หากยังศึกษาไม่ครบ ก็ไม่อาจสรุปเนื้อหาในส่วนนั้นๆ

 
เจริญในธรรม
วันที่  10 มี.ค. 2551
หมายเลข  7792
อ่าน  1,264

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยและเป็นที่พึ่งอันสูงสุด

เรียนถามท่านผู้รู้ธรรม และผู้ที่แตกฉานในพุทธพจน์ ขอถามเพื่อความกระจ่างในพุทธพจน์นะครับ เพราะพระธรรมของพระองค์ลึกซึ้งและละเอียดลออมากจริงๆ ครับ บางครั้งต้องอ่านให้เข้าใจ และก็ต้องอ่านจนแตกฉานในพุทธพจน์ ผมเองก็ยังอ่านไม่จบ ๙๑ เล่มและก็ยังไม่ใช่ผู้ที่แตกฉานในพระพุทธพจน์เลย จึงขอคำแนะนำผู้ที่แตกฉานในพุทธพจน์ด้วยครับ

๑. พระธรรมของพระองค์ หากยังศึกษาไม่ครบทั้งหมด ก็ไม่อาจสรุปเนื้อหาในส่วนนั้นๆ ใช่หรือไม่ ขอท่านช่วยพิจารณาตัวอย่างบทพระวินัยข้างล่างนี้ครับ

๒. เช่น การรับเงิน หากลองอ่านพระวินัยในเล่มแรกๆ จะเห็นว่า เป็นข้อห้ามเด็ดขาด มีเหตุเกิดขึ้น พระองค์จึงกำหนดข้อห้ามขึ้นมา และเป็นอาบัติ นิสสัคคีย์ปาจิตตรีย์ แต่หากอ่านไปจนจบ จะมีว่า หากจะถวาย ก็ต้องให้แก่ไวยาวัจกรณ์ หรือผู้ที่ทำกิจแทนสงฆ์ได้ ซึ่งเป็นการขยายความในตอนหลัง (ผมยังไม่ได้อ่านนะครับ มีท่านหนึ่งที่ศึกษาธรรมในพระไตรปิฏกมานาน บอกกับผมเช่นนั้น)

๓. และน้ำปานะก็เช่นกันหรือไม่

คำอธิบายจากอรรถกถา

สาลุกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นเง่าอุบลแดงและอุบลเขียวเป็นต้นทำ. ผารุสกปานะนั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลมะปราง อย่างอัมพปานะ. อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร. สุกด้ายไฟไม่ควร

ขอผู้แตกฉานในพุทธพจน์นี้อีกครั้งครับ ผมไม่แน่ใจว่าสุกด้วยไฟนี้ มีข้อยกเว้นอะไรหรือไม่ เพราะผมเห็นในปัจจุบัน พระฉันน้ำเก๊กฮวย น้ำมะตูม มากมายเกือบทุกวัด ทุกนิกาย เป็นต้น จะมีข้ออรรถอะไรใน ตอนท้ายๆ ของพระวินัยปิฏกหรือเปล่า ที่จะอาจขยายความในเรื่อง การฉันน้ำปานะ โดยสุกด้วยไฟได้ เพิ่มเติมหรือไม่

๔. คำว่าสุกด้วยไฟไม่ควรนั้น อาจหมายถึง นำผลนั้นซึ่งดิบๆ อยู่มาทำการสุกด้วยไฟหรือไม่ และหากผลสุกอยู่แล้วก็น่าจะต้มได้หรือไม่ หรืออาจจะสุกด้วยการย่างหรือการเผาด้วยไฟ แต่ไม่ใช่ต้มหรือไม่ต้องช่วยกันลองตีความ อย่างละเอียดด้วยครับ ผมไม่แน่ใจ หากสุกด้วยไฟไม่ควร บทนี้น่าจะเป็นคำว่า ต้มไม่ควรหรือไม่ ทำไมไม่กำหนดตรงๆ ไปเลยว่าต้มไม่ควร ซึ่งในพุทธกาล การต้มก็มีแล้ว เพราะผมคิดว่า พระธรรมของพระพุทธองค์ ไม่น่าจะมาตีความกันซับซ้อนกันอีกนะครับ เพราะจะทำให้ผู้ที่ศึกษา หลงไปจากพระธรรมของพระพุทธองค์ได้

ขออนุโมทนาในธรรมทานด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 11 มี.ค. 2551

๒. เพราะทรงอนุญาต ให้ยินดีในของที่เป็นกัปปิยะ ที่เกิดไวยาวัจจกรนั้นถวาย ไม่ใช่ยินดีในเงินทอง
๓. และ ๔.ถ้าตามพระวินัยจริงๆ น้ำปานะที่ถูกต้อง ต้องไม่ผ่านการต้ม ถ้าผ่านการต้มฉันได้เฉพาะในกาลเท่านั้น คำว่าสุกด้วยไฟก็คือ การนำไปต้มที่เตาไฟ เพราะในยุคนั้นการทำน้ำปานะ ขั้นตอนง่ายๆ คือ นำผลไม้สดมาคั้น จากนั้นกรองเอาเฉพาะน้ำเท่านั้น ถวายแก่บรรพชิต ท่านก็ดื่มได้เลย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ