คูถ ดอกไม้ น้ำผึ้ง

 
khampan.a
วันที่  7 เม.ย. 2551
หมายเลข  8054
อ่าน  1,214

ในชีวิตประจำวัน วันหนึ่งๆ เวลาที่หิริ (ความละอาย) โอตตัปปะ (ความเกรงกลัว) มีกำลังขึ้น จะทำให้พูดสิ่งที่ดีเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ก่อนอาจจะพูดไปโดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะ เป็นโทษเป็นภัยอย่างไร แต่เวลาที่หิริโอตตัปปะเกิดขึ้น จะทำให้พิจารณาเห็นได้ว่า สิ่งใดที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ ก็สามารถที่จะเว้นไม่พูดในขณะนั้นได้

บางคนพูดคำไม่จริง ง่ายมาก จนเกือบจะเป็นปกติธรรมดา ก็เพราะขาดหิริ โอตตัปปะ แต่ถ้าเป็นผู้ที่ได้ทราบว่าขณะที่พูดคำไม่จริงนั้น กำลังสะสมอุปนิสัยที่ เป็นอกุศลแม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งต่อไปถ้าเป็นเรื่องใหญ่ๆ ก็ย่อมจะกระทำได้ โดยง่าย เพราะว่าในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะพูดไม่จริง ก็ยังพูดได้ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นเรื่องใหญ่ ก็ยิ่งจะมีข้ออ้าง หรือมีข้อแก้ตัวในการพูด แต่ถ้าเป็นผู้ที่เห็นโทษของอกุศลทางวาจาในเรื่องของการพูดเท็จ ก็จะทำให้ละอาย และระวังในคำพูด มากยิ่งขึ้น (รวมทั้งคำหยาบ คำส่อเสียด และ คำพูดเพ้อเจ้อ ซึ่งเป็นวจีทุจริต ด้วยครับ)

ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา ได้แสดงบุคคลผู้พูดไว้ ๓ ประเภท คือ ผู้พูดเท็จ ทั้งๆ ที่รู้ ทรงแสดงว่า เป็นบุคคลผู้พูดเหม็นเหมือนคูถ, ผู้พูดคำจริง ทรงแสดงว่า เป็นบุคคลผู้พูดหอมเหมือนดอกไม้, ผู้พูดคำอ่อนหวานไพเราะไม่มีโทษ ทรงแสดงว่า เป็นบุคคลผู้พูดหวานเหมือนน้ำผึ้ง ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกที่นี่ .. คูถภาณีสูตร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
devout
วันที่ 7 เม.ย. 2551

สมดังพระพุทธพจน์ที่ว่า...

" ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี "

ภาษิตของพระองค์ประเสริฐยิ่งนัก

....สาธุ....

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 7 เม.ย. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Pararawee
วันที่ 7 เม.ย. 2551
อนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 7 เม.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

ชอบการนำเสนอในรูปแบบนี้จัง เมื่อก่อนเวลาคลิกไปอ่านพระสูตร ต้องดาวน์โหลดเป็นไฟล์กว่าจะได้เปิดอ่านแต่คุณคำปั่นกรุณาด้วยกุศลวิริยะ พิมพ์แยกไว้ให้ คลิกเข้าไปอ่านอย่างง่ายๆ ได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหัวข้อ

ขอขอบพระคุณจริงๆ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 เม.ย. 2551

การพูดเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ควรคิดก่อนพูดขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 8 เม.ย. 2551

เห็นด้วยกับคุณภรภาอร ครับ ชื่อกลุ่มข้อมูล " ข้อความจาก ......................... " ก็ทำให้เข้าใจได้ชัดเจนดี ถ้าทำไปเรื่อยๆ ต่อไปจะใช้เป็นที่อ้างอิงและเป็นแหล่งค้นคว้า ที่สะดวก

ขออนุโมทนากับผู้ที่คิดชื่อและการแบ่งหมวดหมู่ นี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 8 เม.ย. 2551

วันหนึ่งๆ ปุถุชนพูดมาก และก็พูดด้วยอกุศลจิตเสียส่วนมากขณะที่หลงลืมสติ ขณะนั้นย่อมมีโอกาสพูดคำที่เป็นวจีทุจริตได้เสมอผู้อบรมเจริญปัญญา จึงควรฉลาดในถ้อยคำที่จะเสวนากับผู้อื่น

...อนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 8 เม.ย. 2551

วาจาที่จริงเป็นประโยชน์ รู้จักกาลเทศะ จึงจะพูด วาจาใดจริงแต่ไม่เป็นประโยชน์ไม่ควรพูดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
prissna
วันที่ 8 เม.ย. 2551


สมดังคำโบราณว่า อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ตุลา
วันที่ 9 เม.ย. 2551

ขอกราบบูชาคุณพระรัตนตรัย

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะถูกผิดในมนุษย์เพราะพูดจา (กลอนแปดของท่านสุนทรภู่)

คำพูดที่ดีเกิดจากกุศลจิต และเป็นความจริงใจของผู้พูด ย่อมนำมาซึ่งประโยชน์แก่ผู้พูดและผู้ฟังค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ