การปฏิบัติให้พ้นจากกำเนิดปีศาจ [ปิยังกรสูตร และอรรถกถา]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 เม.ย. 2551
หมายเลข  8211
อ่าน  1,118

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

๖. ปิยังกรสูตร

ว่าด้วยการปฏิบัติให้พ้นจากกำเนิดปีศาจ

[๘๑๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล

ท่านพระอนุรุทธะลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี กล่าวบทแห่งพระธรรมอยู่.

[๘๒๐] ครั้งนั้นแล นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า ปิยังกระ อย่าอึกทึกไป ภิกษุกำลังกล่าวบทพระธรรมอยู่ อนึ่ง เรารู้แจ้งบทพระธรรมแล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา

[๘๒๑] เราสำรวมในเหล่าสัตว์มีปราณ เราไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เราศึกษา ทำตนให้เป็นผู้มีศีลดีนั่นแหละ เราจะพ้นจากกำเนิดปีศาจ

พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเลม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 404

อรรถกถาปยังกรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปยังกรสูตรที่ ๖ ตอไปนี้ :-

บทวา เชตวเน ความวา พระอนุรุทธะ อยูในวิหารชื่อโกสัมพกุฏี ทายพระเชตวัน. ธรรม ๒๖ วรรคทานยกขึ้นรวบรวมไวแผนกหนึ่ง ประสงควา ต ในบทนี้วา ธมฺมปทานิ. สมัยนั้น พระเถระ นั่งภายในวิหาร ณ ที่นั้น สวด อัปปมาทวรรคเปนสรภัญญะ ดวยเสียงไพเราะ.

บทวา เอว โตเสส ความวา ไดยินวา นางยักษิณีนั้น อุมบุตรชื่อปยังกระ แสวงหาอาหารอยู ตั้งแต ขางหลังพระเชตวัน มุงตรงตอพระนครโดยลําดับ แสวงหาอยูซึ่งของกินที่เสีย คืออุจจาระ ปสสาวะ น้ําลาย น้ํามูก ถึงสถานที่อยูของพระเถระ ไดฟงเสียง อันไพเราะ. เสียงนั้น ตัดผิวหนังเปนไปจดเยื่อในกระดูก เขาไปถึงหัวใจของ นางหยุดอยู. ครั้งนั้น นางยักษิณีนั้น ไมคิดในการแสวงหาอาหาร นางยืน เงี่ยโสตลงฟงธรรม. สวนยกขทารก ไมมีจิตในการฟงธรรมเพราะเปนหนุม. เขาถูกความหิวเบียดเบียนแลว จึงเดือนมารดาแลวๆ เลาๆ วา เพราะเหตุไร แมจึงยืนไมไหวติงเหมือนตอ ในที่แมมาแลว ไมแสวงหาของเคี้ยว หรือของ บริโภคสําหรับลูก. นางคิดวา บุตรจะทําอันตรายแกการฟงธรรมของเรา จึง ปลอบบุตรนอยอยางนี้วา ปยังกระ อยาสงเสียงดัง.

ในบทนั้น บทวา มา สทฺทมกริ ไดแก อยาไดสงเสียงดัง. นางแสดงศีล ๕ ที่สมาทานแลว ตาม ธรรมดาของคนดวยคาถาวา ปาเณสุ จ ดังนี้.

ในบทเหลานั้น บทวา สฺยมามเส ไดแกเราสํารวม คือเปนผูสํารวมแลว. นางงดเวนจากปาณาติบาต

พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเลม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 405

ดวยบทนี้. งดเวนจากมุสาวาทดวยบทที่สอง. การงดเวนสามอยางที่เหลือดวย บทที่สาม. บทวา อป มุจฺเจม ปสาจโยนิยา นางยักษิณีกลาววา ลูก เราละเวร ๕ เหลานี้ ที่เกิดขึ้นในยักขโลกเสียแลว ปฏิบัติโดยอุบายอันแยบคาย แลว จึงจะพนจากกําเนิดยักษปศาจซึ่งมีภิกษาหายาก ทั้งจะพากันอดตาย.

จบอรรถกถาปยังกรสูตรที่ ๖


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 27 เม.ย. 2551

ขออนุโมทนาครับ

อันต่อไปนี้จบอย่างมีความสุขครับ

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

ปุนัพพสุสูตร

นางยักษิณีปลอบให้ลูกฟังธรรม

[๘๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงอยู่ ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยพระนิพพาน. ภิกษุเหล่านั้นตั้งใจมนสิการ ประมวลไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงสดับพระธรรม

[๘๒๓] ครั้งนั้นแล นางยักษีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุ ปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า นิ่งเสียเถิดลูกอุตรา นิ่งเสียเถิดลูกปุนัพพสุ จนกว่าแม่จะฟังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระศาสดาจบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิพพานอันเป็นเครื่องเปลื้องตนเสีย จากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง เวลาที่ปรารถนาในธรรมนั้นจะล่วงเลย แม่ไปเสีย ลูกของตนเป็นที่รักในโลก ผัวของตนเป็นที่รักในโลก แต่ความปรารถนาในธรรมนั้น เป็นที่รักของแม่ยิ่งกว่าลูกและผัวนั้น เพราะลูกหรือผัวที่รัก พึงปลดเปลื้องจากทุกข์ไม่ได้ เหมือนการฟังธรรมย่อมปลดเปลื้องเหล่าสัตว์จากทุกข์ได้ ในเมื่อโลกอันทุกข์วงล้อมแล้ว ประกอบด้วยชราและมรณะ แม่ปรารถนาจะฟังธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เพื่อพ้นจากชราและมรณะ จงนิ่งเสียเถิดลูกปุนัพพสุ

[๘๒๔] ปุนัพพสุพูดว่า แม่จ๋า ฉันก็จักไม่พูด อุตราน้องสาวของฉันก็จักเป็นผู้นิ่ง เชิญแม่ฟังธรรมอย่างเดียว การฟังพระสัทธรรมนำความสุขมาให้ แม่จ๋า เราไม่รู้พระสัทธรรม จึงได้เที่ยวไปลำบาก พระพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ทำความสว่างไสวแก่เทวดา และ มนุษย์ผู้ลุ่มหลง มีพระสรีระครั้งสุดท้าย มีพระจักษุ แสดงธรรมอยู่

[๘๒๕] ยักษิณีพูดว่า น่าชื่นชมนัก ลูกผู้นอนบนอกของแม่ เป็นคนฉลาด ลูกของแม่ย่อมรักใคร่พระธรรมอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริญ ปุนัพพสุเจ้าจงมีความสุขเถิด วันนี้แม่เป็นผู้ย่างขึ้นไปในพระศาสนา แม่และเจ้าเห็นอริยสัจแล้ว แม้แม่อุตราก็จงฟังแม่

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
สิริพรรณ
วันที่ 4 มิ.ย. 2564

กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า

การได้ฟังพระธรรมเป็นลาภที่ประเสริฐยิ่ง

แต่บางภูมิ บางสมัย ยากที่จะได้ฟัง 

ขณะนี้ยังมีเสียงพระธรรม อยู่ในภูมิที่พร้อมจะฟัง ควรฟังอย่างยิ่ง ฟังเพื่อเข้าใจความจริง เพื่อละความไม่รู้ ความเห็นผิด ที่ยึดถือสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับว่าเป็นสัตว์บุคคล

กราบขอบพระคุณท่านผู้เผยแพร่พระธรรม ด้วยความเคารพในกุศลธรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 4 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 4 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ