ปิยรูปสาตรูป

 
พุทธรักษา
วันที่  9 ก.ค. 2551
หมายเลข  9187
อ่าน  7,671
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ข้อความบางตอน จากบทสนทนาธรรมออกอากาศที่สถานีวิทยุยายเกราะ ๗๘๕ พ.ศ. ๒๕๑๐ โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ คำว่า ปิยรูปสาตรูป ไม่ได้หมายเฉพาะรูปเท่านั้น แต่หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นที่รัก ที่พอใจทั้งนามธรรมและรูปธรรม เวลาที่ต้องการเห็น ได้ยิน หรืออยากมีความเป็นสุขและอะไรๆ ก็ตามค่ะ ที่เป็นที่รักที่พอใจไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมทุกอย่างที่เป็นที่ยินดีพอใจนั้นก็เป็น "ปิยรูปสาตรูป" คำว่ารูป ในพระพุทธศาสนา บางครั้งหมายถึง รูปทั้งหมด ๒๘ รูป และบางครั้งหมายเฉพาะ รูปสีเพียงรูปเดียว และในบางครั้งก็หมายรวม รูปธรรมและนามธรรม เช่น คำว่า "ปิยรูปสาตรูป"

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 9 ก.ค. 2551

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๖๗๒

[๔๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นามรูปที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นามรูปนี้เป็นของจริง พระอริยเจ้าทั้งหลาย เห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นามรูปนั่นเป็นของเท็จ นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนิพพาน ที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นิพพานนี้เป็นของเท็จพระอริยเจ้าทั้งหลาย เห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า นิพพานนั้นเป็นของจริง นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนื่องๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ท่านผู้มีความสำคัญในนามรูป อันเป็นของมิใช่ตน ว่าเป็นตน จงดูโลกพร้อมทั้งเทวโลก ผู้ยึดมั่นแล้วในนามรูป ซึ่งสำคัญ นามรูปนี้ว่า เป็นของจริง

ก็ชนทั้งหลายย่อมสำคัญ (นามรูป) ด้วยอาการใดๆ นามรูปนั้น ย่อมเป็นอย่างอื่นไปจากอาการที่เขาสำคัญนั้น นามรูปของผู้นั้นแล เป็นของเท็จ เพราะนามรูป มีความสูญสิ้นไป เป็นธรรมดา

นิพพาน มีความไม่สูญสิ้นไป เป็นธรรมดา พระอริยเจ้าทั้งหลาย รู้นิพพานนั้น โดยความเป็นจริง พระอริยเจ้าเหล่านั้นแล เป็นผู้หายหิวดับรอบแล้ว เพราะตรัสรู้ของจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 9 ก.ค. 2551

บุคคลมีรักร้อย ก็ทุกข์ร้อย ยิ่งมีสิ่งเป็นที่รักมากก็ทุกข์มาก ถ้ามีปัญญาไม่ยึดมั่นถือมั่นก็ไม่ทุกข์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 9 ก.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prakaimuk.k
วันที่ 10 ก.ค. 2551

สุปปวาสาสูตรที่ ๘

ทุกข์อันไม่น่ายินดี ย่อมครอบงำผู้ประมาท โดยความเป็นของน่ายินดี ทุกข์อันไม่น่ารักย่อมครอบงำคนผู้ประมาท โดยความเป็นของน่ารัก ทุกข์ย่อมครอบงำผู้ประมาท โดยความเป็นสุข

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 10 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
lichinda
วันที่ 10 ก.ค. 2551

อีกอย่างหนึ่ง ที่ตรัสว่า สติปัฏฐานมี ๔ ก็เพื่อละเสียซึ่งวิปัลลาสความสำคัญผิดว่างาม สุข เที่ยง และเป็นตัวตน.

แท้จริงกายเป็นอสุภะ ไม่งาม แต่สัตว์ทั้งหลายก็ยังสำคัญว่างามในกายนั้น
ด้วยทรงแสดงความไม่งามในกายนั้นแก่สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสสติปัฏฐานข้อที่ ๑ เพื่อละวิปัลลาสนั้นเสีย. และในเวทนาเป็นต้น ที่สัตว์ยึดถือว่าสุข เที่ยง เป็นตัวตน เวทนาก็เป็นทุกข์ จิตไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

([เล่มที่ 2] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๗๙)

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ตุลา
วันที่ 10 ก.ค. 2551

ได้ทราบในทุกขธรรมสูตร เมื่อวันเสาร์ที่ ๕ ก.ค. ๕๑ ที่ผ่านมาว่า ปิยรูปสาตรูป หมายถึง สภาพธรรมที่น่ารักน่าใคร่ น่าพอใจ เป็นทั้งรูปธรรม และนามธรรม อันเป็นที่ตั้งของตัณหาค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ajarnkruo
วันที่ 10 ก.ค. 2551

จิตมีราคะ ก็รู้ชัด (ด้วยปัญญา) ว่าจิตมีราคะ พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงตรัสไว้ว่า ให้ใครมีตัวตนไปละราคะที่กำลังเกิดแต่ทรงแสดงพระธรรมเพื่อให้สาวกเกิดปัญญา ความเห็นถูกจริงๆ ในราคะ หรือตัณหาที่กำลังพึงพอใจอย่างยิ่งในปิยรูปสาตรูปอันเป็นที่น่ารัก น่าใคร่ ที่กำลังปรากฏว่าความจริงแล้ว ก็ไม่พ้นไปจากความเป็นธรรมะอย่างหนึ่งเท่านั้นจริงๆ

...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เมตตา
วันที่ 10 ก.ค. 2551

เพิ่งจะได้เข้าใจจริงๆ ว่า ปิยรูป สาตรูป ไม่ได้หมายเฉพาะรูปเท่านั้น แต่หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นที่รัก ที่พอใจ ทั้งนามธรรมและรูปธรรม

ขออนุโมทนาคุณพุทธรักษาค่ะ

ขอกราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pornpaon
วันที่ 11 ก.ค. 2551

ถ้าไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนเช่นนี้จากท่านอาจารย์ หากอ่านเฉพาะคำศัพท์คงเข้าใจผิดไปไกลเพิ่งรู้เพิ่งเข้าใจความหมายเช่นกัน

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pamali
วันที่ 23 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
สิริพรรณ
วันที่ 27 ม.ค. 2563

กราบนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๘๕-๒๘๗

ทุกขสมุทยอริยสัจ [๑๕๘ ] ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดีเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา [๑๕๙] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิด ย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้ ก็อะไร เป็นปิยรูปสาตรูป ในโลก จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่มโนนี้. รูป เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้ง อยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมารมณ์เป็นปิยสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมารมณ์นี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นี้ จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่มโนวิญญาณนี้ จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้ จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนาฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้. รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฎฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้. รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหาฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหาเมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมตัณหานี้

รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิดย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ โผฎฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้

รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้

สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.
ถ้าไม่มีคำจริงที่พระสัมมสัมพุทธเจ้าทรงแสดง สัตว์โลกผู้มืดบอดก็ไม่มีวันทราบเลยว่า ตัณหาพอใจในทุกอย่าง ทั้งสภาพที่ไม่รู้อะไร และสภาพรู้
นึกถึงคำท่านอาจารย์สุจินต์ว่า โลภะติดทุกอย่างยกเว้นโลกุตรธรรม เตือนใจให้ไม่ประมาทว่า ยากเพียงใดที่จะละตัณหาได้ ดังนั้น การศึกษาพระธรรมที่ตรงตามที่ทรงแสดงจากมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา เป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ทำให้เข้าใจหนทางละกิเลสที่ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นว่า สิ่งที่ควรละจนดับไม่เหลือประการแรก คือดับความเห็นผิดว่า สภาพธรรมทั้งหลายเป็นสัตว์บุคคล จึงจะค่อยๆ ละตัณหาได้ตามกำลังความเข้าใจ

เริ่มต้นด้วยการฟังให้เข้าใจธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เดี๋ยวนี้

กราบแทบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง
กราบอนุโมทนาขอบพระคุณวิทยากร เจ้าหน้าที่ มูลนิธิ ฯ และสมาชิกชมรมบ้านธัมมะ ที่ร่วมเผยแพร่พระธรรมด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 25 มี.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Kalaya
วันที่ 13 ส.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ