ได้ยินแล้วคิด_2

 
Khaeota
วันที่  22 ส.ค. 2551
หมายเลข  9647
อ่าน  1,148

ได้ยิน ท่าน อ สุจินต์ แสดงอยู่บ่อยๆ

" อาจหาญร่าเริง "

ได้ยินแล้วคิด

อย่างไร...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ปริศนา
วันที่ 23 ส.ค. 2551

ไม่พัก...ไม่เพียร.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 23 ส.ค. 2551

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เป็นสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่ปรากฏเป็นไปในชีวิตประจำวัน การที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมนั้น ก็เพื่อให้พุทธบริษัทมีความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ไม่เข้าใจผิด ไม่หลงผิดไปยึดถือในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่าเป็นเรา เป็นตัวตน เป็นสัตว์เป็นบุคคล เพราะแท้ที่จริงแล้ว สภาพธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมีความอาจหาญ มีความเพียร มีความตั้งใจที่จะศึกษา ที่จะฟังพระธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ พิจารณา ไตร่ตรองตามเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งๆ ขึ้นไป จากความไม่รู้ก็จะค่อยๆ รู้ขึ้นไปตามลำดับ เมื่อมีความเข้าใจก็จะมีความเบิกบาน ผ่องใส ตามกำลังของความเข้าใจ ไม่เดือดร้อน เพราะขณะที่เข้าใจนั้นเป็นปัญญา เป็นกุศล ขณะที่กุศลจิตเกิดย่อมร่าเริง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Anutta
วันที่ 23 ส.ค. 2551

อนุโมทนาทั้งคำตอบและคำถามนะคะ ได้ยินบ่อยๆ แต่หลงลืมสติบ่อยกว่าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมกับบุคลให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ดังนั้นคำว่าอาจหาญ ร่าเริงในพระไตรปิฎกแสดงไว้ว่า (อิติวุตตกะ หน้า ๖๖๐)

(อาจหาญ) บทว่า สมุตฺเตชกา ความว่า ทำจิตของบุคคลทั้งหลายผู้ดำรงอยู่ในกุศลธรรมอย่างนี้ให้อาจหาญด้วยดี ด้วยการแนะนำในการบำเพ็ญอธิจิตขั้นสูงขึ้นไป คือทำจิตของเขาให้ผ่องใสด้วยการพิจารณา โดยประการที่เขาจะบรรลุคุณวิเศษได้ อาจหาญเพราะบุคคลนั้นฟังคำสอนแล้ว เกิดจิตผ่องใสอันเนื่องมาจากปัญญาเกิดและเข้าใจว่าสามารถไปถึงการบรรลุได้ด้วยหนทางนี้คือเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ในชีวิตประจำวัน ไม่มีหนทางอื่นและอาจหาญว่าเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การดับกิเลสด้วยการเจริญขึ้นของปัญญา เมื่อเข้าใจหนทางก็ย่อมอาจหาญที่จะไปสู่หนทางนั้น ไม่ท้อถอย อดทนที่จะฟังพระธรรมต่อไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2551

(ร่าเริง) บทว่า สมฺปหสกา ความว่า ทำจิตของบุคคลเหล่าอื่นนั้นให้ร่าเริงด้วยดี ด้วยคุณวิเศษตามที่ได้แล้ว และที่จะพึงได้ในขั้นสูง คือ ทำจิตของเขาให้ยินดีด้วยดี ด้วยอำนาจความพอใจที่ได้แล้ว. ร่าเริงเพราะได้ฟังธรรมแล้วเกิดความเข้าใจถูก หรือขณะที่สติปัฏฐานเกิด รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนั้น ซึ่งทำให้เกิดความยินดี ร่าเริง และรู้ว่าหนทางนี้ถูก สามารถนำไปสู่การดับกิเลสได้ จึงร่าเริงเพราะเข้าใจพระธรรมในขณะจิตนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2551

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของปัญญาเมื่อปัญญาเกิดเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เมื่อรู้ความจริง ย่อมอาจหาญ ร่าเริงเพราะรู้ความจริง อาจหาญที่จะอบรมเจริญปัญญาต่อไป ร่าเริงเพราะเข้าใจถูกในความจริงของสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขอให้ทุกท่านอาจหาญ ร่าเริงกับหนทางนี้คือการเข้าใจความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราในชีวิตประจำวัน (เมื่อปัญญาเกิด) ขออนุโมทนาครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 24 ส.ค. 2551

คำว่า " ให้อาจหาญ " คือให้เกิดความอุตสาหะในการรู้สภาพธรรมถูกต้องยิ่งๆ ขึ้น การที่จะเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้นั้นไม่ใช่จะเป็นไปได้ง่ายๆ และรวดเร็วแต่พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้นเพื่อให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้เกิดความเพียรที่จะพิจารณาจนกว่าจะเข้าใจ จนกว่าสติจะเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมจนกว่าจะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎตามปรกติตามความเป็นจริงคำว่า " ร่าเริง " คือให้ผ่องใส ให้รุ่งเรือง ด้วยคุณที่ตนแทงตลอดแล้ว ฉะนั้น เมื่ออบรมเจริญสติปัฎฐาน ก็จะเข้าใจถึงความหมายของคำว่า ให้ร่าเริง คือให้ผ่องใสและให้รุ่งเรืองด้วยคุณที่ตนแทงตลอดแล้ว คือสามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เพราะฉะนั้น การที่จะละคลายสภาพธรรมว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ต้องเป็นปัญญาที่พิจารณา ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฎตามปรกติในชีวิตประจำวัน อาจหาญร่าเริงที่จะรู้ความจริงว่าสิ่งที่ปรากฎนั้นเป็นเพียง รูปธรรม และ นามธรรมเท่านั้น แม้แต่กุศลจิต อกุศลจิตที่เกิดขึ้นก็เป็นเพียงสภาพธรรมเท่านั้น จนกว่าจะไถ่ถอนการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้ นี่คือการที่สติปัฎฐานจะค่อยๆ เกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎในชีวิตประจำวัน

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
prakaimuk.k
วันที่ 24 ส.ค. 2551

เมื่อมีความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมต่างๆ ก็มีความ "อาจหาญ" ที่จะดำเนินชีวิตอยู่อย่างถูกต้อง ด้วยการเจริญสติปัญญา เจริญกุศล และประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ต่อไป เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นจนกว่าปัญญาจะประจักษ์แจ้งตามความเป็นจริง....

ซึ่งจะเกื้อกูลให้มีความ"อาจหาญ" ที่จะเป็นผู้ตรงต่อตัวเองว่าเป็นผู้มีทั้งกุศลหรืออกุศลมากกว่ากัน มีความ "อาจหาญ" ที่จะไม่นำชีวิตให้ถูกชักจูงไปในอกุศลต่างๆ ตามความนิยมของสังคมและสภาพแวดล้อม มีความ "อาจหาญ" ที่จะหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้มีความเห็นผิดและอส้ตบุรุษทั้งหลาย มีความ "อาจหาญ" ที่จะรับฟังคำแนะนำของกัลญาณมิตรทั้งหลาย และ "อาจหาญ" ที่จะเป็นกัลญาณมิตรแก่บุคคลอื่นด้วยตามเหตุตามปัจจัย.....

เมื่อจิตเป็นกุศล ก็ทำให้ "ร่าเริง" เพราะจิตผ่องใสจากอกุศลธรรมต่างๆ ทำให้ "ร่าเริง" เพราะได้รับคุณค่าและประโยชน์จากความเข้าใจสภาพธรรมในขั้นต่างๆ

ทั้งนี้ความ "อาจหาญร่าเริง" ก็คือสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยโสภณเจตสิกประเภทต่างๆ เป็นปัจจัยให้เกิดความเพียรพิจารณาให้เข้าใจสภาพความเป็นจริงโดยไม่หวั่นไหวกับอารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบทั้งภายนอกและภายใน

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 24 ส.ค. 2551

คนที่มีปัญญา ฟังธรรมเข้าใจ ขณะนั้นชื่อว่าอาจหาญร่าเริง ขณะที่สติปัฏฐานเกิดชื่อว่าอาจหาญร่าเริง ส่วนคำว่าได้ยินแล้วคิดก็เป็นธรรมดาของจิต ถ้าไม่คิดก็ไม่ได้ แม้แต่พระอริยบุคคลจนถึงพระอรหันต์ได้ยินแล้วก็คิดเหมือนกัน แต่ต่างกันที่จิตของพระอรหันต์ท่านไม่เป็นกุศล อกุศล แต่ปุถุชนได้ยินแล้วคิดเป็นกุศลหรืออกุศลเท่านั้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 24 ส.ค. 2551
อ่านดีทุกความคิดเห็นเลยครับ ทำให้เข้าใจขึ้น อนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Khaeota
วันที่ 24 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาทุกๆ ท่านที่ให้ความกระจ่างค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Komsan
วันที่ 24 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
pornpaon
วันที่ 24 ส.ค. 2551

คิดว่า เข้าใจธรรมะ เท่าไรก็เท่านั้น ไม่ควรเสียใจ การมีโอกาสได้ฟังและเข้าใจแม้น้อยนิดก็ควรยินดีร่าเริงในธรรมนั้น เพื่อความไม่เป็นผู้ย่อหย่อนท้อถอยในการฟังธรรมต่อไป ต่อๆ ไป

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Pararawee
วันที่ 24 ส.ค. 2551
ร่าเริงค่ะ...........ร่าเริงด้วยกุศลจิตค่ะ อนุโมทนา :)
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Noparat
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ajarnkruo
วันที่ 25 ส.ค. 2551

อาจหาญ ร่าเริง ไม่ใช่เพียงฟังแล้วให้เราไปคิดว่า จะเป็นตัวเราที่อาจหาญ ร่าเริงแต่ความจริง คือ เมื่อใดที่ปัญญาเกิด โสภณธรรมอื่นๆ ก็เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่หวั่นไหวเกิดความแกล้วกล้า มุ่งมั่น โสมนัสยินดี เบิกบาน ผ่องแผ้ว ที่ได้รู้ความจริงของธรรมะตรงตามพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 26 ส.ค. 2551

อนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
petcharath
วันที่ 27 ส.ค. 2551

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
pannipa.v
วันที่ 2 ก.ย. 2551

"อาจหาญ ร่าเริง"

ตอนนี้ คิดถึง.... คุณ บุษบงรำไพ พึงบุญ ณ อยุธยา พลวัฒน์

เธออาจหาญ ร่าเริง ด้วยความเข้าใจในพระธรรมจริงๆ

อนุโมทนา..ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
natnicha
วันที่ 2 ก.ย. 2551

คำว่า "ไม่เพียร" จากคำว่า "ไม่พัก ไม่เพียร" มีความหมายอย่างไรคะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
ปริศนา
วันที่ 2 ก.ย. 2551

คำนี้ความหมายถึงการอบรมเจริญสติปัฏฐานหมายถึง ทางสายกลางหมายถึง มรรคมีองค์ ๘.
ข้อความโดยละเอียดจากพระพุทธพจน์มีอยู่ในพระไตรปิฏก.
ขอความกรุณาสหายธรรมท่านอื่นเกื้อกูลด้วยนะคะ.

..........................อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
suwit02
วันที่ 3 ก.ย. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ ๒๐ โดย natnicha

คำว่า "ไม่เพียร" จากคำว่า "ไม่พัก ไม่เพียร" มีความหมายอย่างไรคะ

ขออนุโมทนาค่ะ

คำคู่นี้มาจาก.. โอฆตรณสูตร

คลิกอ่าน .. โอฆตรณสูตร ว่าด้วยการข้ามโอฆะ

ในอรรถกถา (หน้า ๓๗) ได้แสดงความหมายของคำคู่นี้ ไว้หลายนัย ผมขอยกนัยหนึ่งที่เข้าใจได้ง่าย มาแสดงดังต่อไปนี้

อนึ่ง ว่าด้วยกามสุขัลลิกานุโยค เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม.

ว่าด้วยอัตตกิลมถานุโยค เมื่อเพียรชื่อว่า ย่อมลอย.

โดยนัยนี้ ไม่พัก ไม่เพียร คือเดินตามทางสายกลาง อริยมรรค มีองค์แปด

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
ปริศนา
วันที่ 3 ก.ย. 2551

ขอเสริมความเห็นที่ ๒๒ ค่ะที่สุด คือ อันตา ๒ คือข้อปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ผิดพลาดไปจากทางอันถูกต้อง คือ มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางคือ มรรคมีองค์ ๘

การพัก คือ กามสุขัลลิกานุโยค หมายถึงการหมกมุ่นอยู่ในกามสุข.
การเพียร คือ อัตตกิลมถานุโยค หมายถึงการประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง บีบคั้นตนเองให้เดือดร้อน.
การพัก และการเพียร จึงไม่ใช่ทางสายกลาง คือทางพ้นทุกข์ (มรรคมีองค์ ๘) โดยนัยนี้ค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
เมตตา
วันที่ 4 ก.ย. 2551

ไม่พัก ไม่เพียร คือเดินตามทางสายกลาง อริยมรรค มีองค์แปด จึงจะข้ามโอฆะได้

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

ขออนุโมทนาคุณ suwit 02 และ คุณปริศนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
natnicha
วันที่ 4 ก.ย. 2551

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนากับคำตอบของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ