ขอเรียนถาม เรื่องธาตุน้ำ

 
บักกะปอม
วันที่  23 พ.ค. 2551
หมายเลข  8705
อ่าน  1,648

กรุณาอธิบายด้วยนะคะ

๑. ที่ว่า ธาตุน้ำมีลักษณะเกาะกุม หมายความว่าอย่างไร?

๒. ที่ว่า ธาตุน้ำ รู้ได้ทางมโนทวารเท่านั้น

กรุณาอธิบายลักษณะของอาการรู้นั้น และมีตัวอย่างการรู้ลักษณะของธาตุน้ำในชีวิตประจำวันไหม? ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 23 พ.ค. 2551

๑.หมายความว่า เป็นลักษณะเฉพาะของธาตุน้ำ คือไหล หรือเกาะกุม

๒.ลักษณะที่ไหลหรือเกาะกุมนั้นไม่สามารถรู้ทางทวารอื่นได้ เหมือนกับการรู้ความเป็นหญิงความเป็นชาย หรือชีวิต ต้องอาศัยทางใจ (มโนทวาร) จึงรู้ได้ ทวารอื่นรู้ไม่ได้ อนึ่ง ผู้ที่จะรู้ลักษณะของธาตุน้ำจริงๆ ต้องอาศัยสติสัมปชัญญะของผู้นั้นจึงจะรู้ได้และต้องมีลักษณะปรากฏให้รู้ ถ้าไม่ปรากฏก็รู้ไม่ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 23 พ.ค. 2551

ธาตุน้ำ คือ อาโปธาตุ (สภาพธรรมใด ย่อมเอิบอาบ คือ แผ่ไปสู่รูปที่เกิดร่วมกัน หรือ สภาพธรรมใด ยังรูปที่เกิดร่วมกันให้แนบแน่น ให้พอกพูนคือ ให้เจริญ สภาพธรรมนั้น ชื่อว่า อาโปธาตุ) เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นรูปธรรม เป็นรูปที่ละเอียด ซึ่งไม่ปรากฏทาง ๕ ทวารคือ ไม่ปรากฏทางจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร แต่ปรากฏให้รู้ได้ทางมโนทวารเท่านั้น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
lichinda
วันที่ 23 พ.ค. 2551
โปรดอธิบายการรู้ธาตุน้ำโดยละเอียด จำแนกวิถีจิตแต่ละขณะมาให้ดูด้วยครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Guest
วันที่ 23 พ.ค. 2551

๑.ในทุกๆ กลุ่มของรูป (รูปกลาป) จะต้องมีธาตุน้ำ ซึ่งต้องมีลักษณะเกาะกุม หรือเอิบอาบคือ ทำให้รูปอื่นๆ เช่น ธาตุดิน เป็นต้น ไม่กระจัดกระจายไป แต่เกาะกุมกันอยู่ได้ แม้แท่งเหล็ก แผ่นหิน ภูเขา เป็นต้น สามารถเป็นแท่งเป็นก้อนอยู่ได้ก็เพราะธาตุน้ำเกาะกุมไว้ (ในธรรมสังคณี อธิบายว่า ธาตุน้ำเป็นธรรมชาติเครื่องเกาะกุมรูป)

๒. ธาตุน้ำเป็นรูปละเอียด (สุขุมรูป) ปรากฏได้เฉพาะทางใจเท่านั้น แต่ไม่ต้องอยากที่จะรู้ลักษณะของธาตุน้ำ เพราะสภาพธรรมใดยังไม่ปรากฏแก่สติ ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ แม้ ธาตุดิน (อ่อน-แข็ง) ธาตุไฟ (เย็น-ร้อน) ธาตุลม (ตึง-ไหว) ซึ่งเป็นโผฏฐัพพธาตุ ที่ปรากฏทางกายตรงๆ ตามความจริงขณะนี้ รู้ตรงลักษณะแล้วหรือยังหรือเพียงแต่คิดนึกถึงธาตุโน้นธาตุนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น ประโยชน์จริงๆ คือ สะสมความเข้าใจธรรมะ จากการฟัง การสนทนา จนกว่าสติจะเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
baramees
วันที่ 23 พ.ค. 2551

สภาพธรรมใดไม่ปรากฏให้รู้ สติและปัญญาก็ไม่สามารถรู้ลักษณะได้

สติเป็นอนัตตา ไม่เลือกอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด

สติปัฏฐานไม่ใช่ขั้นคิดนึก

รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏและในชีวิตประจำวัน

ธรรมเป็นเรื่องละ แม้ความอยากรู้ในสภาพธรรมที่ไม่ปรากฏ

ฟังต่อไปด้วยความมั่นคงในความเป็นอนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 24 พ.ค. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
บักกะปอม
วันที่ 24 พ.ค. 2551

ขอบพระคุณทุกคำตอบค่ะ อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
narong.p
วันที่ 25 พ.ค. 2551

แม้ ธาตุดินซึ่งมีลักษณะ อ่อน แข็ง ทางกาย ที่สัมผัสแล้วรู้แข็งนั้น ก็ไม่ใช่รู้ลักษณะที่แท้จริงของธาตุดิน แต่เป็นนิมิต ของธาตุดิน

ลักษณะของธาตุดินจริงๆ จะปรากฏกับสติสัมปชัญญะเท่านั้น สภาพธรรมอื่น ก็ในลัษณะเดียวกัน ครับ

ส่วนธาตุน้ำ มีลักษณะ เอิบอาบนั้น รู้ได้ทางใจซึ่งก็สามารถรู้นิมิตของธาตุน้ำได้ทางใจ (คิดนึก) แต่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ก็ต้องขณะที่สติสัมปชัญญะเกิดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 25 พ.ค. 2551

ลักษณะของธาตุน้ำ ไหลหรือเกาะกุม ถ้าไม่มีธาตุน้ำก็ไม่เกาะกุม เช่น ผงฝุ่นก็แห้ง

น้ำจริงๆ ก็มีรูปอื่นประชุมรวมกันด้วย ธาตุน้ำเป็นสุขุมรูป คือรูปที่ละเอียดรู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
บักกะปอม
วันที่ 26 พ.ค. 2551

หมายความว่า ขั้นคิดนึก เราจะรู้ลักษณะของธาตุน้ำได้เช่น จากการเกาะกุม หรือการกระจัดกระจายของมหาภูตรูป เป็นต้นใช่ไหมคะ....อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
majweerasak
วันที่ 26 พ.ค. 2551

ผมเข้าใจว่า

ธาตุน้ำมี ลักษณะเกาะกุม หรือเอิบอาบ ถ้ามีธาตุน้ำน้อยก็เกาะกุมน้อย แต่ทุกกลาปต้องมีธาตุน้ำเกิดร่วมด้วยเสมอ ไม่มีกลาปไหนที่ไม่มีธาตุน้ำ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Khaeota
วันที่ 6 มิ.ย. 2551

มหาภูตรูปแม้จะเล็กสุดจนไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า ก็ยังต้องประกอบด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มหาภูตรูปไม่สามารถแยกออกจากกันได้ด้วยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูปหนึ่งเป็นสหชาตปัจจัยแก่มหาภูตรูปที่เหลือ เช่น ธาตุดินเป็นสหชาตปัจจัยแก่ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ฯลฯ ธาตุดิน เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่ ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ฯลฯ ขั้นนึกคิดทราบได้จากการศึกษาว่าธาตุน้ำมีลักษณะเกาะกุม เอิบอาบ แต่มหาภูตรูปจะไม่กระจัดกระจายด้วยปัจจัยดังกล่าวค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ