การฝึกสติ

 
kol2806
วันที่  30 ก.ค. 2551
หมายเลข  9415
อ่าน  2,035

ไม่ทราบว่าผม เข้าใจผิดถูกอย่างไรกรุณาบอกด้วยครับ ที่กล่าวว่าสติเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ไม่สามารถบังคับบัญชาได้นั้น แล้วเราจะฝึกให้มีกำลังหรือเกิดขึ้นบ่อยๆ ได้อย่างไรครับ

ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 30 ก.ค. 2551
ฝึกได้ด้วยการอบรมตั้งแต่การฟังให้เข้าใจ ขณะที่ฟังเข้าใจ สติก็เกิดขึ้นกระทำกิจเมื่อสะสมความเข้าใจมากขึ้น บ่อยขึ้น สติย่อมเกิดบ่อยและมีกำลังมากขึ้นตามความเข้าใจ เมื่อสติเกิดบ่อย สติและสัมปชัญญะย่อมศึกษาสภาพธรรม คือ ค่อยๆ รู้ตามเป็นจริงมากยิ่งขึ้น สติและปัญญาย่อมเจริญและมีกำลังเป็นลำดับอย่างนี้แลที่สำคัญคือไม่ใช่ตัวเราฝึกสติ แ ต่สติเกิดเพราะมีปัจจัย ดังนั้นการฟัง การศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ชื่อว่า การอบรมสติและปัญญา ซึ่งย่อมรวมถึงอินทรีย์อื่นๆ มี ศรัทธา วิริยะ สมาธิ ก็ย่อมฝึกเป็นไปตามลำดับด้วยอาการอย่างนี้
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 ก.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ที่สำคัญต้องเข้าใจว่าสติคืออะไร สติคือธรรมฝ่ายดี เกิดกับจิตที่เป็นกุศลทุกประเภท รวมทั้งเกิดกับวิบากจิตและกิริยาจิตบางประเภท แต่เมื่อพูดถึงสติที่หมายถึงการเจริญ วิปัสสนานั้น ต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วยและควรเข้าใจว่า สติและปัญญาที่เป็นไปในการ เจริญวิปัสสนานั้นคือเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ คือ สติระลึกสภาพ ธรรมที่มีในขณะนี้ ปัญญารู้ตามความเป็นจริงในขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แต่สติ และปัญญาเป็นธรรมและเป็นอนัตตา ต้องมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น ดังนั้นต้องอบรมเหตุที่ ถูกต้อง คือฟังให้เข้าใจก่อน ว่าธรรมคืออะไร เพราะถ้าไม่เข้าใจว่าธรรมคืออะไร สติและ ปัญญาก็ไม่มีทางเกิดได้เลยเพราะไม่มีปัญญาขั้นการฟังที่รู้ว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริงในขณะ นี้ ก็ไม่เป็นเหตุปัจจัยให้สติและปัญญาเกิด เพราะสติและปัญญาเกิดก็รู้ความจริงที่มีใน ขณะนี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 ก.ค. 2551

ดังนั้นจึงไม่มีตัวตนที่จะพยายามไปฝึกสติและที่สำคัญถ้าอบรมเหตุผิด เช่น ไปนั่ง สมาธิ ไปจดจ้องสภาพธรรมที่เกิดขึ้น เป็นโลภะ ไม่ใช่สติ นั่นไม่ใช่เหตุปัจจัยให้สติเกิด เลยครับ ดังนั้นต้องเริ่มจากเหตุที่ถูกต้อง คือฟังให้เข้าใจก่อนว่าธรรมคืออะไร ขณะที่ฟัง เข้าใจ แม้ในขณะนี้ที่อ่านนี้ก็ตาม ขณะนั้นแม้จะไม่เรียกชื่อว่ากำลังฝึกสติ แต่ก็เป็น การอบรมเหตุที่ถูกต้องที่เป็นปัจจัยให้สติและปัญญาเกิด นั่นคือสังขารขันธ์ทำหน้าที่ ปรุงแต่งเอง ขณะที่เข้าใจ ไม่มีตัวตนไปพยายามฝึกสติ เพราะขณะที่ทำ ขณะที่จะพยายาม นั่นไม่ใช่เหตุให้เกิดสติครับ

ขออนุโมทนา ..

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 31 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
oom
วันที่ 31 ก.ค. 2551
ดิฉันก็เคยไปฝึกสติมาเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้ตามต้องการ บางครั้งก็ระลึกได้ บางครั้งก็ไม่ได้ ปัจจุบันเข้าใจเรื่องสติมากขึ้น จึงไม่ได้ไปปฏิบัติตามสำนักต่างๆ แล้ว จะฟังธรรม ศึกษาธรรมะอยู่ในชีวิตปกติ ทำให้เข้าใจมากขึ้น เวลาสติเกิดก็เกิดเองโดยเหตุปัจจัย ไม่ต้องไปจดจ้องจะให้เกิด
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 31 ก.ค. 2551

การฝึก คือ การระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจบ่อยๆ เนืองๆ อนุสติคือเนืองๆ บ่อยๆ สภาพธรรมกำลังปรากฏให้สติระลึกรู้ได้ตลอดเวลาถ้าไม่หลับสนิท

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 31 ก.ค. 2551

ก่อนจะทำอะไรก็ตาม ควรศึกษาให้เข้าใจว่า สิ่งนั้นคืออะไร ศึกษาให้รู้ ให้เข้าใจอย่างชัดเจนก่อนครับเพราะถ้าตั้งต้นผิด ก็ต้องทำผิด ผลก็ต้องผิดตามไปด้วยจะให้ผลจบลงด้วยความถูกต้อง แต่เหตุผิด เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ถ้าเรายังไม่เข้าใจลักษณะของ "สติ" ก็อย่าเพิ่งใจร้อน ควรฟังธรรมะให้เข้าใจในความเป็น "ธรรมะ" ก่อนเพราะถ้าเราข้ามไป ไม่มีความเข้าใจในความเป็นธรรมะจริงๆ เราก็จะเพียงใช้ชื่อเรียกการกระทำนั้นว่าเป็น "การเจริญสติ" แต่ความจริงไม่ได้มี "สติ" เกิดขึ้นเลยสักขณะจิต

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Pararawee
วันที่ 1 ส.ค. 2551

คำตอบตรงจริงๆ ถูกใจมากค่ะ อนุโมนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 1 ส.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ