวเวลามีเหตุการณ์ โลกธาตุมีมากกว่าหมื่นโลกธาตุหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 16 ธ.ค. 2551

โลกมีหลายความหมาย เช่น โลกคือที่อยู่อาศัยของหมู่สัตว์ ไม่ว่าจะเป็นโลกอะไร ทุกอย่างไม่เที่ยง ที่ว่าไม่เที่ยง เพราะเกิดแล้วดับ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ในโลกมนุษย์ก็มีอบายภูมิให้เห็น เช่น พวกที่เกิดเป็น นก แมว ปลา ไก่ สุนัข ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
WS202398
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

จำนวนโลกธาตุมีประมาณได้หรือไม่ ปรกติได้ยินแต่หมื่นโลกธาตุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

จักรวาลและโลกธาตุไม่มีประมาณ เป็นอนันตะครับขอเชิญคลิกอ่าน ...

อนันตะ ๔

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
WS202398
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

เพื่อที่จะให้เห็นพระมหากรุณาคุณของพระผู้มีพระภาคที่ทรงพระมหากรุณาแสดงพระธรรมโดยละเอียด

ข้อความในอัฏฐสาลินี อรรถกถา ธัมมสังคีปกรณ์ จิตตุปปทากัณฑ์แสดง “อนันตะ” ความกว้างใหญ่ที่สุด ๔ อย่างว่า ในที่นี้ท่านถือเอา “อนันตะ” ๔ อย่าง ก็อนันตะ ๔ อย่างคือ ...

อากาศเป็นอนันตะไม่มีที่สุด ๑

จักรวาลเป็นอนันตะไม่มีที่สุด ๑

สัตตนิกาย คือ หมู่สัตว์เป็นอนันตะไม่มีที่สุด ๑

พุทธญาณเป็น อนันตะไม่มีที่สุด ๑

นอกจากอรรถกถา มีข้อความนัยนี้ ในพระไตรปิฎกหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ajarnkruo
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

มีครับ อ่านได้ในพระไตรปิฏกโดยตรงได้ที่นี่ครับ

[เล่มที่ 73] เล่มที่ ๗๓ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒

ชื่อเรื่องข้อ/หน้าอนันตะ ความไม่มีที่สุด ๔ ประการ (วงศ์พระโกญฑัญญพุทธเจ้าที่ ๒) ๓๑๗

[เล่มที่ 75] เล่มที่ ๗๕ พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑

ชื่อเรื่องข้อ/ หน้าว่าด้วยอนันตะ (สิ่งที่ไม่มีที่สุด) ๔ อย่าง (อรรถกถาสุญญตวาร) ๔๓๓

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
WS202398
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

เรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่พยากรณ์ หนึ่งในนั้นคือโลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ผมพยายามค้นในพุทธพจน์โดยตรงไม่พบข้อความยืนยันในนัยนี้อยากทราบว่ามีพุทธพจน์โดยตรงที่มีนัยว่าโลกธาตุเป็นอนันตะหรือไม่หากไม่มีเหตุใดถึงมีในชั้นอรรถกถา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
WS202398
วันที่ 17 ธ.ค. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
WS202398
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

เรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่พยากรณ์ หนึ่งในนั้นคือโลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ผมพยายามค้นในพุทธพจน์โดยตรงไม่พบข้อความยืนยันในนัยนี้ อยากทราบว่ามีพุทธพจน์โดยตรงที่มีนัยว่าโลกธาตุเป็นอนันตะหรือไม่ หากไม่มีเหตุใดถึงมีในชั้นอรรถกถา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
WS202398
วันที่ 18 ธ.ค. 2551

ตัวแดงคือพุทธพจน์ใช่หรือไม่ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๔๐

แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอปมฺมกุสโล ได้แก่ ผู้ฉลาดในข้ออุปมา.กงฺขจฺเฉโท ได้แก่ ทรงตัดความสงสัยของสัตว์ทั้งปวง บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระคุณทั้งหลายของพระองค์ ที่พระองค์ตรัสแล้วจึงตรัสว่า เบื้องต้นและเบื้องปลาย ของอสงไขยเหล่าใดอันใครๆ รู้ไม่ได้ อสงไขยเหล่านั้น มี ๔ คือ สัตตนิกาย ๑ หมู่สัตว์ ๑ โอกาสจักรวาลอันไม่สิ้นสุด ๑ และพระพุทธญาณ ที่นับไม่ได้ ๑ อสงไขยเหล่านั้น ใครๆ ไม่อาจจะรู้ได้.

แก้อรรถ

ในคาถานั้น ศัพท์ว่า จตฺตาโร กำหนดจำนวนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้ความที่พึงตรัส ณ บัดนี้ด้วยบทว่า เอเต

บทว่า อสงฺเขยฺยา ได้แก่ ชื่อว่าอสงไขย เพราะใครๆ ไม่อาจนับได้ อธิบายว่าเกินที่จะนับ

บทว่า โกฏิ ได้แก่ ขอบเขตเบื้องต้นหรือเบื้องปลาย

บทว่า เยส ได้แก่ ของอสงไขย ๔ เหล่าใด.

บทว่า น นายติ ได้แก่ ไม่ปรากฏ.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอสงไขย ๔ ดังกล่าวแล้วนั้น จึงตรัสคำว่า สตฺตกาโย เป็นต้น.

บทว่า สตฺตกาโย แปลว่าหมู่สัตว์ หมู่สัตว์ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีปริมาณ นับไม่ได้. อากาศก็อย่างนั้นที่สุดแม้ของอากาศไม่มี จักรวาลก็เหมือนกัน ไม่มีที่สุดเหมือนกัน

พุทธญาณคือ พระสัพพัญญุตญาณ ก็นับไม่ได้.

บทว่า น สกฺกา เอเต วิชานิตุง ความว่าเพราะเหตุที่อสงไขยเหล่านั้น ไม่มีที่สุด ฉะนั้น ใครๆ จึงไม่อาจจะรู้ได้.

บัดนี้ พระศาสดาเมื่อทรงขยายพระธรรมเทศนาว่า ในการทำฤทธิ์ต่างๆ ของพระองค์ นั่นจะอัศจรรย์อะไรสำหรับเทวดาและมนุษย์ เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
WS202398
วันที่ 18 ธ.ค. 2551

จากความเห็น 10

เบื้องต้นและเบื้องปลายของอสงไขยเหล่าใดอัน ใครๆ รู้ไม่ได้ อสงไขยเหล่านั้น มี ๔ คือ สัตตนิกาย ๑ หมู่สัตว์ ๑ โอกาสจักรวาลอันไม่สิ้นสุด ๑ และพระ พุทธญาณที่นับไม่ได้ ๑ อสงไขยเหล่านั้น ใครๆ ไม่ อาจจะรู้ได้.

ใครๆ รู้ไม่ได้ รวมพระพุทธเจ้าด้วยหรือไม่

คำว่า เบื้องต้นและเบื้องปลาย หมายถึงอะไร จุดกำเนิด หรือขนาด

ที่ทรงไม่พยากรณ์โลกมีที่สุดหรือไม่มีที่สุด ผมเข้าใจว่าคงเพราะ เป็นสิ่งที่ใครๆ รู้ไม่ได้และเมื่อพยากรณ์อย่างไรสำหรับคนฟังก็รู้ไม่ได้อยู่ดี เป็นได้แต่เพียงทิฏฐิยึดถือเท่านั้นไม่ช่วยให้ถึงนิพพาน เข้าใจเช่นนี้ถูกหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
prachern.s
วันที่ 19 ธ.ค. 2551

ความเห็นที่ 9

ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่พยากรณ์ เช่น โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด เป็นต้น เป็นเรื่องของผู้ที่มีความเห็นผิด

ความเห็นที่ 10

เป็นคำของอรรถกถาครับ

ความเห็นที่ 11

พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู คือรู้สิ่งทั้งปวง ไม่มีอะไรที่พระองค์ไม่รู้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
WS202398
วันที่ 19 ธ.ค. 2551

ขออภัยครับ

ตัวแดงคือพุทธพจน์ใช่หรือไม่ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๔๐

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอปมฺมกุสโล ได้แก่ ผู้ฉลาดในข้ออุปมา.กงฺขจฺเฉโท ได้แก่ ทรงตัดความสงสัยของสัตว์ทั้งปวง

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระคุณทั้งหลายของพระองค์ ที่พระองค์ตรัสแล้วจึงตรัสว่า เบื้องต้นและเบื้องปลาย ของอสงไขยเหล่าใดอันใครๆ รู้ไม่ได้ อสงไขยเหล่านั้น มี ๔ คือ สัตตนิกาย ๑ หมู่สัตว์ ๑ โอกาสจักรวาลอันไม่สิ้นสุด ๑ และพระพุทธญาณ ที่นับไม่ได้ ๑ อสงไขยเหล่านั้น ใครๆ ไม่อาจจะรู้ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
study
วันที่ 19 ธ.ค. 2551

เป็นข้อความในอรรถกถา ซึ่งท่านอ้างว่าเป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้า และอรรถกถา ก็คือ พระอรหันต์สาวกทั้งหลายนั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 20 ธ.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ประโยชน์สูงสุดของการศึกษาพระธรรมคือ การเข้าใจความจริง อะไรที่เป็นความจริงคือ โลกที่เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับที่เป็น จิต เจตสิก รูปว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา หากไม่เข้าใจความจริงของสภาพธรรมแล้วก็สำคัญว่ามีโลก จักรวาลจริงๆ และสิ่งต่างๆ ด้วยความยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคลตัวตน

หากไม่มีสภาพธรรมที่มีจริงคือ จิต เจตสิก รูป ก็จะไม่มีโลกที่บัญญัติขึ้น ไม่มีจักรวาล ไม่มีสัตว์ สิ่งของต่างๆ แต่เพราะมีสภาพธรรมที่มีจริงจึงได้บัญญัติสิ่งต่างๆ ขึ้นมา แต่ผู้มีปัญญาจึงรู้ความแตกต่างระหว่างความจริงที่เป็นปรมัตคือ จิต เจตสิก รูปและสมมติบัญญัติ การศึกษาธรรมที่ถูกต้องจึงเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เมื่อเข้าใจความจริงเช่นนี้แล้วก็ย่อมเข้าใจโลกโดยสมมติด้วยความเห็นถูกเช่นกันครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
paderm
วันที่ 21 ธ.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ความจริง มี 4 อย่างคือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน จิตไม่ใช่เรา เจตสิกไม่ใช่เรา รูปไม่ไช่เรา นิพพานไม่ใช่อัตตาตัวตน

จิตมี 4 ประเภท คือกุศล อกุศล วิบาก กิริยา

จิตไม่มีที่ให้อยู่ ไม่ใช่เรา เมื่อเกิดขึ้นย่อมดับไปเป็นธรรมและเป็นอนัตตา ความจริงไม่ใช่มีแค่จิต และเจตสิกแต่มีความจริงที่เป็นรูปด้วย เมื่อมีรูป จักรวาลจึงมีตามสมมติบัญญัติที่เรียกขึ้น แต่การศึกษาเพื่ออบรมปัญญาเพื่อดับกิเลสก็ต้องรู้จักความจริงที่เกิดขึ้นขณะนี้ที่เป็น จิต เจตสิก รูปในชีวิตประจำวันครับ ดังนั้นสาระของชีวิตคือ การเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

ขออนุโมทนาครับ [เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎกขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ภาค ๑หน้าที่ ๖๘๓

การรวมเป็นกองก็ดี การสะสมก็ดี ย่อมไม่มีแก่ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก่อนแต่ขันธ์เหล่านี้เกิด, ชื่อว่าการมา โดยรวมเป็นกอง โดยความสะสม ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่เกิดขึ้น, ชื่อว่าการไปสู่ทิศน้อยใหญ่ ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับ, ชื่อว่าการตั้งลงโดยรวมเป็นกอง โดยสะสม โดยเก็บไว้ในที่แห่งหนึ่ง ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับแล้ว. เหมือนนักดีดพิณ เมื่อเขาดีดพิณอยู่ เสียงพิณก็เกิด, มิใช่มีการสะสมไว้ก่อน

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
WS202398
วันที่ 23 ธ.ค. 2551

ขอขอบพระคุณ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
suwit02
วันที่ 25 ธ.ค. 2551

ขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า

ผู้ทรงมีพระสัทธรรมเป็นรัศมี

ส่องสว่างกำจัดความมืดในใจของปวงชน

ตัวหนังสือใหญ่ ใช่ว่าเป็นสาระ

พูดเสียงดัง ใช่ว่าพูดด้วยปัญญา

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒

ตอน ๑ - หน้าที่ ๒

ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่ประสบสิ่งอันเป็นสาระ ชนเหล่าใดรู้สิ่งอันเป็นสาระโดยความเป็นสาระ และสิ่งที่ไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมประสบสิ่งอันเป็นสาระ.

ขอเชิญอ่าน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๔๘

๖. ทุติยกามภูสูตร

ว่าด้วยสังขาร ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๔๗

๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร

ศึกษาพระธรรมผิด เปรียบเสมือนการจับงูพิษที่ข้างหาง

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
pornpaon
วันที่ 25 ธ.ค. 2551

ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธพจน์หรืออรรถกถา ทุกคำ ทุกพยัญชนะ ดูคล้ายอ่านแล้วเข้าใจง่าย แต่พระธรรมลึกซึ้ง คำสอนของพระบรมศาสดามิได้ตื้นเขินดังอักษรที่เห็นเลย ทุกพยัญชนะ ล้วนมีความหมายอันลึก และต้องอ่านด้วยการพิจารณาอย่างยิ่ง

มิใช่เพียงอ่านแล้วนึกเอาก็จะเข้าใจ ต้องศึกษาโดยละเอียดอย่างมาก

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
sirikorn
วันที่ 28 ธ.ค. 2551

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้ คือเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว สอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

พระสูตรและอรรถกถา เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๒ จูฬกัมมวิภังคสูตร หน้า ๒๕๘

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
คุณ
วันที่ 10 พ.ค. 2552
อนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
chatchai.k
วันที่ 25 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ