จักขุ


    สำหรับข้อความที่อธิบายความหมายของพยัญชนะต่างๆ ของจักขุ มีคำอธิบายว่า ในพระบาลี มีคำว่า 

    “ด้วยจักขุใด” เป็นต้น มีความย่อดังต่อไปนี้

    สัตว์นี้เห็นแล้วในอดีต

    ไม่ใช่เฉพาะตัวท่าน ใครที่ไหน ขณะไหนก็ตาม จะเป็นโลกนี้ โลกไหนก็ตาม ในอดีตเนิ่นนานมาสักเท่าไรก็ตาม

    สัตว์นี้เห็นแล้วในอดีต หรือเห็นอยู่ในปัจจุบัน หรือจักเห็นในอนาคต ซึ่งรูปมีประการดังกล่าวแล้วนี้ ด้วยจักขุใด อันเป็นกรณะ คือ เป็นเหตุ ถ้าว่าสัตว์นี้พึงมีจักขุไม่แตกทำลาย เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะพึงเห็นรูปอันถึงคลองด้วยจักขุนี้ หรือเห็นแล้วซึ่งรูปอดีต ด้วยจักขุส่วนอดีต หรือเห็นอยู่ซึ่งรูปปัจจุบัน ด้วยจักขุส่วนปัจจุบัน หรือจักเห็นซึ่งรูปอนาคตด้วยจักขุส่วนอนาคต

    แค่นี้ก็ทำให้ระลึกได้ถึงความไม่เที่ยงของจักขุปสาทในขณะนี้ว่า กำลังเกิดดับ ที่เห็นแล้วเป็นอดีต ทั้งสิ่งที่ปรากฏทางตา และทั้งจักขุปสาทเองก็ดับไปด้วย เมื่อกี้นี้นะคะ เพราะฉะนั้นที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ก็เป็นรูปารมณ์ ซึ่งกำลังปรากฏในขณะนี้ พร้อมทั้งจักขุปสาท ซึ่งกำลังมีอยู่ คือยังไม่ได้ดับไป และขณะนี้เอง จักขุปสาทและรูปารมณ์ก็กำลังเกิดดับ ที่เป็นอดีต ก็เป็นอดีตแล้ว ที่กำลังเป็นปัจจุบันในขณะนี้ ครู่ต่อไป ขณะต่อไป ก็เป็นอดีตแล้ว และสิ่งที่กำลังเห็นในขณะนี้ ก็เป็นอนาคตสำหรับอดีตเมื่อกี้นี้

    เพราะฉะนั้นทั้งจักขุปสาทและทั้งรูปารมณ์ในขณะนี้กำลังเกิดดับ


    หมายเลข 7540
    21 ส.ค. 2558