ความกล้าหาญ กับ ความเพียร มีสภาวธรรม เหมือนกันหรือไม่

 
suwit02
วันที่  15 มิ.ย. 2551
หมายเลข  8900
อ่าน  3,185

ตามที่ได้ศึกษามา วิริยเจตสิก เป็นปกิณณกเจตสิก ผมอยากทราบว่า จิตที่กล้าหาญ ไม่ย่อท้อ/หวั่นเกรงต่ออุปสรรค/อันตราย ใดๆ (ไม่กำหนดว่าเป็นฝ่ายกุศลอย่างเดียว) นั้น

1. ต้องมีเจตสิกใดเกิดร่วมเป็นอย่างน้อย

2. มีเจตสิกใดเกิดร่วมได้บ้าง

3. โปรดแสดง ลักขณาทิจตุกะ ของ วิริยเจตสิก ด้วยครับ

ตามที่ปรากฏแก่ผมนั้น เมื่อใดจิตประกอบด้วยวิริยะ เมื่อนั้นก็มีความกล้าหาญด้วย เมื่อใดไม่ประกอบด้วยวิริยะ เมื่อนั้นไม่มีความกล้าหาญ คือสภาวะทั้งสองไม่เคยปรากฏว่าแยกจากกัน

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 16 มิ.ย. 2551

๑. มีเจตสิกใดเกิดร่วมเป็นอย่างน้อย ๑๑ ประเภทขึ้นไป

๒.สัพพะจิตตสาธารณะ ๗ ปกิณณกะ ๔ คือ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ

๓.วิริยะ มีความอดทน เป็นลักษณะ มีการทำสหชาตธรรมให้มั่นคง เป็นกิจ มีความไม่ท้อถอย เป็นอาการปรากฏ มีสังเวควัตถุ เป็นเหตุใกล้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Komsan
วันที่ 16 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 16 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 16 มิ.ย. 2551

กรุณาอธิบาย..สังเวควัตถุ..ด้วยคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 16 มิ.ย. 2551

สัพพจิตตสาธารณะเจตสิก 7

1. ผัสสะ

2. เวทนา

3. สัญญา

4. เอกัคคตา

5. ชีวิตินทรีย์

6. มนสิการ

7. เจตนา

สังเวทควัตถุ คือ วัตถุที่ทำให้เกิดความสังเวช เช่น ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ทุกข์ในอบาย ทุกข์ในอดีต ทุกข์ในอนาคต ทุกข์ในการแสวงหาอาหาร ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 16 มิ.ย. 2551

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาทุกคำตอบครับ

สรุปว่าจิตที่กล้าหาญ ไม่ย่อท้อ/หวั่นเกรงต่ออุปสรรค/อันตรายใดๆ นั้น เป็นจิตที่ประกอบด้วยเจตสิกอย่างน้อยคือ สัพพะจิตตสาธารณะ ๗ ปกิณณกะ ๔ คือ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ

ขอกราบเรียนว่า เหตุที่ถามกระทู้นี้ เพราะผมไม่สามารถจำแนก ความกล้าหาญ ออกจากความเพียร และเมื่อได้ฟังคำตอบแล้วก็ยังเข้าใจไปว่า จิตที่ประกอบด้วยวิริยะก็คงประกอบด้วยเจตสิก ๑๑ ดวง ดังกล่าวเป็นอย่างน้อยเช่นกัน เพื่อความเข้าใจแจ่มแจ้ง ถึงความต่างกันของจิตที่ประกอบด้วยวิริยะกับจิตที่กล้าหาญ ขออนุญาตเรียนถามต่อไปว่า จิตที่ประกอบด้วยวิริยะต้องมีเจตสิกใดเกิดร่วมด้วยเป็นอย่างน้อยครับ หากมีเจตสิกใด เพิ่ม/ลด ต่างไปจาก ๑๑ ดวงดังกล่าวแล้ว ขอได้โปรดให้ความอนุเคราะห์ แสดงลักขณาทิจตุกะ ของเจตสิกที่ เพิ่ม/ลด ไป นั้นด้วยครับ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 16 มิ.ย. 2551

ธรรม เป็น ธรรมตามความเป็นจริง วิริยะ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดร่วมกับจิตใดก็มีความเสมอกันกับจิตประเภทนั้น กล่าวคือ ถ้าเกิดร่วมกับกุศลจิตก็เป็นกุศล ถ้าเกิดร่วมกับอกุศลจิตก็เป็นอกุศล สำหรับวิริยะ หมายถึง ความเพียร นอกจากจะหมายถึงความเพียรแล้ว ยังหมายถึงความกล้าด้วย (ความเป็นไปแห่งความกล้า ชื่อว่า วิริยะ, การกระทำของคนกล้า ก็ชื่อว่า วิริยะ) จะขอยกตัวอย่างความกล้าในทางที่เป็นกุศล ดังต่อไปนี้ ครับ

กล้าที่จะพูดในสิ่งที่ถูกต้อง หรือว่า กล้าที่จะเป็นผู้ประพฤติสุจริตทั้งทางกายทางวาจา ทางใจ โดยที่ไม่กลัวต่อความเดือดร้อน ไม่กลัวต่อความยากลำบาก ไม่กลัวต่อความขัดสน นี้เป็นลักษณะของความกล้าในทางที่ถูกต้อง หรือกล้าที่จะแสดงเหตุและผลของธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง โดยที่ไม่เกรงว่าจะไม่เป็นที่รักของคนพาล ไม่เกรงว่าจะมีคนเข้าใจเจตนานั้นผิดไป เป็นต้น ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจ แต่ก็ไม่เหลือวิสัยสำหรับผู้ทีมีความตั้งใจที่จะศึกษา เมื่อเริ่มที่จะฟัง เริ่มที่จะศึกษา ความเข้าใจถูก ความเห็นถูกก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 16 มิ.ย. 2551

วิริยะ มีสังเวควัตถุ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด (สังเวควัตถุ (ที่ตั้งแห่งความสลด สังเวช) มี ๘ ประการ คือ

๑. ชาติ

๒. ชรา

๓. พยาธิ

๔. มรณะ

๕. ทุกข์ในอบาย

๖. ทุกข์ในอดีตมีวัฏฏะเป็นมูล

๗. ทุกข์ในอนาคตมีวัฏฏะเป็นมูล

๘. ทุกข์ในปัจจุบันมีการแสวงหาอาหารเป็นมูล หมายความว่า เพราะเมื่อปรารภแล้ว พิจารณาแล้วทำให้เกิดความสลด (ไม่ใช่ด้วยความเศร้าใจ แต่ต้องประกอบด้วยปัญญา) เป็นเครื่องเตือนให้มีจิตน้อมไปในทางกุศล เกิดความไม่ประมาท และมีกำลังที่จะเพียรในการอบรมเจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกในหนทางที่จะเป็นไปเพื่อการดับทุกข์ได้ในที่สุด ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 16 มิ.ย. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 7 โดย khampan.a

ธรรม เป็น ธรรมตามความเป็นจริง วิริยะ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดร่วมกับจิตใดก็มีความเสมอกันกับจิตประเภทนั้น กล่าวคือ ถ้าเกิดร่วมกับกุศลจิตก็เป็นกุศล ถ้าเกิดร่วมกับอกุศลจิตก็เป็นอกุศล สำหรับวิริยะ หมายถึง ความเพียร นอกจากจะหมายถึงความเพียรแล้ว ยังหมายถึงความกล้า ด้วย (ความเป็นไปแห่งความกล้า ชื่อว่า วิริยะ, การกระทำของคนกล้า ก็ชื่อว่า วิริยะ) จะขอยกตัวอย่างความกล้าในทางที่เป็นกุศล ดังต่อไปนี้ ครับ กล้าที่จะพูดในสิ่งที่ถูกต้อง หรือว่า กล้าที่จะเป็นผู้ประพฤติสุจริตทั้งทางกายทางวาจา ทางใจ โดยที่ไม่กลัวต่อความเดือดร้อน ไม่กลัวต่อความยากลำบาก ไม่กลัวต่อความขัดสน นี้เป็นลักษณะของความกล้าในทางที่ถูกต้อง หรือ กล้าที่จะแสดงเหตุและผลของธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง โดยที่ไม่เกรงว่าจะไม่เป็นที่รักของคนพาล ไม่เกรงว่าจะมีคนเข้าใจเจตนานั้นผิดไป เป็นต้น ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจ แต่ก็ไม่เหลือวิสัยสำหรับผู้ทีมีความตั้งใจที่จะศึกษา เมื่อเริ่มที่จะฟัง เริ่มที่จะศึกษา ความเข้าใจถูก ความเห็นถูกก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ ครับ


ถ้าความเพียร กับ ความกล้าหาญ มีสภาวธรรมเป็นอย่างเดียวกันแล้ว ผมก็เข้าใจเลยครับ เพราะปรากฏแก่ผมเช่นนั้นอยู่แล้ว ตัวอย่างที่ยกมาแสดง ทำให้ยิ่งเข้าใจชัดเจนขึ้นครับ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจ แต่ก็ไม่เหลือวิสัยสำหรับผู้ทีมีความตั้งใจที่จะศึกษา เมื่อเริ่มที่จะฟัง เริ่มที่จะศึกษา ความเข้าใจถูก ความเห็นถูกก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 16 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาด้วยเช่นกันครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pornpaon
วันที่ 17 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
all-for-ละ
วันที่ 17 มิ.ย. 2551

พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้กล้า

กล้าในที่ทั้งปวงด้วยโสมนัส ด้วยปัญญา คือ เวสารัชญาณ 4ทรงมีปัญญาจึงกล้าหาญ ปฏิญาณไม่หวั่นไหวในที่ทั้งปวง

กล้าหรือยังที่จะเห็นถูก

กล้าหรือยังที่จะเห็นโทษของอกุศลแม้เล็กน้อย

กล้าหรือยังที่จะไม่เว้นในการทำความดีทุกประการ

ต่อหน้า ลับหลังและทุกๆ คน

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
suwit02
วันที่ 18 มิ.ย. 2551

สาธุ

ถ้อยความที่ผูกแต่งขึ้นเป็นอันมากทุกชนิด และสมณพราหมณ์ทั้งหลายอาศัยวาทะใด วาทะนั้น มาถึงตถาคตผู้แกล้วกล้า ผู้ย่ำยีเสียซึ่งวาทะแล้ว ย่อมพ่ายไป ท่านผู้ใดครอบงำเสียซึ่งวาทะและสมณพราหมณ์ทั้งสิ้น มีความเอ็นดูในสรรพสัตว์ ประกาศธรรมจักร สัตว์ทั้งหลายย่อมกราบไหว้ท่านผู้เช่นนั้น ผู้ประเสริฐแห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ.

ธรรมอัน เป็นปฏิปักษ์ต่อความขลาดชื่อว่า เวสารัชชะ ญาณเป็นเหตุให้กล้าหาญ

เวสารัชชกรณธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
suwit02
วันที่ 4 ธ.ค. 2551

ขอเพิ่มเติมข้อมูล จาก หนังสือ อภิธัมมัตถสังคหะ (เจตสิกสังคหวิภาค)

หน้า 77 (ฉบับปี 2539)

วิริยเจตสิก ภาวะแห่งบุคคลผู้กล้า ชื่อว่า วิริยะ หรือ การงานของบุคคลผู้กล้า ชื่อว่าวิริยะ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 4 ก.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ