คลุกคลี และ เรา

 
คุณสงสัย
วันที่  3 ก.ค. 2551
หมายเลข  9123
อ่าน  1,256

1. พระพุทธองค์ไม่ทรงสรรเสริญการคลุกคลีในการงานที่เป็นไปเพื่ออกุศล แต่ทรงสรรเสริญการสมาคมที่เป็นไปเพื่อการเจริญปัญญา เช่น การฟังธรรม การแสดงธรรม การสนทนาธรรมตามกาลใช่หรือไม่ แล้วจะเรียกการสมาคมเช่นนี้ ว่าการคลุกคลีด้วยได้หรือไม่ เพราะความหมายของคลุกคลีค่อนข้างเป็นไปในทางที่เป็นอกุศลมากกว่าที่จะเป็นกุศล

2. การสนทนาธรรม ถ้าสนทนาพระอภิธรรม ควรเลี่ยงการใช้คำว่า "เรา" หรือไม่ เพราะจะได้รับคำตอบเสมอว่า "ไม่มีเรา" ซึ่งความจริงก็คือไม่มีเราจริงๆ ที่เป็นอย่างนี้ จะเป็นเพราะความคุ้นเคยที่จำได้ว่ามีเราใช่หรือไม่ รวมทั้งการพูดคุยในชีวิตประจำวัน เราก็ยังต้องใช้คำว่า "เรา" สนทนากันอยู่ ไม่เช่นนั้นก็คงจะดูผิดปกติไป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 3 ก.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ข้อ 1. การฟังธรรม สนทนาธรรมไม่ชื่อว่าคลุกคลี เพราะเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสและอบรมปัญญา ดังนั้น พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญสิ่งที่เป็นอกุศลคือ ความยินดีพอใจที่จะคลุกคลีเป็นหมู่คณะ ซึ่งเป็นอกุศล เป็นโลภะ ดังนั้นจึงสำคัญที่สภาพจิตเป็นสำคัญ แม้พระพุทธเจ้าแม้อยู่ท่ามกลางพระราชา ประชาชนก็ไม่ชื่อว่าคลุกคลี ทรงเป็นผู้อยู่ผู้เดียว เพราะพระองค์ทรงดับกิเลสหมด

เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ ....

สนทนาธรรมไม่ชื่อว่าคลุกคลี

ส่วนการอบรมปัญญานั้นก็มีทั้งเพศบรรพชิตและคฤหัสถ์ เพศบรรพชิตย่อม เป็นเป็นผู้ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้จริงใจในการละกิเลสเป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสทุกทาง ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุใดยินดีในการเป็นหมู่คณะ ยินดีในความ คลุกคลีด้วยจิตที่เป็นอกุศล (โลภะ) ย่อมไม่มีทางได้ความสงบใจและสามารถบรรลุธรรมได้เลย

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ....

ยินดีในความคลุกคลีย่อมไม่บรรลุมรรคผลในเพศบรรพชิต

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 3 ก.ค. 2551

ส่วนเพศคฤหัสถ์ ไม่ใช่เพศที่ละทิ้งสละทุกอย่าง ดังเช่น เพศบรรพชิตจึงเป็นธรรมดาที่ยังมีความยินดีพอใจในการคลุกคลี และก็มีการคลุกคลีกันในทางอกุศล แต่ก็ไม่ได้ละทิ้งการอบรมปัญญา คือ ฟังธรรม สนทนาธรรมซึ่งไม่ชื่อว่าเป็นการคลุกคลีเลย และเข้าใจถูกต้องว่าสามารถอบรมปัญญาได้ในชีวิตประจำวันเพราะธรรมมีจริงอยู่ในชีวิตประจำวัน หากแต่ว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพบปะพูดคุย คลุกคลีกันได้ แต่อันตรายที่สุดคือคลุกคลีกับความเห็นผิด
เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ ....

อันตรายที่สุดคือคลุกคลีกับความเห็นผิด

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 3 ก.ค. 2551

2. การสนทนาธรรม ถ้าสนทนาพระอภิธรรม ควรเลี่ยงการใช้คำว่า "เรา" หรือไม่ เพราะจะได้รับคำตอบเสมอว่า "ไม่มีเรา" ซึ่งความจริงก็คือไม่มีเราจริงๆ ที่เป็นอย่างนี้ จะเป็นเพราะความคุ้นเคยที่จำได้ว่ามีเราใช่หรือไม่ รวมทั้งการพูดคุย ในชีวิตประจำวัน เราก็ยังต้องใช้คำว่า "เรา" สนทนากันอยู่ ไม่เช่นนั้นก็คงจะดู ผิดปกติไป พระพุทธเจ้าไม่ทรงปฏิเสธสมมติบัญญัติทางโลก ทรงแสดงธรรมให้สัตว์ โลกเข้าใจ โดยอาศัยสมมติบัญญัติเพื่อสื่อให้เข้าใจ ผู้ที่เข้าใจพระธรรม ย่อมเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ว่าจะใช้คำสรรพนามหรือสมมติบัญญัติใดก็ตาม แต่ที่พูดสรรพนามแทนสภาพธรรมนั้นก็เพื่อให้เข้าใจถึงว่าพูดถึงใคร บุคคลใด หากกล่าวว่า ขันธ์ 5 ให้ทาน ขันธ์ 5 รับผลของกรรม ก็ไม่รู้ว่าหมายถึงใครดังนั้นจะพูดคำอะไรก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อพูดคำที่เป็นสมมติบัญญัติแล้ว จะเป็นผู้ที่ไม่เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรม ผู้มีปัญญาจึงเป็นผู้ที่ฉลาดพูดในทางสมมติ เพื่อสื่อให้เข้าใจปรมัตถ์ (สภาพธรรม)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 3 ก.ค. 2551

ดังพระสูตรที่เทวดานั้นได้ฟังภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ เกิดสงสัยว่าทำไมยังพูดว่า บาตรของเรา เรานั่ง เรานอน คงยังมีความยึดถือว่าเป็นเรา แต่ท่านหมดกิเลสแล้วแต่ท่านก็ไม่ละสมมติทางโลกเพื่อสื่อให้เข้าใจกันครับ ผู้มีปัญญาจึงไม่ละทิ้งสมมติ เป็นผู้ฉลาดในโวหารของชาวโลก ขออนุโมทนาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ....

อรหันตสูตร..พระอรหันต์ไม่ละทิ้งสมมติทางโลก

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
oom
วันที่ 4 ก.ค. 2551

ในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน ถ้าเราพยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ โดยเฉพาะศีลข้อ 4 เราจึงระวังเรื่องการพูด คือพูดน้อยลง พูดแต่เรื่องที่จำเป็น ทำให้บางครั้ง คนอื่นคิดว่าเราไม่มีมนุษยสัมพันธ์ เพราะไม่ค่อยเข้าไปคลุกคลีหมู่คณะ ดิฉันจะเลือกคุยแต่เฉพาะคนที่ชอบสนทนาธรรมเหมือนๆ กัน ส่วนคนอื่นก็จะพูดตามมารยาท เพราะเท่าที่เห็นคนเราจะพูดแต่เรื่องเพ้อเจ้อทั้งวัน พอได้ยินคนพูดถึงเรื่องธรรมให้ฟังกลับไม่สนใจ แต่ถ้านินทากันทำไมคนชอบกันจัง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 4 ก.ค. 2551

1. ขณะที่กุศลจิตเกิดฟังธรรม สนทนาธรรม ขณะนั้นไม่ชื่อว่าคลุกคลี ถึงจะอยู่คนเดียวก็มีโลภะเป็นเพื่อนสองได้ ขณะนั้นเป็นอกุศลก็ชื่อว่าคลุกคลีค่ะ

2. ถ้าสติเกิดก็จะรู้ว่าเราโดยสมมติ ต่างกับปรมัตถ์คือ สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prakaimuk.k
วันที่ 6 ก.ค. 2551

"ถ้าสติเกิดก็จะรู้ว่าเราโดยสมมติ ต่างกับปรมัตถ์คือสิ่งที่มีจริงขณะนี้" สั้นๆ ยาก แต่ลึกซึ้ง

ขออนุโมทนาคุณวรรณี และทุกๆ ท่านทีjกรุณาให้ความชัดเจนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เซจาน้อย
วันที่ 6 ก.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pornpaon
วันที่ 6 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาคุณสงสัยและทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ