จักขุธาตุ-จักขุนทรีย์-โลก-ทวาร-สมุทร-ปัณฑระ-เขต-วัตถุ-เนตร-นัยนะ


    ข้อความต่อไปมีว่า

    นี้เรียกว่า “จักขุธาตุ” บ้าง ด้วยอรรถว่า เป็นสภาพว่างเปล่า และไม่ใช่สัตว์

    นี้เรียกว่า “จักขุนทรีย์” บ้าง ด้วยอรรถว่า ให้กระทำความหมายว่า เป็นใหญ่ในลักษณะ คือ การเห็น

    นี้เรียกว่า “โลก” บ้าง ด้วยอรรถว่า ต้องแตกย่อยยับ

    นี้เรียกว่า “ทวาร” บ้าง ด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องเข้าไป

    นี้เรียกว่า “สมุทร” บ้าง ด้วยอรรถว่า อันใครๆ พึงให้เต็มไม่ได้

    นี้เรียกว่า “บัณฑระ” บ้าง ด้วยอรรถว่า บริสุทธิ์

    นี้เรียกว่า “เขต” บ้าง ด้วยอรรถว่า เป็นที่เกิดมากมายแห่งธรรม มีผัสสะเป็นต้น

    นี้เรียกว่า “วัตถุ” บ้าง ด้วยอรรถว่า เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งธรรม มีผัสสะเป็นต้น เหล่านั้นแหละ

    นี้เรียกว่า “เนตร” บ้าง ด้วยอรรถว่า ชี้ให้เห็นที่เรียบและที่ขรุขระนำร่างกายไป

    นี้เรียกว่า “นัยนะ” บ้าง ด้วยอรรถว่า นั้นแหละ

    นี้เรียกว่า “ฝั่งนี้” บ้าง ด้วยอรรถว่า นับเนื่องในกายของตน

    นี้เรียกว่า “บ้านว่าง” บ้าง ด้วยอรรถว่า เป็นของสาธารณะแก่สัตว์ส่วนมาก และด้วยอรรถว่า หาเจ้าของมิได้


    หมายเลข 7542
    21 ส.ค. 2558