เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 
พุทธรักษา
วันที่  1 ก.ย. 2551
หมายเลข  9723
อ่าน  1,175

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ ๑๓๑ บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
บางท่าน เวลาที่ ระลึกรู้รูป เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ทางกาย

ท่านบอกว่า ไม่ได้ ระลึกรู้ "นามทางกาย" เลยเวลาที่ระลึกรู้ที่กายทีไร ก็ระลึกรู้แต่ลักษณะของรูปที่อ่อนบ้าง เย็นบ้าง ร้อนบ้าง เท่านั้นเองไม่ได้ระลึก รู้ลักษณะของ "นาม" ที่รู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ความไม่รู้ มีมากความสงสัยในลักษณะของนาม ของรูป มีมากแล้วก็การที่ยึดถือในนาม ในรูปนั้น ก็ยังอีกมากมายนักสติจะต้องระลึกรู้ โดยที่ข้ามไม่ได้

เพราะฉะนั้น เวลาที่จะระลึกรู้ "ลักษณะของสราคจิต" สราคจิต คือ โลภมูลจิตจะเห็นว่าตรงกับที่พระผู้มีพระภาคฯ ได้ทรงแสดงไว้โดยขั้นของปริยัติเพราะเหตุว่า ตลอดเวลาในวันหนึ่งๆ ตั้งแต่ตื่นนอนถ้าไม่ใช่เป็นไปในเรื่องของกุศล ก็ต้องมีสราคจิต คือ โลภมูลจิต.
โลภมูลจิต เกิดมาก เกิดบ่อยแล้วก็มีอกุศลจิตประเภทอื่นๆ เกิดด้วยแต่ทำไม สติไม่ค่อยจะระลึกถึง "ลักษณะของความต้องการ"สติไม่ระลึกถึง "ลักษณะของจิต" ที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้กายไหวไปกระทำสิ่งนั้นบ้าง กระทำสิ่งนี้บ้าง ระลึกยาก ใช่ไหม เคยระลึกบ้างไหม

เพราะฉะนั้น ที่จะระลึกได้ว่า สภาพนี้เป็นอกุศลจิตเป็นอกุศลจิตชนิดหนึ่ง เป็นนามธรรมชนิดหนึ่งเกิดขึ้นเพราะมีความต้องการเกิดร่วมด้วย การที่จะระลึกรู้ในขั้นต้นคือ ทราบว่าปกติธรรมดา ในวันหนึ่งๆ มีอกุศลจิตเกิด ตั้งหลายชนิด เช่น โลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต ผู้เจริญสติจะทราบได้อย่างไรว่า ขณะนั้นจิตกำลังเป็นสราคจิตหรือกำลังเป็น โลภมูลจิตหรือกำลังเป็นโมหมูลจิตที่จะรู้ได้ ก็สังเกตได้จาก "ลักษณะของเวทนา"เวทนา คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น ในขณะที่กำลังเห็นหรือกำลังได้ยินแล้วมีความปิติ ความโสมนัส ความดีใจหรือกำลังชอบมากๆ ขณะนั้น ก็เป็น โสมนัสฺสสหคตํ ที่เป็นโลภมูลจิต

ในเรื่องของ "เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ได้เคยกล่าวถึงแล้วว่า เวลาที่สุขเวทนาเกิดขึ้นสติก็ระลึกรู้ว่า เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ตัวตนเป็นเรื่องของ "เวทนา" ไม่ใช่เรื่องของ "จิต"

ผู้ที่จะระลึกรู้ลักษณะของจิต เวลาเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเช่น เวลาไปซื้อของแล้วเกิดความชอบ ความพอใจอย่างยิ่งในขณะนั้น เป็นสราคจิต สติก็ระลึกรู้ได้หรือว่าเป็นเวลา รับประทานอาหาร เกิดความรู้สึกว่าอร่อย แล้วก็ชอบมากขึ้นในขณะนั้น สติก็ระลึกรู้ได้ ว่าลักษณะนั้นเป็นสราคจิตหรือโลภมูลจิต นั่นเองเป็นปกติธรรมดา ในชีวิตประจำวัน

แต่ผู้เจริญสติ จะต้องเป็นผู้ที่ละเอียดขึ้น การเริ่มระลึกรู้ลักษณะของจิต คือถ้าลักษณะของจิตนั้นเป็นลักษณะของจิตที่ประกอบด้วยความปิติ ความโสมนัส ขณะนั้นเป็น โลภมูลจิต ที่ประกอบไปกับโสมนัส (เวทนาเจตสิก) บาลี ใช้คำว่า "โสมนัสฺสสหคตํ" เพราะฉะนั้น เวลาที่สติเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นในขณะที่สิ่งนั้นๆ (จิตและเจตสิกนั้นๆ) กำลังเกิด กำลังเป็นไป ตามปกติในชีวิตประจำวันแล้วสติก็เริ่มระลึกรู้ ลักษณะของสภาพจิต (ละเอียดขึ้นละเอียดขึ้น)

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่ และสรรพสัตว์


.

ท่านที่เคยเรียกร้อง ขอความเป็นธรรม โดยต้องการให้ทุกคน มีความเสมอภาคโปรดพิจารณาดูเถิด ว่า จะเป็นไปได้อย่างไรในเมื่อทุกๆ คน ต่างก็มิได้ทำกรรมไว้เสมอกัน

บุญและบาป เป็นของมีอยู่จริงและให้ผลได้จริงชีวิตที่ดำเนินไป มีความสุข มีความทุกข์ ต่างๆ กันไปได้ประสบกับสิ่งที่ต่างๆ กันอยู่ทุกวันนี้ เกิดจากการกระทำของตนเองเท่านั้น

ไม่มีสิ่งใด มาลิขิตชีวิตให้เป็นไปเพราะสิงที่เรียกว่า "ชีวิตของเรา"นั้น ทั้งในอดีต ปัจุบันและอนาคตถูกลิขิตด้วยธรรมชาติอันหนึ่งคือ "กรรม" คือเจตนา คือการกระทำ ที่ได้กระทำแล้ว ผู้ที่จะเสมอภาคกันได้นั้นได้แก่ผู้ที่ไม่ต้องเกิดมา รับสุข รับทุกข์ ในโลก (ธรรม) อีกผู้นั้น คือพระอรหันต์ผู้ปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ดับขันธปรินิพพาน) พวกเดียวเท่านั้น

(ข้อความจาก คณะสหายธรรม)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 1 ก.ย. 2551

ผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน จะทำให้กุศลอื่นๆ เจริญขึ้นทุกประการค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 1 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prakaimuk.k
วันที่ 2 ก.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ...
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณ
วันที่ 2 ก.ย. 2551

ขอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 2 ก.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 2 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pamali
วันที่ 20 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
hadezz
วันที่ 23 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เข้าใจ
วันที่ 5 มี.ค. 2556

ธรรมะเป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้นจริงๆ ครับ

ขอขอบพระคุณ และกราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ