การบรรลุธรรม ..มีอธิบายในไตรปิฎกไหมครับว่ามีอาการอย่างไร

 
praisin
วันที่  13 มี.ค. 2550
หมายเลข  3051
อ่าน  34,455

การบรรลุธรรมมีอธิบายในไตรปิฎกไหมครับว่ามีอาการอย่างไร หรือใครคิดว่าตนเองบรรลุธรรมอธิบายลักษณะอาการให้ทราบด้วยครับว่าเป็นอย่างไร (คือผมคิดว่าผมบรรลุธรรม คือมีความเข้าใจในธรรมนั่นเอง และผมจะอธิบายความเข้าใจของผมตอบแทนเพื่อทดสอบว่ามันใช่หรือไม่)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 14 มี.ค. 2550

การบรรลุธรรมคำนี้ ในพระไตรปิฎก หมายถึง การบรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งคือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ผู้ที่บรรลุเป็นพระอริยบุคคลท่านรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ด้วยโลกุตรปัญญา

แต่ก่อนที่ปัญญาขั้นโลกุตระจะเกิดขึ้น ปัญญาขั้นโลกียะคือ วิปัสสนาญาณต้องเกิดก่อน โดยเริ่มตั้งแต่

๑ นามรูปปริจเฉทญาณ

๒ ปัจจยปริคหญาณ

๓ สัมมสนญาณ

๔ อุทยัพพยญาณ

๕ ภังคญาณ

๖ ภยญาณ

๗ อาทีนวญาณ

๘ นิพพิทาญาณ

๙ มุญจิตุกัมมยตาญาณ

๑๐ ปฏิสังขารญาณ

๑๑ สังขารุเปกขาญาณ

๑๒ อนุโลมญาณ

๑๓ โคตรภูญาณ

ต่อจากนั้นเป็น

มรรคญาณ (๑๔) และ ผลญาณ (๑๕)

ปัจจเวกขณญาณ (๑๖)

ผู้ที่ผ่านญาณทั้ง ๑๖ ขั้น เรียกว่า พระอริยบุคคล

พระอริยบุคคล ย่อมไม่มีความสงสัยในคุณธรรมของตนเองที่ได้บรรลุแล้ว เพราะปัจจเวกขณญาณของท่านย่อมพิจารณาทั้งมรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลือ ท่านจึงไม่สงสัย

สรุป คือ ลักษณะของการบรรลุธรรมย่อมมีอย่างนี้ คือ ละกิเลสได้ด้วยปัญญา ถ้าไม่ใช่ปัญญาจะกล่าวว่าเป็นการบรรลุธรรมไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 14 มี.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 14 มี.ค. 2550

ขอถามคุณ praisin 2 ข้อครับ

1. อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้โดยชอบแล้ว คุณ praisin รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงว่าบรรลุธรรม

2. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัส ธาตุ ไว้ ๖ อย่างโดยชอบ ธาตุ ๖ อย่าง คืออะไร คือ ปฐวีธาตุ ๑ อาโปธาตุ ๑ เตโชธาตุ ๑ วาโยธาตุ ๑ อากาสธาตุ ๑ วิญาณธาตุ ๑

ก็คุณ praisin รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงว่าบรรลุธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 14 มี.ค. 2550

การบรรลุธรรมไม่ใช่ขั้นฟัง หรือขั้นเข้าใจ แต่เป็นการประจักษ์แจ้งนามรูปด้วยวิปัสสนาญาณที่ 16 จึงจะชื่อว่า บรรลุธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
praisin
วันที่ 14 มี.ค. 2550

ต้องขออภัยที่ผมพึ่งเข้ามาเห็นหัวข้อที่ตั้งไว้ แต่ไม่มีใครยืนยันว่าตนเองบรรลุธรรม........

การบรรลุธรรมก็คือการไม่สงสัยในเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์นั่นเอง ผมไม่ถนัดที่จะบรรยายแบบหลักการ แต่อธิบายได้ว่ามันเป็นความรู้ความเข้าใจ การเกิดกิเลสคือการที่เราเคยชินในการวางความรู้สึกไว้ที่ระดับหนึ่ง แต่ถ้าเราทำความรู้สึกให้อ่อนโยนลงคือมีความอ่อนน้อมอย่างเป็นปกติ เราจะรู้เมื่อกิเลสจะเกิดมันจะมีการปรุงแต่ง เราจะรู้สึกว่ามันเป็นการพยายามและเราจะต้องใช้อารมณ์ที่หยาบขึ้นจึงจะปรุงแต่งได้ นั่นคือการที่เราหลุดออกไปจากวงจรการปรุงแต่ง

แต่เราก็ควรจะมีอารมณ์แห่งธรรมอยู่ด้วยคือมีธรรมที่สมควรแก่ธรรมนั่นเอง (ผมก็พึ่งได้ศัพธ์นี้จากที่นี่) คือ มีความคิดเห็นที่เหมาะที่ควรที่จะไม่ทำให้ตัวเองเกิดความรู้สึกที่ผิด ดังนั้นการมีอารมณ์แห่งธรรมเกิดขึ้นในใจอยู่เสมอ ความรู้สึกผิดก็จะหมดไป และมีสติในกายความสงสัยก็จะหมดไปเพราะเราได้ตรวจสอบอารมณ์ของเราแล้วนั่นเอง เราจึงรู้สึกได้ว่าเราได้ละเว้นความรู้สึกที่ผิด นำอารมณ์ 3 อย่างนี้มาไว้ในใจอยู่เสมอ (คือ การมีธรรมเกิดขึ้นในจิต, การมีความอ่อนน้อมหรืออ่อนโยนต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมและการมีสติในกาย)

ความรู้สึกนี้จะดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พิจารณาธรรมเพราะเราต้องมีอารมณ์หรือมีความรู้สึกอย่างนี้เป็นปกติ หรืออย่างน้อยเราก้มีความอ่อนน้อมเกิดขึ้นภายในอยู่เสมอก็จะทำให้เราละเว้นการปรุงแต่งเป็นกิเลสได้ เพราะการปรุงแต่งเป็นกิเลสเราต้องใช้อารมณ์ที่หยาบกว่าจึงจะเกิดขึ้นได้ และการมีธรรมเกิดขึ้นใจจิตอยู่เสมอนั้นในบางอารมณ์เราจะรู้สึกว่ากายของเราคือธรรม มีความเป็นธรรมปรากฎอยู่ไม่ใช่ตัวเรา เราจะรู้สึกว่าจะไหว้ตัวเองได้ด้วยซ้ำเพราะสิ่งที่ปรากฎอยู่คือธรรมไม่ใช่ตัวเรา เพราะตัวเราคือการปรุงแต่งแบบจิตหยาบอยู่เท่านั้น..

ขออธิบายเพียงเท่านี้ เพราะคิดว่าชัดเจนพอสมควร ถ้าสงสัยจะสอบถามเพิ่มเติม ให้ E-mail ไปที่ amarasin@hotmail.com

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
kchat
วันที่ 15 มี.ค. 2550

การบรรลุธรรมเป็นการละกิเลส ความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ตามลำดับขั้น เริ่มจากการละความเห็นผิด ความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล ก่อน ผู้บรรลุธรรมคงไม่มีอาการอะไรปรากฏให้ใครๆ รู้ได้ และคงไม่มีการประกาศให้ใครรู้ เพราะรู้ได้เฉพาะตน แต่สามารถแสดงหนทางให้บุคคลอื่นรู้ได้ ดังเช่นที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้แล้ว เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัททผู้เคารพพระธรรม ต้องศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบและอดทน ก็จะสามารถรู้ตามได้

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
praisin
วันที่ 15 มี.ค. 2550

การบรรลุธรรมเป็นความเข้าใจครับเราสามารถที่จะถ่ายทอดให้ผู้อื่นรู้ได้ แต่เขาจะเข้าใจได้ทันทีหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งก็ต้องลองไปทดสอบดู เพราะความทุกข์เกิดจากการยึดติดเท่านั้น

หรือจะลองพิจารณาสั้นๆ ว่า "ถ้ามีธรรมในจิตทุกข์จักไม่เกิด" เราจะศึกษาธรรมไม่จบถ้าจิตไม่มีธรรมอยู่ในใจ (แต่ธรรมในที่นี่คืออะไรคิดว่าชาวพุทธคงพอนึกออกว่าจิตมีธรรมจะเป็นอย่างไร)

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Guest
วันที่ 15 มี.ค. 2550

ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนว่า ธรรมะ คืออะไร จิตคืออะไร และทุกข์คืออะไร ต่างจากที่เราคิดเองอย่างไรรายละเอียดมีกล่าวไว้ใน หนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป ขอรับได้จากมูลนิธิ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
praisin
วันที่ 15 มี.ค. 2550

ขอบคุณครับตอนนี้กำลังศึกษาอภิธรรมในเว็บอยู่.......อยากได้ครับเมื่อมีโอกาสจะไปขอรับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 16 มี.ค. 2550

ตกลงว่ายังไม่ได้บรรลุธรรมนะครับ ศึกษาก่อนนะครับ

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
praisin
วันที่ 16 มี.ค. 2550

น้อมรับตามที่แต่ละคนเข้าใจครับ เพราะผมก็อธิบายตามที่ผมเข้าใจเท่านั้น ก็กำลังเข้ามาศึกษานี่แหละครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Guest
วันที่ 16 มี.ค. 2550

การฟังเป็นเหตุให้เจริญปัญญา

เชิญคลิกอ่าน...

การฟังเป็นเหตุให้เจริญปัญญา [มหาจุนทเถรคาถา]

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ต.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ