อยากฝึกสมาธิ

 
พี่สุ
วันที่  7 เม.ย. 2551
หมายเลข  8040
อ่าน  2,865

สวัสดีค่ะ
ดิฉันเคยฝึกนั่งสมาธิ แต่ไม่สำเร็จ คือ นั่งแล้วหายใจเข้า หายใจออก แต่ไม่รู้สึกอะไรเลยนอกจาก หายใจเข้า ออก ไม่ทราบว่าทำถูกต้องหรือไม่

จึงอยากขอคำแนะนำที่ถูกต้องด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 7 เม.ย. 2551

ควรทราบว่า "สมาธิ" คือ เอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะอยู่แล้ว

สิ่งที่ควรฝึก คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่กำลังมี กำลังปรากฏอยู่ทุกขณะ ขณะที่ฟังพระธรรมด้วยความเข้าใจ ขณะนั้นชื่อว่ากำลังฝึก กำลังสะสม ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 เม.ย. 2551

ปัญญาเริ่มจากการฟังให้เข้าใจก่อนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 7 เม.ย. 2551

การนั่งสมาธิหรือการเจริญสมถภาวนาโดยมีลมหายใจเป็นอารมณ์ที่เรียกกันว่า "อานาปานสติ" นั้น ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้หากขาดการศึกษาพระธรรมในขั้นปริยัติ เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่าลมหายใจเป็นอารมณ์ของมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก เช่น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น แล้วเรามีปัญญามากอย่างพระพุทธองค์หรือพระอริยสาวกผู้ได้ฌานจิตไหมครับ

ลมหายใจเป็นโผฏฐัพพารมณ์ที่ละเอียด รู้ได้ยาก แต่ก็เป็นสิ่งที่พอจะรู้ได้ด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่เรา ขณะนี้ก็มีลมหายใจ เป็นเรารู้หรือเป็นสติฯ รู้ ถ้าเป็นเรา รู้ ย่อมสงสัย แต่ถ้าเป็นสติฯ รู้ ไม่สงสัย แล้วแน่ใจได้หรือครับว่าขณะที่นั่งๆ อยู่ เป็นสติฯ ที่กำลังระลึกที่ลมหายใจ ถ้าสติฯ รู้ตอนนี้ได้ ทำไมต้องจงใจไปนั่งให้รู้อีกล่ะครับ

การนั่งสมาธิที่ขาดปัญญา ย่อมผิด เพราะเป็นมิจฉาสมาธิและจิตเป็นอกุศล โดยจะมีโลภะและความเห็นผิดคอยตามหลอกว่าถูกแล้วตลอดทางขณะที่นั่งสมาธิ

ปัญญารู้อะไร แล้วขณะที่เป็นปกติ มีสมาธิไหม ปัญญารู้ลักษณะของสมาธิในขณะที่เป็นปกติได้ไหม

ฝากการบ้านเป็นคำถามให้ลองคิดเล่นๆ ดูนะครับ

เพราะการเจริญสมถภาวนาที่ถูกต้องนั้น ไม่ใช่เพียงเพื่อการข่มหรือระงับกิเลสไว้ชั่วคราว แต่ควรไปสู่การเห็นธรรมะในธรรมะตามความเป็นจริงเพื่อการดับกิเลสโดยสิ้นเชิง โดยขั้นของวิปัสสนาภาวนา แล้วที่นั่งสมาธิตามๆ กันไป มีการบอกวิธีให้นั่ง มีสถานที่ให้ไปทำ มีชุดขาวให้สวมใส่ ถามว่า เห็นธรรมะในธรรมะกันอย่างไรหรือครับเนี่ย

การบ้านหลายข้อเลย แต่ถ้าลองคิดด้วยเหตุผลดูดีๆ คิดว่า ไม่น่าจะเสียเวลาคิดมากเลยนะครับ ศึกษาก่อนไปทำดีกว่าไหม
คลิกอ่านพระวินัยตรงนี้ครับ --> อานาปานสติ - ภูมิแห่งมนสิการของมหาบุรุษ

... ด้วยความปรารถนาดีจากใจจริงครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 7 เม.ย. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Pararawee
วันที่ 7 เม.ย. 2551

ธรรมะไม่ใช่ของง่ายๆ ไม่ใช่อะไรที่จะไปทำกันได้ง่าย ถ้าคิดว่าจะทำกันง่ายๆ ก็คงไม่ใช่พระปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
อิสระ
วันที่ 8 เม.ย. 2551

อดทนที่จะฟังพระธรรมต่อไปนะครับ

ทางนี้ทางเดียวคือทางแห่งความเข้าใจ ทางอื่นไม่มี มีแต่ต้องเข้าใจจริงๆ จึงจะไม่หลงทาง

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 8 เม.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 8 เม.ย. 2551

สมาธิไม่ต้องไปแสวงหา เพราะขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส ขณะนั้นก็มีสมาธิเกิดร่วมด้วย สมาธิเกิดกับจิตทุกขณะค่ะ แล้วแต่ว่าจะเป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ajarnkruo
วันที่ 8 เม.ย. 2551

ถ้าได้อ่านพระพุทธพจน์ และถ้าได้ศึกษาสมถภาวนาโดยละเอียด เราก็จะรู้ว่าอานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เป็นฐานะที่ปุถุชนจะเสพได้หรือไม่ คือ มีปกติอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ได้หรือเปล่า ไม่ใช่ว่าจะไม่เป็นอารมณ์ของสติสัมปชัญญะของปุถุชน แต่ปรกติมีลมหายใจเป็นอารมณ์ของสติหรือเปล่าเท่านั้นเองครับ ถ้าปรกติมีได้บ้าง ก็คือเป็นปรกติมีได้บ้าง ไม่ต้องไปทำให้แปลกไปจากปรกติ
โปรดอ่านอีกครั้งนะครับ --> อานาปานสติ-ภูมิแห่งมนสิการของมหาบุรุษ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 19 เม.ย. 2551
ค่อยๆ ฟังธรรมไป และ จะเข้าใจว่าที่ทำมานั้นเป็นความเห็นถูกไหม
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
saree
วันที่ 6 ก.ค. 2555

สิ่งที่ท่านทั้งหลายแสดงความคิดนั้น ไม่ผิดตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์หรอกครับ เป็นไปตามนั้นจริง คนเราต่างมีปัญญาแตกต่างกัน ก็จริงตามนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงไว้หลายนัยเพื่อให้สัตว์โลกที่มีความรู้ต่างกัน สิ่งไหนที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ต้องเป็นจริง ต้องมีประโยชน์ ถึงแสดง ตรงนี้แหละที่หลายท่านมักจะข้ามไม่พิจารณา ตรงนี้สำหรับผู้มีปัญญามากตามที่หลายท่านกล่าวมา เรื่องอานาปานสติ และถ้าท่านทั้งหลายข้าม จะได้เป็นผู้มีปัญญามากได้อย่างไร โปรดพิจารณา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น (ขอย้ำเพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น) ธรรมเอกผุดขึ้น ธรรมเอกผุดขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 6 ก.ค. 2555

"... (ขอย้ำเพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่งเป็นธรรมเอกผุดขึ้น) ธรรมเอกผุดขึ้น ธรรมเอกผุดขึ้น"

"ธรรมเอกผุดขึ้น" หมายถึงทุติยฌานจิตค่ะ (อย่าเพิ่งตื่นเต้น) เพราะ วิตก วิจาร สงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นการอบรมความสงบ ที่เป็นสมถภาวนาค่ะ ไม่ใช่วิปัสสนาภาวนา (เหตุห้บรรลุญาณขั้นต่างๆ จนถึงมรรคจิต) ประโยชน์ของการศึกษาธรรมก็อยู่ตรงนี้แหละค่ะ ที่ช่วยให้ไม่เข้าใจผิดและหลงผิดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 16 มี.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม ...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
Jarunee.A
วันที่ 21 ม.ค. 2567

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ