ทำไมไม่เห็นด้วยกับสมาธิ

 
ปุจฉา
วันที่  21 เม.ย. 2551
หมายเลข  8369
อ่าน  2,785

มีท่านผู้หนึ่งสงสัยว่า ทำไมผู้ที่ศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า จึงไม่เห็นด้วยกับสมาธิ เพราะก็มีการกล่าวไว้ในเรื่องของ สมาธินทรีย์ ว่าเป็นสมาธิที่เห็นได้ชัดในฌาน ๔ ซึ่งเขาตั้งข้อสังเกตว่า พระพุทธเจ้า พระสาวก ก็เจริญสมาธิไม่ใช่หรือ แล้วที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 21 เม.ย. 2551

พระพุทธองค์ทรงแนะนำสาวกให้เจริญกุศลทุกประการ คือ ทาน ศีล สมถะและวิปัสสนา แต่ไม่ทรงแนะนำให้สาวกไปทำสมาธิที่ผิด (มิจฉาสมาธิ)

จริงอยู่ พระสาวกในสมัยครั้งพุทธกาล บางท่านอบรมเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปก็มี บางท่านเจริญเพียงสติปัฏฐาน วิปัสสนา ไม่ได้เจริญฌานก็มี ดังนั้น อัธยาศัยและการสะสมของแต่ละท่านไม่เหมือนกัน ใช่ว่าทุกคนจะต้องไปทำสมาธิเหมือนๆ กันทั้งหมด ดังนั้น ที่ถูกต้อง คือ ควรศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจถูกต้องและละเอียดเสียก่อนจะดีกว่าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 21 เม.ย. 2551

เราไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะไม่ได้เจริญสมาธิ เพราะว่าขณะที่สติปัฏฐานเกิดขณะนั้นก็มีสัมมาสมาธิเกิดร่วมด้วย เป็นปัญญาที่เปรียบเหมือนการจับด้ามมีด ค่อยๆ อบรมไป สามารถประหานกิเลสได้ในวันหนึ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 21 เม.ย. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Pararawee
วันที่ 23 เม.ย. 2551

เป็นอีกคนที่ไม่เห็นด้วยกับการนั่งสมาธิ ท่านอาจาย์สุจินต์กล่าวได้ดีแล้วว่าเป็นอย่างไร การทำสมาธิ รู้อะไร ไม่เห็นมีปัญญาเลย แล้วจะไปจดจ้องทำเพื่ออะไร

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wiwatvn
วันที่ 15 เม.ย. 2563

เท่าที่อ่านมา เสมือนว่าทางผู้รู้ในเว็บนี้ไม่ส่งเสริมในนั่งสมาธิ แต่ให้ปฏิบัติสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิในการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ผมสงสัยคือบางอาจารย์แนะนำให้ทำการนั่งสมาธิ เพื่อให้จิตสงบ (ถึงแม้ในนี้จะบอกว่าเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะนั่งนิ่งๆ ไม่เกิดปัญญา) และเมื่อจิตสงบแล้ว ท่านก็ให้ทำวิปัสสนาต่อ เพราะบางคนจิตยังฟุ้งซ่าน ถ้าไปทำวิปัสสนาจะทำให้เป็นไปได้ช้า

รบกวนขอความเห็นท่านผู้รู้ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
สิริพรรณ
วันที่ 2 พ.ค. 2563

ผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น ต้องเป็นผู้มีบุญที่สะสมมาแล้วในปางก่อน เพราะพระธรรมที่ทรงแสดง ประการที่สำคัญคือความเป็นเหตุและผลของสภาพธรรม ที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างที่สุดที่ผู้ไม่ได้ศึกษาจะไม่สามารถคิดเองได้เลยว่าจะมีอะไรที่ละเอียดกว่าที่ทรงแสดงอีกแล้ว เพราะเหตุว่า กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จะต้องสะสมอบรมบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ด้วยความยากอย่างยิ่ง และเป็นเวลาที่ยาวนาน เกินกว่าผู้ใดจะทำได้

แม้แต่เรื่องสมาธิ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงไว้โดยละเอียดว่าคืออะไร และมีสมาธิกี่ประเภท กี่ประการ รวมทั้งอะไรเป็นเหตุของสมาธิ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งผู้ไม่ได้ศึกษา แต่รีบร้อนอยากจะได้สมาธิด้วยความเข้าใจผิด จึงเป็นการกระทำที่ผิดและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อตนเองที่จะต้องเดินทางไกลแสนไกลในสังสารวัฏฏ์อีกนานแสนนาน ซึ่งเมื่อผู้ใดได้ศึกษาพระธรรมโดยถูกต้องและเข้าใจแล้ว จะไม่เสียเวลาหลงเชื่อผู้ที่ไม่ได้ศึกษาเลย แต่กลับจะมีความเห็นใจผู้ที่ไม่รู้ หลงทำสมาธิที่ผิดและชักชวนผู้อื่นให้ผิดตามไปด้วย ซึ่งก็เป็นปกติที่ผู้หลงผิดจะมีมากกว่าผู้ที่เข้าใจถูก เพราะด้วยอำนาจของกิเลสที่อยากได้สมาธิด้วยความไม่รู้นั้นเอง

ผู้ถามต้องสะสมเหตุที่ดีมาก่อน จึงมีความฉุกใจ สนใจที่อยากทราบความจริง จึงขออนุโมทนาในกุศลที่สะสมมา และขอให้ค้นศึกษาได้จากลิงก์ที่แนบนี้ ก็จะได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อท่านเอง และเผื่อแผ่ผู้อื่นทราบด้วย ก็จะเป็นกุศลอย่างยิ่งที่ช่วยให้ผู้หลงผิดได้กลับมาเข้าใจถูก โดยคลิกที่

สมาธิ

สมาธิคืออะไร และ ปัญญาเกิดได้เพราะเหตุใด

ความแตกต่างระหว่างสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ

มิจฉาสมาธิ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 3 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jarunee.A
วันที่ 21 ม.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ