ไม่พึงโกรธ


        ท่านอาจารย์ ธรรมะเป็นเรื่องละเอียด ไม่ว่าในชีวิตประจำวัน หรือตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อย่างที่เราสนทนากันเมื่อกี้นี้เรื่อง อย่า กับไม่พึง ในชีวิตประจำวัน เราบอกคนอื่นได้ไหมว่า อย่าบอกใคร เคยพูดไหมคะคำนี้ หรือถ้าเป็นของมีพิษ เรารู้ก่อนแล้วบอกคนอื่นว่าอย่ากิน บอกได้ไหมคะ ก็ได้ด้วยความหวังดี นี่ก็เป็นเรื่องละเอียดมาก ถ้าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ ถ้าเขาไม่สามารถทำอย่างนั้น เราก็บอกได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องของปัญญา ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก เราห้ามไม่ได้

        เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่ถ้าเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องพิจารณาไตร่ตรอง ผู้นั้นก็จะได้ยินว่า ไม่พึง อย่าไม่ได้ อย่าโกรธ อย่างไรๆ ก็ไม่มีแน่นอน ไปบอกใครว่า อย่าโกรธนะ แต่ถ้าเราบอกว่า โกรธจะทำร้ายตัวเอง และคนอื่นด้วย ไม่มีผลดีเลย อย่างนั้นก็ใช้ว่า ไม่พึง เพราะรู้ว่าห้ามไม่ได้ แต่ในชีวิตประจำวันก็เหมือนกับในพระไตรปิฎก ถ้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่สมควรจะกระทำ ทำแล้วเป็นโทษ ใช้คำ อย่า ได้ แต่ต้องดู ต้องเป็นผู้ละเอียดที่จะรู้ว่า คำสอนกล่าวว่าอย่างไร เพราะคำสอนชี้โทษในสิ่งที่เป็นโทษ แล้วในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ที่บุคคลนั้นจะไตร่ตรอง แล้วก็เห็นเอง เข้าใจเอง บอกให้นับถือพระพุทธศาสนาได้ไหมคะ แล้วบอกให้ศึกษาธรรมะ ได้ไหมคะ

        อ.คำปั่น เป็นสิ่งที่ควรศึกษา

        ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้เลย บอกเท่าไร ใครฟัง หนังสือให้ไปแล้ว ยังไม่ได้อ่านเลย เทปก็มี วิทยุก็มี รู้ด้วยว่าเวลาไหน วันไหน ก็ไม่ฟัง แล้วอย่างไรละคะ เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งที่จะเห็นได้ว่า แม้คำพูดก็เป็นเรื่องของธรรมะที่ต้องละเอียด ที่ต้องรู้ด้วยว่า ขณะไหนเพื่อประโยชน์อะไร ธรรมดาถ้าไม่ถามก็จะตอบว่า เป็นธรรมะ แต่พอมีเรื่องราวเกิดขึ้นก็ลืมแล้ว เป็นเราแล้ว เรื่องเราทั้งนั้นเลย อย่างบางคนก็ถามว่า ถ้าโกรธเกิดขึ้นจะทำอย่างไร นี่ หรือธรรมะ

        เพราะฉะนั้น ก็เหมือนเตือนให้ไม่ลืมที่จะคิดออกว่า ขณะนั้นควรจะเข้าใจให้ถูกต้องว่า ไม่มีเรา อย่าหาเสียเลยวิธีที่จะไม่โกรธ เพราะมีเหตุที่จะให้โกรธ โกรธก็ต้องเกิดขึ้นด้วย แต่หนทางที่จะไม่ให้มีโลภะ โทสะ โมหะ ต้องตามลำดับขั้น ยังเป็นเราแท้ๆ แล้วจะไม่ให้โกรธได้อย่างไร แต่ถ้ารู้ว่า เป็นธรรมะ ความโกรธจะน้อยลง แต่เพราะรู้ด้วยว่า ขณะนั้นโกรธก็ไม่ใช่เรา

        เพราะฉะนั้น จะขาดความรู้ความเข้าใจว่า เป็นธรรมะไม่ได้

        อ.คำปั่น ท่านอาจารย์กล่าวว่า เมื่อเข้าใจถูกเห็นถูกในความเป็นจริงของธรรมะ ความโกรธก็จะน้อยลง

        ท่านอาจารย์ ถ้าคนที่เราโกรธ เป็นธรรมะที่เกิดดับ โกรธอะไร เสียเวลา ใช่ไหมคะ บังคับไม่ให้ธรรมะนั้นเกิดก็ไม่ได้ ธรรมะนั้นเกิดแล้วก็หมดไป แล้วโกรธอะไร คนที่เราโกรธเขา เป็นธรรมะ หรือเปล่า ขณะนั้นที่ไม่เกิดดับบ้าง แล้วโกรธอะไร

        เพราะฉะนั้น ต้องเป็นปัญญาตามระดับขั้น ที่ไม่หลงลืมด้วย เพราะฉะนั้น การฟังธรรมะบ่อยๆ เพื่อให้ไม่ลืมสิ่งที่เป็นความจริงที่เราเริ่มเข้าใจแล้ว แต่เริ่มเข้าใจแค่นั้นไม่พอ จนกว่าจะมั่นคงจนกระทั่งรู้แจ้งสภาพธรรมะตามความเป็นจริง


    หมายเลข 10307
    31 ธ.ค. 2566