ปัญญา...รู้อะไร?

 
พุทธรักษา
วันที่  14 ธ.ค. 2551
หมายเลข  10673
อ่าน  1,390


ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ท่านพระภิกษุ ขอถามว่า ปัญญารู้ "ธาตุ" จักขุธาตุ หรือ รูปธาตุ

ท่านอาจารย์ แยกเป็น๒ อย่างเจ้าค่ะ ยังไม่มีต้องชื่อใดๆ เลยอย่าง "เสียง" นี้นะเจ้าคะ ไม่ต้องเรียกชื่อ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไร ไม่ต้องเรียกชื่อก็ได้ แต่ "ลักษณะนั้น"มีจริงๆ และมีเฉพาะเวลาที่เสียงนั้นเกิด ปรากฏให้รู้ "ลักษณะ" แท้ๆ ของธรรมะนี้ไม่มีชื่อว่าเป็นนามธาตุ (นามธรรม) หรือ รูปธาตุ (รูปธรรม) แต่ลักษณะของนามธาตุ และ รูปธาตุ มีลักษณะต่างกัน

ฉะนั้น เมื่อ "มีความเข้าใจถูกต้อง" ใน "ลักษณะ" ของรูปธาตุ และนามธาตุ จริงๆ ขณะนั้น เป็น "สัจจญาณ" คือ ปัญญารู้แจ้งอริยสัจจธรรม ๔ ว่า "ทุกขลักษณะ" ต้องหมายถึง "ความถึงลักษณะของสภาพธรรม ที่มีจริง ที่เกิดแล้วดับ"

ถ้ายังไม่ประจักษ์การเกิดดับของสภาพนามธรรม และ รูปธรรมก็ยังไม่ถึงความเป็นพระอริยบุคคล แต่ก่อนที่จะถึงความเป็นพระอริยบุคคล ต้องอบรมเจริญปัญญา ตั้งแต่ขั้นฟัง คือ ถ้าไม่มีการฟังให้เข้าใจ สติปัฏฐานก็เกิดขึ้นไม่ได้การระลึก ก็เป็นเพียงแต่การคิดไปเรื่อยๆ แต่ไม่สามารถที่จะรู้ "ตัวจริงของสภาพธรรม" เพียงการคิด

ท่านพระภิกษุ โดยปกติ ก่อนที่จะรู้ "ความเป็นอนัตตา" ก็ต้องรู้ว่าสภาพธรรมนั้น. ประกอบไปด้วยปัจจัยอะไร?

ท่านอาจารย์ นั่นคือการคิด ยังไม่ใช่ "การรู้ลักษณะของรูปธาตุและนามธาตุ" เลยเจ้าค่ะ ฉะนั้น "วิปัสสนาญาณแรก" จึงเป็น "นามรูปปริจเฉทญาณ" ไม่ใช่ "ปัจจยปริคหญาณ"

ท่านพระภิกษุ อันนี้เป็นการคิดหรือเปล่า

ท่านอาจารย์ ไม่ใช่การคิด ถ้าประจักษ์ขณะนี้ สภาพธรรมเกิดดับ ทนต่อการพิสูจน์สัจจธรรม ผู้ที่เป็นพุทธบริษัทในสมัยพุทธกาล ฟังพระธรรมแล้ว "ไม่เป็นโมฆะ" เมื่อสามารถรู้ความจริงตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ และทรงแสดง แต่ถ้าไม่ระลึกลักษณะของธรรมะ ก็เป็นโมฆะ

เรียนมากเท่าไรไม่ว่า ๗ คัมภีร์ของอภิธรรม หรือว่าเรียนจบทั้ง ๓ ปิฏก ช่ำชองสักเท่าไร แต่สติไม่เกิด ไม่เคยระลึกลักษณะของสภาพธรรม ก็เป็นเพียงขั้นคิด ฉะนั้น ท่านผู้นั้น เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกง เป็นใบลานเปล่า ที่ทรงแสดงไว้ คือ พูดได้ บอกได้ อธิบายได้ แต่ไม่รู้ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม ในเมื่อธรรมะมีจริง ทำไมรู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ที่ใช้คำว่า "ปัญญา" ก็ควรคิดว่าปัญญารู้อะไร "ปัญญา" เป็นความเห็นถูก รู้ถูก ฉะนั้น "ปัญญารู้อะไร"

ต้องมี "สิ่งที่ปัญญารู้ได้" ปัญญาที่เห็นถูก รู้ถูก ตามความเป็นจริงในลักษณะสภาพของสิ่งนั้นถ้าไม่มีอะไรเลย ปัญญาก็รู้อะไรไม่ได้แต่นามธาตุ และ รูปธาตุ มีแต่ไม่เคยรู้

เพราะฉะนั้น ปัญญา คือความเห็นถูก รู้ถูก ในลักษณะที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง ของสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งก็คือ นามธาตุ และ รูปธาตุและ นามธาตุ และ รูปธาตุไม่เที่ยง "ไม่ใช่เรา" ที่ไม่เที่ยง

สนทนาธรรมที่วัดสิงห์วรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๔ โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ขออนุโมทนา



"บ้านธัมมะ"


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 14 ธ.ค. 2551

กรุณาอธิบายคำนี้ด้วยค่ะ

"ปัจจยปริคหญาณ"

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 15 ธ.ค. 2551

คำอธิบายวิปัสสนาญาณบางตอนมีดังนี้

วิปัสสนาญาณมี ๑๖ ขั้น

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความแยกขาดจากกันของ นามธรรมและรูปธรรมที่ละอารมณ์ โดยสภาพความเป็นอนัตตา

๒. ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ความเป็นปัจจัยของนามธรรมและรูปธรรม คือ รู้ชัดว่านามรูปแต่ละอย่างมีปัจจัยเป็นเหตุให้เกิด

๓. สัมมสนญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งการเกิดดับสืบต่อของนามธรรมรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นโทษของการเกิดดับได้ไม่ชัดเจน

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่...

วิปัสสนาญาณ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 15 ธ.ค. 2551

ขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Noparat
วันที่ 15 ธ.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 15 ธ.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 28 ธ.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pamali
วันที่ 29 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ms.pimpaka
วันที่ 28 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ