นำอาหารจากวัดมาบ้านผิดหรือไม่?

 
จ่าหนาน
วันที่  17 มิ.ย. 2551
หมายเลข  8923
อ่าน  23,817

ผมเดินตามพระบิณฑบาตรบ่อยๆ คอยเก็บของออกจากบาตรพระ คนใส่บาตรเยอะจนเกินกว่าที่หลวงพ่อจะฉันหมด (พระองค์เดียว ฉันมื้อเดียว) ถึงจะให้เจ้าตูบเจ้าด่างแล้วก็ยังเหลือเยอะ ยิ่งถ้าเป็นวันพระด้วยแล้วล้นทั้งเข่ง ล้นทั้งตะกร้าหน้ารถ (ใช้เข่งผลไม้ ขนาด 14 X 21 X 11 นิ้ว ผูกติดท้ายมอเตอร์ไซด์) ต้องช่วยกันสองคนถึงจะนำกลับวัดได้หมด เมื่อถึงวัดก็จะแยกใส่ถาดนำประเคนพระอีกครั้งหนึ่ง หลวงพ่อจะพิจารณาอาหารใส่ลงไปในบาตร (ฉันในบาตร) ที่เหลือก็ส่งถาดคืนให้ หลวงพ่อจะบอก”ดูกับข้าวไปให้ลูกให้เมียด้วย” ผมก็เลือกที่เป็นของคาวไว้ให้เจ้าตูบเจ้าด่าง ที่เหลือก็นำกับข้าวมาแจกเพื่อนบ้าน (แม่บ้านผมไม่ชอบ) ถ้าเจอคนงานรับจ้างก็ให้เขาไป นมก็ให้ลูก ขนมก็นำไปให้เพื่อนร่วมงาน ถ้าเจอเด็กยากจนก็ให้เขาไป ถุงก๊อบแก๊บก็นำไปให้แม่ค้า รู้สึกไม่สบายใจ และเคยถามหลวงพ่อก็บอกว่า “มันเหลือทิ้งเปล่าๆ โยมนำไปให้คนอื่นก็เป็นกุศลกับโยม” ตอนแรกๆ วันที่หลวงพ่อไม่บอก ผมไม่ได้นำกลับบ้าน หลวงพ่อก็จะถาม “ ไม่ได้เอากับข้าวไปหรือ ตอนหลังๆ ก็เลยเอามาหลวงพ่อก็บอกมั่งไม่บอกมั่ง (เหมือนเป็นอันรู้กัน) จะทำไงดี จะไม่เอาก็ขัดใจหลวงพ่อ จึงขอถามท่านผู้รู้ว่า (ช่วยตอบให้คนด้อยปํญญาด้วยครับ)

1. นำกับข้าวที่วัดมากินเองหรือให้ลูก บาปไหมครับ

2. นำกับข้าวมาแจกเพื่อบ้าน เพื่อนร่วมงาน ได้บาปหรือบุญครับ

3. ถ้ากินที่วัดบาปหรือเปล่าครับ

4. ต้องให้หลวงพ่อบอกทุกวันหรือเปล่าครับ

5. คนที่ใส่บาตรเฉพาะวันพระ หมายความว่าทำบุญวันพระได้บุญมากกว่าวันธรรมดาหรือครับ

ขอขอบคุณ คุณวรรณีมาก ที่จัดส่งหนังสือชุดที่ 1 ให้ผม ผมได้รับแล้วครับรับรองว่าอ่านจบทุกเล่มครับ เปิดซองเห็นใบอนุโมทนา ปลื้มตั้งนาน เรื่องปลื้มจะเรียนถามในโอกาสต่อไป ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 17 มิ.ย. 2551

๑,๒,๓, ไม่บาปครับ เพราะพระท่านไม่ต้องการแล้ว และท่านก็อนุญาตแล้ว ๔.ไม่ต้องครับ เป็นที่รู้กันว่าท่านไม่ต้องการแล้ว ๕.ไม่เกี่ยวกับวันพระครับ อยู่ที่สภาพจิตและองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ผู้รับ ผู้ให้ เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 17 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาคุณจ่าหนานนะคะ

คำถามที่ถามเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาก็จริง แต่เพราะดูธรรมดานี่เอง จึงมักทำให้พวกเราชาวบ้าน ทำผิดพลาดพลั้งไปแบบไม่ได้ตั้งใจอยู่บ่อยๆ แล้วก็คอยมานั่งคิดสงสัย จะถามพระก็ไม่กล้าทำนองนั้น

(แบบว่า ดิฉันเป็นบ่อยมานาน ก่อนที่จะได้มาฟังธรรมบรรยายจากท่านอาจารย์)

ขออนุโมทนาพี่วรรณี และ คุณstudyด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 17 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
นวล
วันที่ 17 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาคุณวรรณีคะ เธอมีน้ำใจให้พวกเราเสมอคะ


 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 17 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาทุกๆ ท่าน โดยเฉพาะคุณวรรณีและคุณ study ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
มาณพน้อย
วันที่ 17 มิ.ย. 2551

พระภิกษุเป็นเพศที่แตกต่างไปจากคฤหัสถ์ เพราะท่านเป็นผู้ที่สละอาคารบ้านเรือน สละวงศาคณาญาติ รวมไปถึงสละทรัพย์สมบัติ เพื่อเข้าสู่ภาวะของความเป็นบรรพชิต (ซึ่งหมายถึงผู้เว้นทั่วจากบาปอกุศลอย่างยิ่ง) ขัดเกลากิเลสให้ยิ่งกว่าเพศคฤหัสถ์ ด้วยความเป็นผู้จริงใจอย่างแท้จริง ชีวิตของพระภิกษุดำรงอยู่ได้ด้วยอาหารบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ผู้มีจิตศรัทธา ได้ถวายการฉันอาหารของพระภิกษุ มีได้ตั้งแต่เช้าจนกระทั่งถึงเที่ยงเท่านั้น นอกจากเวลานั้นไปเป็นอาบัติ ดังนั้นอาหารที่เหลือจึงไม่เป็นประโยชน์สำหรับพระภิกษุ (จะเก็บไว้ฉันในวันต่อๆ ไปก็ไม่ได้ เพราะเป็นอาบัติ) แต่จะเป็นประโยชน์แก่อุบาสกอุบาสิกา ประชาชนทั่วไป จึงไม่เป็นบาปแก่ผู้นำไปรับประทาน หรือนำไปแจกเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น แต่อย่างใด ครับ บุญ คือสภาพจิตที่ดีงาม ไม่มีโทษ ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นเป็นบุญ ครับโอกาสของการเจริญกุศล เป็นโอกาสที่หายากในชีวิต จะเสียดายมากถ้าหากว่ามีโอกาสที่จะได้เจริญกุศลแล้ว ไม่ได้เจริญ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นวันพระหรือไม่ใช่วันพระ ก็สามารถที่จะเจริญกุศลได้ทั้งนั้น เพราะถ้าไม่ได้เจริญกุศล อกุศลก็จะมีแต่จะหนาขึ้นเรื่อยๆ

...ขออนุโมทนาคุณจ่าหนาน และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 17 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณจ่าหนานค่ะ หนังสือของมูลนิธิฯ มีทั้งหมด ๔ ชุด

ถ้าคุณอ่านชุดที ๑ จบแล้ว กรุณาช่วยบอกด้วยนะคะ จะได้ส่งชุดที่ ๒ ไปให้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
all-for-ละ
วันที่ 17 มิ.ย. 2551

ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่าง บุคคลที่เกิดเป็นเปรตที่บุคคลบางพวกนำอาหารมาให้ลูกหลานตัวเองทาน ทั้งๆ ที่ของนั้นเป็นของที่เขาจะจัดถวายภิกษุสงฆ์ จึงเป็นอทินนาทาน ยังไม่ได้รับอนุญาติและพระยังไม่ได้ฉัน ส่วนกรณีนี้พระท่านฉันแล้ว รวมทั้งท่านก็อนุญาติที่สำคัญจิตของคุณไม่ได้จิตคิดจะลักจึงไม่บาป ฤกษ์ดีมงคลดีคือ ขณะที่จิตเป็นกุศล วันไม่เกี่ยวเลย กุศลจะมากในการให้ทานขึ้นอยู่กับสภาพจิต (ผ่องใสทั้งก่อนให้ ขณะให้ หลังให้ ประกอบด้วยโสมนัสและปัญญา) ความบริสุทธ์ของปัจจัยที่ได้มา (ได้มาในทางสุจริต) คุณธรรมของผู้รับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
michii
วันที่ 18 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ตุลา
วันที่ 18 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณจ่าหนาน และ คุณวรรณีด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
จ่าหนาน
วันที่ 28 มิ.ย. 2551
สา...ธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เทียน
วันที่ 30 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณจ่าหนานที่มีต่อผู้อื่นค่ะ และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณวรรณีด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ว.ศรีแก้ว
วันที่ 2 ก.ค. 2551

ทาน คือการให้ การแบ่งปัน หากชีวิตที่มีอยู่เพื่อตนฝ่ายเดียว จะได้ชื่อว่าเกิดเป็นมนุษย์ไม่ การออกบวชเป็นพระนั้นก็เพื่อเพื่อนมนุษย์ คือ การหาทางเพื่อดับทุกข์ของตนและแผ่กุศลเพื่อผู้อื่น ดังนั้น พระที่บำเพ็ญพรต ภาวนา ผสานกับกิจเมตตา กุศลย่อมบังเกิดเพราะความเชื่อที่ไม่มีกิจการเป็นความเชื่อที่ตายแล้ว ดังเช่น เมื่อมีคนทุกข์ยากมาขออาหาร เราสงสารและมีความสามารถช่วยได้ มีเพียงคำพูดว่า "น่าสงสารจังเลย" กล่าวด้วยความสงสารอย่างสุดซึ้งเพียงใดก็ตาม ผลก็อยู่แค่นั้น ต่างกับการยื่นมือช่วยเหลือ ต้อนรับเขาดังญาติพี่น้อง จะไม่ทำให้เขาและสุขกายสุขใจกว่าหรือหากจะมองถึงการนำอาหารมารับประทานที่บ้านนั้น อาหารกินก็ย่อยสลายลงส้วมไปสิ่งที่อยู่ ผลอาหารคือ พลังในการแบ่งปันต่อ ขอให้ผู้รับได้แบ่งปันสิ่งต่างๆ ต่อไป โดยเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้คนอื่น ฝึกเป็นอย่างสม่ำเสมอด้วยดวงใจที่เป็นสุขและไม่หึงหวง
ขอเป็นกำลังใจในการเป็นผู้รับและผู้ให้ เพื่อความสงบสุขของใจและของโลกต่อไป

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Komsan
วันที่ 8 ก.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ