รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ หรือยัง?

 
ปทปรม
วันที่  12 มิ.ย. 2551
หมายเลข  8875
อ่าน  1,065

กรุงสาวัตถี. ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ ไม่กล่าวความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายของภิกษุ

ผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ ภิกษุทั้งหลายเมื่อรู้ เมื่อเห็นอะไร จึงมีความสิ้นอาสวะ เมื่อบุคคลรู้รูปอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ ความดับสูญไปแห่งรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณ

อย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณอย่างนี้ ความดับสูญไปแห่งวิญญาณอย่างนี้(จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้แลจึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

คำว่า "อย่างนี้" ที่อ่านแล้วก็ดูเหมือนเข้าใจ เพราะพยัญชนะง่าย ฟังแล้วก็ดูเหมือนง่ายอีก แต่เมื่อพิจารณาตามอรรถ ที่ท่านอาจารย์กล่าวเมื่อวันเสาร์ที่ ๗ มิ.ย.๕๑

ท่านถามว่า " แล้วเราอ่านแล้ว ฟังแล้ว เห็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้หรือยัง?"

ฟังแล้วจึงรู้ว่า "อย่างนี้" ที่ปุถุชนเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ดี ไม่ได้ถึงความสิ้นอาสวะ เหมือน "อย่างนี้" ที่พระอรหันต์ทั้งหลายรู้อยู่ เห็นอยู่ เพราะยังเป็น "เรารู้ เราเห็น"

พระธรรมลึกซึ้งโดยอรรถจริงๆ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ เป็นเรื่องของสัจจธรรมความจริงที่ปรากฏให้เห็นแจ้งว่าสิ่งนั้นเป็นธาตุ แต่ละอย่างไม่ใช่เรา ไม่ใช่คนอื่น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป อย่างรวดเร็ว ถ้าไม่อบรมปัญญา ก็จะยึดถือด้วยความเห็นผิด ในสัตว์ บุคคล ในวัตถุ ในสิ่งต่างๆ ว่าเที่ยง ไม่เกิดดับ สังสารวัฏก็จะวนเวียนไป ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่จบค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 12 มิ.ย. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

ท่านถามว่า " แล้วเราอ่านแล้ว ฟังแล้ว เห็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้หรือยัง?"

เพราะอ่านออกเป็นภาษาไทย ด้วยถ้อยคำง่ายๆ จึงได้คิดว่าง่ายและสามารถทำได้ ในความเป็นจริง ขณะใดที่ เห็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้ คือ การประจักษ์ชัดการเกิดดับของรูปนามตามความเป็นจริง ซึ่งแต่ละขณะที่เกิดดับนั้น เร็วแสนเร็ว สั้นแสนสั้นเป็นการ เห็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้ด้วยปัญญาไม่ใช่ด้วยการคิดเองนึกเอง

ตราบใดเมื่อ เห็น ก็ รู้ (คิดว่า) เป็นสัตว์ ตัวตน บุคคล หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดทันที ประหนึ่งว่าเห็นและรู้เกิดขึ้นพร้อมกัน เช่นนั้น เมื่อนั้น ยังไม่ใช่ เห็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้ แต่เป็น เราเห็นอย่างนี้ เรารู้อย่างนี้

จึงยังคงต้องขัดเกลาและสะสมการอบรมเจริญปัญญาอีกยาวนานมากกกกกก...กว่าจะ เห็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้

ขอกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง

ขออนุโมทนาคุณปทปรม

และขออนุโมทนาท่านผู้เจริญกุศลทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
orawan.c
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

กำลังเริ่มต้นค่อยๆ อบรมปัญญา เพื่อจนกว่าจะ เห็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้ แทนเราเห็นอย่างนี้ เรารู้อย่างนี้

และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Apologize
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

อะไรรู้ อะไรเห็น...ปัญญารู้ ปัญญาเห็น

รู้ เห็นอะไร...รู้และเห็นสภาพธรรม

รู้เห็นสภาพธรรมอย่างไร..เห็นว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ขณะไหน...ขณะนี้ ในชีวิตประจำวัน

รู้ เห็น (ปัญญา) มีหลายระดับ

รู้เห็นด้วยเข้าใจว่าเป็นธรรมก็ระดับหนึ่ง

รู้เห็นจนดับกิเลสก็อีกระดับหนึ่ง

เหตุมีย่อมไปถึงเห็นอย่างนั้นตามความเป็นจริงซักวัน

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 13 มิ.ย. 2551

ขอพระสัทธรรมอันงดงาม บังเกิดแต่ดอกบัว คือพระโอษฐ์ของพระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ ทำให้ใจของท่านทั้งหลายเบิกบาน

 

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
นวล
วันที่ 13 มิ.ย. 2551

ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯลฯ

ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ในอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่ใส่ในเนวสัญญานาสัญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาอันไม่มีนิมิตนี้แล ยังมีปัจจัยปรุงแต่งได้ จูงใจได้ ก็สิ่งใด สิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชา เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์สิ้นแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เอง เพราะชีวิตเป็นปัจจุบัน ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู๋ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัด สิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูกรอานนท์แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างเปล่า ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
อิสระ
วันที่ 14 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เมตตา
วันที่ 15 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ