การอบรมเจริญปัญญา เพื่อละความไม่รู้ ครับ

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  29 ก.ค. 2551
หมายเลข  9414
อ่าน  1,491
ไม่มีใครทำอะไรให้เกิดขึ้นได้ เพราะทุกอย่างเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย

ดังนั้น จึงมีการอบรมเจริญปัญญา เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีอยู่แล้วในขณะนี้จนกระทั่งปัญญาความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น เจริญขึ้น การที่ปัญญาจะเจริญขึ้น สมบูรณ์ขึ้น ก็ย่อมเป็นไปตามลำดับขั้น ไม่ใช่มีตัวตนที่จะไปทำให้ผลสำเร็จขึ้นได้ อีกทั้งยังต้องมีจุดประสงค์ที่แท้จริงของการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ด้วย กล่าวคือ เป็นผู้ที่ตั้งจิตไว้ชอบ

ถ้าจะศึกษาเหมือนวิชาการทางโลกที่มีการสอบวัดผล มีการมอบใบประกาศนียบัตร-หลัง่ศึกษาจบ หรือแม้กระทั่งการศึกษาธรรม เพื่อที่จะเก่ง เพื่อที่จะรู้มากกว่าบุคคลอื่นเพื่อลาภ ยศ สักการะชื่อเสียง นั้น ไม่ใช่จุดประสงค์ที่แท้จริง แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงก็เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง เพื่อขัดเกลากิเลสอกุศล เพื่อละความไม่รู้ ครับ ...ขออนุโมทนาครับ...

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 ก.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

00500 เพื่อสำรวมและเพื่อละกิเลส

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะหลอกลวงชน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์ คือ ลาภ สักการะ ความสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติ ด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติเพื่อการสำรวมและเพื่อการละ.

ปฐมนกุหนาสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 207

ธรรมเตือนใจวันที่ : 26-06-2551

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 30 ก.ค. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ทองหลาง
วันที่ 30 ก.ค. 2551
อยากเข้าใจว่าเมื่อเกิดทุกข์ แม้จะรู้ว่านี่คือทุกข์ แต่ไม่สามารถปลดได้ ทั้งสวดมนต์ภาวนา สมาธิ ก็ไม่อาจจะปลดทุกข์ได้ จะทำอย่างไรดีครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 30 ก.ค. 2551

ศึกษาธรรมะให้เข้าใจก่อน ปัญญาขั้นการฟังยังดับทุกข์ไม่ได้ ต้องอบรมปัญญาให้รู้จัก ทุกข์ว่า คือสภาพธรรมะทีมีจริงในขณะนั้น เกิดแล้วดับแล้วไม่ใช่เราค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 31 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 11 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
มหาแสนดี
วันที่ 5 ก.ย. 2553

ตอบคุณทองหลาง

พระพุทธองค์ทรงแนะนำว่า ทุกข์เกิดขึ้น จิตทำหน้าที่กำหนดรู้ ไม่ใช่ไห้มานั่งทุกข์ สมุทัยเกิดขึ้น จิตทำหน้าที่กำหนดละ ไม่ใช่ไปยินดียินร้ายกับมัน นิโรธก็จะปรากฏกับจิต เพราะเดินตามทางสายกลาง

1. ทุกข์ เป็นสภาวะที่ทนได้ยาก

2. สุข เป็นสภาวะที่ทนได้ง่าย

ฉะนั้นสองข้อนี้จัดเป็นตัวตัณหาใช่หรือไม่? ถ้าตอบว่าใช่ ทำไม่ถึงต่างกัน? ถ้าตอบว่าไม่ใช่ ทำไม่จึงต้องทนเหมือนกัน?

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ