ไม่พึงประมาท

 
ตุลา
วันที่  12 มิ.ย. 2551
หมายเลข  8870
อ่าน  1,200

ขอกราบบูชาคุณพระรัตนตรัย

ปลูกมะม่วงหวานไว้ใกล้ๆ กับต้นสะเดาขม รสชาดของมะม่วงหวานย่อมเปลี่ยนเป็นขมได้ ฉันใด บุคคลผู้อบรมเจริญปัญญา ไม่พึงประมาทในการอยู่ร่วมกับความเห็นผิด รวมไปถึงอกุศลประเภทต่างๆ ถึงแม้ว่าจะเล็กน้อยก็ตาม ฉันนั้นเหมือนกัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 200

๖. ทธิวาหนชาดก

ว่าด้วยพระเจ้าทธิวาหนะ

[๒๒๑] (พระเจ้าทธิวาหนะตรัสถามว่า) แต่ก่อน

มะม่วงต้นนี้บริบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส ได้รับ

การบำรุงอยู่เช่นเดิม เหตุไรจึงมีผลขื่นขมไปเล่า.

[๒๒๒] (พระโพธิสัตว์ทูลว่า) ข้าแต่พระเจ้า-

ทธิวาหนะ มะม่วงของพระองค์มีต้นสะเดาล้อม

อยู่ รากต่อรากเกี่ยวพันกัน กิ่งต่อกิ่งเกี่ยวประ-

สานกัน เหตุที่อยู่ร่วมกันกับต้นสะเดาที่มีรสขม

มะม่วงจึงมีผลขมไปด้วย. มะม่วงจึงมีผลขมไปด้วย.

จบ ทธิวาหนชาดกที่ ๖

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยตามปกรติในชีวิตประจำวัน เราต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ เมื่อมีความเข้าใจพระ

ธรรมมากขึ้น ย่อมเข้าใจว่าอกุศลและกุศลย่อมเกิดจากเหตุปัจจัยจึงจะเกิดขึ้น

ทั้งเหตุปัจจัยภายในคือการสะสมมาในเรื่องความเข้าใจพระธรรม รวมทั้งปัจจัย

ภายนอกคือการคบมิตร พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงมงคลไว้ประการแรกคือ ไม่คบ

คนพาล ก็คือบุคคลที่แนะนำไปในทางผิด เช่น ทำอกุศลกรรมและบุคคลที่แนะ

นำในธรรมในทางที่ผิด เพราะเมื่อคบแล้ว เมื่อเสพคุ้น เพราะความเข้าใจที่ไม่มั่น

คงของเราเองย่อมหวั่นไหวเปลี่ยนแปลงได้ แต่หากเราคบบุคคลที่มีความเห็น

ถูกแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และห้ามจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็ย่อมทำให้

เจริญขึ้นในกุศลธรรม กัลยาณมิตรจึงเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ (การบรรลุ

มรรคผล) หากแต่ว่า ผู้มีปัญญาเท่านั้นจึงจะรู้ว่าใครเป็นพาลหรือบัณฑิต แต่ว่า

โดยความจริงแล้ว กุศลคือกุศล อกุศลเป็นอกุศล ไม่เปลี่ยนแปลงเลยครับ ขณะ

ที่เป็นอกุศลก็ชื่อว่าคบกับพาล ขณะที่เป็นกุศลก็ชื่อว่าคบบัณฑิต ขออนุโมทนา

ในความดีของท่านอ.สุจินต์ผู้เป็นบัณฑิตและกัลยาณมิตร และขอนอบน้อมแด่

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นกัลยาณมิตรอันสูงสุด พึงเสพบุคคลเหล่านี้

ย่อมนำมาซึ่งความเจริญทั้งปวง ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

สัตบุรุษไม่คบคนพาล แต่อนุเคราะห์คนพาลได้ เพราะคนพาลเปรียบเหมือนคน

ตาบอดแต่กำเนิด ไม่มีผู้นำทางไป คนพาลท่องเที่ยวไปในสังสาร ไม่มีผู้แนะนำ บาง

ครั้งเขาก็ทำบุญ บางครั้งเขาก็ทำบาป ต่อเมื่อคนพาลนั้นได้คบสัตบุรุษ ได้ฟังธรรม

ของสัตบุรุษ เขาจึงจะเปลี่ยนเป็นคนดีและธรรมเจริญขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 12 มิ.ย. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

"แม้ของอันไร้ชีวิต ยังกลายเป็นของไม่น่าปรารถนา เพราะประกอบร่วมกับของอันไม่น่าปรารถนา จะป่วยกล่าวไปไยในของซึ่งมีชีวิตเล่า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการอยู่ร่วมกับคนไม่ดี เป็นการเลว ก่อแต่-สิ่งอันไม่มีประโยชน์, จะพึงกล่าวอะไรในการอยู่ร่วมกับคนไม่ดีนั้นเล่า เพราะการอยู่ร่วมกับคนชั่วทำความพินาศให้แก่ชนผู้เป็นมนุษย์, แม้แต่ต้นมะม่วง ซึ่งไม่มีเจตนา มีรสหวานเปรียบปานรสทิพย์ อาศัยการอยู่ร่วมกับต้นสะเดาอันมีรสขม หารสหวานมิได้ยังกลายเป็นต้นไม้ไม่มีรสหวาน มีรสขมไป" พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น อุปการะเพื่อมิให้พุทธบริษัทเป็นผู้ประมาทแม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ตราบใดที่ยังไม่ได้อบรมเจริญปัญญาจนกระทั่งถึงขั้นที่จะดับกิเลสได้อย่างเด็ดขาด จะเป็นผู้ที่ประมาทกำลังของอกุศล ไม่ได้เลย พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงมงคล (ทางที่จะนำไปสู่ความเจริญทั้งหลาย) ข้อแรกสุด คือ การไม่คบคนพาล เว้นไม่คบคนพาล (คนพาล แนะนำในสิ่งที่ไม่ควรแนะนำ, คนพาลเป็นผู้ตัดประโยชน์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า, คนพาลเป็นผู้ที่ทำชั่ว พูดชั่วคิดชั่ว, คนพาล ไม่รู้คุณค่าของกุศลธรรม เป็นตัน) เพราะถ้าหากอาศัยการสมาคมการคบหา การคุ้นเคยกับคนพาลบ่อยๆ เนืองๆ ทีละเล็กทีละน้อย ในที่สุดความเห็นก็จะเปลี่ยนไปตามคนพาล และพฤติกรรมก็จะเปลียนไปตามคนพาลด้วย อกุศลธรรมก็มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างยิ่ง เมื่อพระองค์ทรงแสดงมงคลข้อไม่คบคนพาลแล้ว พระองค์ก็ทรงแสดงมงคล ข้อต่อมาคือ "คบบัณฑิต เป็นมงคลอันสูงสุด" บัณฑิต เป็นบุคคลผู้ที่ดำเนินไปด้วยปัญญา ซึ่งเป็นบุคคลที่รู้คุณค่าหรือเห็นประโยชน์ของกุศล มีจิตใจประกอบด้วยเมตตาธรรม คอยเกื้อกูลในทางธรรมอยู่เสมอๆ (ซึ่งจะเป็นเหตุให้ปัญญาเจริญขึ้นไปตามลำดับ) การที่บัณฑิตแนะนำในสิ่งที่ดี เป็นประโยชน์ ก็จะส่งเสริมเกื้อหนุนให้เราเป็นผู้เจริญในกุศลธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปได้ ครับ

... ขออนุโมทนาด้วยครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
มาณพน้อย
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

สภาพธรรม เป็นความจริง อกุศลธรรม เป็นอกุศลธรรม กุศลธรรม เป็นกุศลธรรม

ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ต้องอาศัยการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญาจึงจะเข้าใจตามความเป็นจริงได้ ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา ไม่มีข้อความใดที่ส่งเสริมให้พุทธบริษัทเกิดอกุศลจิตเลย แม้แต่ในเรื่องคนพาลก็เช่นเดียวกัน เราไม่คลุกคลีกับคนพาล เราไม่คบค้าสมาคมกับคนพาล ได้ แต่ไม่ควรเลยที่จะเกิดอกุศลจิตในคนพาล ในเมื่อเป็นผู้ยังมีกิเลส และสั่งสมกิเลสมามากและนานแสนนาน การกระทำและคำพูด อาจจะเป็นไปในทางที่ไม่ดีบ้าง ตามการสะสมมาของแต่ละบุคคล "ถึงแม้ว่าเขาจะ ชั่วช้า เลวทราม อย่างไร ก็ไม่ต้องไปเกลียดเขาเลย เสียดายใจของเราที่พลอยไปเกลียดเขา พลอยเพิ่มกิเลสให้ตัวเอง จึงควรสงสารเขา ควรที่จะมีเมตตาต่อเขา"

ดังนั้น จึงต้องไม่ลืมว่า "ผู้ที่อบรมเจริญปัญญา พึงเป็นผู้ไม่ประมาทในอกุศลแม้เล็กน้อย" ครับ ...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
suwit02
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

พระสัทธรรมมีคุณยิ่ง แม้เพียงได้ฟังก็ยังสงบเย็น

หากบุคคลประพฤติปฏิบัติตามได้ครบถ้วนบริบูรณ์

ย่อมบรรลุประโยชน์อันสูงสุด

สาธุ ที่นี่น่ารื่นรมย์

ขอพระสัทธรรม ทำให้ใจของท่านทั้งหลายเบิกบาน

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
aiatien
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pornpaon
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

ใกล้คนพาลเช่นใด ย่อมมีโอกาสคล้ายคนพาลเช่นนั้น

และอาจเป็นพาลไปยิ่งกว่าคนพาลเช่นนั้นอีกด้วย หากตั้งอยู่ในความประมาท

เหมือนมะม่วงหวานพันธุ์ดีที่งอกงามใกล้ต้นสะเดาแล้วกลับมีรสขม

เพราะกิเลสคือความชั่วทั้งหลายนั้นทำได้ง่าย ติดข้องยึดมั่นผูกพันได้ง่าย

ขออนุโมทนาคุณตุลา

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาทุกท่านผู้ให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม

และขออนุโมทนาท่านผู้เจริญกุศลทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เมตตา
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
prakaimuk.k
วันที่ 13 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ เป็นเครื่องเตือนใจที่ดีมาก คบบัณฑิต เป็นมงคลสูงสุด ท่านอาจารย์

เป็นบัณฑิตที่ควรเคารพอย่างยิ่ง เพราะท่านมีกถาวัตถุ ๑๐

๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย

๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษ

๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัด

๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่

๕. วิริยรัมภกถา ถ้อยคำชักนำให้ปรารภความเพียร

๖. สีลกถา ถ้อยคำชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล

๗. สมาธิกถา ถ้อยคำชักนำให้ทำใจสงบ

๘. ปัญญากถา ถ้อยคำชักนำให้เกิดปัญญา

๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำชักนำให้ทำใจให้พันจากกิเลส

๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในการพ้นจากกิเลส

และขออนุโมทนากัลยาณมิตรทุกท่านในเว็บไซด์นี้ด้วย ที่มีวาจาสุภาษิต

วาจาที่ให้แต่ประโยชน์ และวาจาที่เป็นกถาวัตถุ ๑๐ เช่นกันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
นิโรธะ
วันที่ 13 มิ.ย. 2551

ครับไม่ประมาท สาธุการทุกความคิดเห็นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
happyindy
วันที่ 13 มิ.ย. 2551

เป็นข้อเตือนใจที่เป็นระโยชน์อย่างยิ่ง

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาทุกความคิดเห็นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
nok_ruuh
วันที่ 13 มิ.ย. 2551

มีบิดามารดาคู่หนึ่งเล่าเรื่องความหนักใจเกี่ยวกับบุตรชายที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาว่าเดี๋ยวนี้เป็นคนว่ายากสอนยาก พอบิดามารดากล่าวติเตือน แสดงกิริยาแข็งกระด้าง ประท้วงไม่ยอมกินข้าว ไม่ไปเรียนหนังสือ อย่างนี้แปลว่าเขาคบเพื่อนไม่ดี หรือต้องเห็นตัวอย่างที่ไม่ดีที่ไหนสักแห่ง เพราะก่อนหน้านั้นไม่เคยเป็นเช่นนี้ เหมือนชาดกเรื่องพระราชาให้คนขาพิการเลี้ยงม้า ม้าที่เขาเลี้ยงทุกตัวเวลาเดินก็ทำกิริยาเหมือนคนเลี้ยงขาพิการนั่น

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Komsan
วันที่ 16 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ