รูปที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ


        ผู้ฟัง ถามในเรื่องวิถีจิต อย่างจักขุวิญญาณ เราทราบว่าเป็นวิบากจิต ซึ่งเกิดจากผลของกรรม เพราะฉะนั้นอารมณ์ที่มากระทบ ก็จะมีอารมณ์ที่ดี และไม่ดี อยู่ที่ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล เนื่องจากอารมณ์เป็นปรมัตถ์ ก็เลยสงสัยว่า จะรู้ว่าสีนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร เช่น ทางตา

        สุ. ไม่ใช่ให้คุณณรงค์รู้นะคะ แต่ความจริง รูปมีทั้งที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจหรือเปล่า

        ผู้ฟัง หมายถึงรูปที่เป็นปรมัตถ์ ไม่ใช่รูปที่เกิดตรงมโนทวารที่คิดนึก ใช่ไหมครับ

        สุ. ไม่ใช่ค่ะ เปลี่ยนสภาวะของรูปไม่ได้

        ผู้ฟัง อย่างในชีวิตประจำวัน เวลาคุยกัน พอเราไปเจอเรื่องไม่ดี เขาบอกว่าเป็นผลของกรรม ซึ่งจริงๆ ตรงนี้เป็นคิดนึก ไม่ใช่ตรงปัญจทวาร

        สุ. เพราะฉะนั้นก็ต้องบอกเขาว่า ผลของกรรม คือ จิตได้ยิน แล้วสัมปฏิจฉันนะ แล้วสันตีรณะ ถ้าอยากจะคุยกันแบบนี้ ก็แบบนี้ ถ้าไม่อยากคุยกันแบบนี้ ก็คือว่า เรื่องที่ไม่ดีทั้งหลายที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ขณะนั้นเป็นการรับผลของกรรม แต่โดยการได้ยินก่อน แล้วคิดนึก ถ้าได้ยินเรื่องดีๆ ให้ไปคิดนึกเรื่องไม่ดีได้ไหมคะ ให้ไปโศกเศร้า กำลังได้ยินเรื่องไม่ดี ก็โศกเศร้า ได้ไหม หรือเพราะเรื่องนั้น เสียงนั้น จริงๆ แล้วต้องละเอียดกว่านั้นอีกว่า แม้เสียงที่ได้ยิน เฉพาะเสียง เป็นอิฏฐารมณ์ น่าพอใจ หรือเป็นอนิฏฐารมณ์ แต่หลังจากนั้นแล้วเป็นปัจจัยให้คิดอะไร ขณะที่คิดเป็นกุศล อกุศล จะดีใจ เสียใจ นั่นไม่ใช่วิบาก ไม่ใช่ผลของกรรม แต่เมื่อประมวลว่า เหตุนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ที่ทำให้เกิดการเห็น การได้ยินต่อไป ในลักษณะไหน ก็ประมวลว่าเป็นผลของกรรม ถ้าขณะนั้นทำให้จิตใจเศร้าหมอง แต่ถ้าจะสนทนาแบบละเอียด ก็ต้องบอกว่า ขณะเห็นสิ่งที่ปรากฏเป็นอิฏฐารมณ์ จึงเป็นกุศลวิบาก ไม่ต้องเป็นเรื่องราวใดๆ ทั้งสิ้น ขณะที่เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ขณะนั้นก็เป็นอกุศลวิบาก จบเรื่องวิบากไป ก็ต้องพูดถึงขณะจิต ถ้าจะสนทนาแบบนั้น

        ผู้ฟัง เช่นเราได้กลิ่นหอมๆ ทางจมูก แต่กลิ่นหอมๆ ก็เป็นบัญญัติแล้ว ใช่ไหมครับ

        สุ. กลิ่นหอม ยังไม่ทันบัญญัติว่าอะไรเลย เปลี่ยนลักษณะของกลิ่นหอม ให้เป็นกลิ่นอื่นได้ไหม

        ผู้ฟัง ถ้าบอกว่า เป็นกลิ่นกุหลาบอย่างนี้ เป็นบัญญัติ

        สุ. ตัวกลิ่นจริงๆ ลักษณะจริงๆ ของรูปก็มี ๒ อย่าง อิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์

        ที่มา ...

        พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 344


    หมายเลข 12458
    23 ม.ค. 2567