ปฐมสัปปายสูตร - ทุติยสัปปายสูตร - ๐๘ มี.ค. ๒๕๕๑

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 มี.ค. 2551
หมายเลข  7665
อ่าน  1,709

สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๘ มี.ค. ๒๕๕๑ เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐น.

๙. ปฐมสัปปายสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง

และ

๑๐. ทุติยสัปปายสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง [ปฐมสัปปายสูตร ที่ ๙]


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 มี.ค. 2551

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ... ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง [ทุติยสัปปายสูตร ที่ ๑๐]


ระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๗

ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง

[อรรถกถาทุติยสัปปายสูตรที่ ๑๐]

ในทุติยสัปปายสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้งทรงแสดงการยึดถือตัณหา มานะ ทิฏฐิด้วยอย่างละ ๓บท มีอาทิว่า เอตํ มม ดังนี้ จึงทรงแสดงเทศนา โดยปริวัตตนัย ๓. แต่เมื่อว่าโดยลำดับในพระสูตรทั้ง ๓ นี้ พระองค์ตรัสมรรคที่ ๔ พร้อมด้วยวิปัสสนา.

จบ อรรถกถาทุติยสัปปายสูตรที่ ๑๐

จบ สัพพวรรคที่ ๓

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 4 มี.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 4 มี.ค. 2551

ในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงเลย ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
spob
วันที่ 4 มี.ค. 2551

ฏีกาสมุคฆาตสัปปายสูตรที่ ๑

ชื่อว่า เป็นอุปการะ เพราะนำมาซึ่งความเพิกถอนความสำคัญนั้นได้ฯ คำว่า จากสิ่งที่สำคัญนั้น คือ จากอาการที่สำคัญอยู่นั้นฯ คำว่า สิ่งนั้น ได้แก่ สิ่งที่สำคัญอยู่นั้นฯ

คำว่า โดยอาการอย่างอื่น หมายความว่า ย่อมสำคัญผิดจากอาการมีไม่เที่ยงเป็นต้น โดยประการใด, สิ่งนั้น ก็ย่อมมีโดยอาการอย่างอื่นมีความไม่เที่ยงเป็นต้นฯ

ข้อที่ว่า ความเป็นอย่างอื่น คือความเปลี่ยนแปลง หมายความว่า เป็นไปโดยประการอื่น คือ ต้องเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น โดยสองประการ คือ ชราและมรณะ เพราะเป็นสภาพที่เกิดขึ้นและทำลายไป

สัตวโลกผู้มักเป็นไปโดยประการอื่น เพราะเข้าถึงความเป็นอย่างอื่น แม้เป็นผู้เป็นอยู่อย่างนี้ ผู้ติดอยู่ในภพทั้งหลาย ซึ่งมีการเสื่อมและแตกไปเป็นสภาพ ชื่อว่า ยังเพลิดเพลินภพที่สูงขึ้นไปเป็นอย่างยิ่งเป็นทีเดียวฯ

ข้อที่ว่า ทรงชักเอาข้อที่บุคคลถือเอาในหนหลังนั่นแลมาแสดงอีก หมายความว่า ทรงแสดงธรรมเป็นเครื่องถือเอาแม้อีก โดยถือเอาธรรมที่ทรงระบุไปแล้วว่า ย่อมไม่สำคัญจักษุ นั่นแหละโดยเป็นอย่างเดียวกันด้วยปริยายแห่งขันธ์เป็นต้น ดังนี้ว่า ซึ่งขันธ์ อายตนะ ธาตุ

จึงเป็นฐานะละ ๘ ในวาระทั้งหมดพร้อมด้วยบทที่ตรัสไว้ในตอนท้ายว่า ตโต ตํ โหติ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงแสดงว่า อฏฺฐจตฺตาลีสาย ฐาเนสุ ในฐานะ ๔๘ฯ

จบ ฏีกาสมุคฆาตสัปายสูตรที่ ๑

หมายเหตุ ในฏีกาสมุคฆาตสารุปปสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกของพระสูตรวรรคนี้ ช่วยคิดให้ว่าได้ฐานะ ละ ๘ ในทุกวาระอย่างไร?

ในจักขุทวารได้ ๗ วาระ คือ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัสสะ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนาฯ แม้ในโสตทวารเป็นต้นก็มีนัยนี้ ดังนั้น จึงมี ๗ วาระ คุณ ๖ ทวาร ได้ทั้งหมด ๔๒ วาระฯ

ต่อมาเพิ่มข้อที่ทรงนำธรรมที่ตรัสแล้วมาสรุปว่า สิ่งนั้นล้วนเปลี่ยนแปลงออกไปจากที่สำคัญนั้น เช่น จักขุ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปไปเป็นอย่างอื่นจากอาการที่ตนยึดไว้นั้น ท้ายแต่ละวาระ อีก ๑ วาระ จึงเป็น ๘ วาระ เมื่อคูณด้วยทวารทั้ง ๖ จึงเป็น ๔๘ วาระ

อนึ่ง ในฏีกาสูตรนั้น ยังระบุว่า มีคัมภีร์อรรถกถาบางฉบับ (น่าจะเป็นฉบับของไทย) มีข้อความว่า จตุจตฺตาฬีสาธิกสเตสุ (หมายถึงในสูตรนั้น) ซึ่งท่านบอกว่า ปมาทเลขา เขียนไว้ด้วยความเผลอ จึงไม่ถูกต้อง. ดังนั้น เมื่อเทียบเคียงกับสูตรนั้น แม้ในสูตรนี้ ในฉบับของไทยก็เป็น อฏฺฐจตฺตาฬีสาธิกสเตสุ ด้วยเหตุนี้ ในอรรถกถาฉบับแปล ท่านจึงว่า เป็นฐานะ ๑๔๘ ฯ แต่ในฏีกานี้แปลตามฉบับฉัฏฐสังคายนา จึงแปลว่า ฐานะ ๔๘ฯ

ฏีกาสมุคฆาตสัปปายสูตรที่ ๒

ในคำว่า ทสฺเสตฺวา (ครั้นทรงแสดง) นี้ ตฺวา ปัจจัย นี้เห็นใช้ในอรรถว่า กำหนด, อีกนัยหนึ่ง ใช้ในอรรถว่า เหตุฯ จริงอย่างนั้น เทสนาปริวัตต์ ๓ ของพระศาสดา ซึ่งมีการถือเอานั้นเป็นเหตุ ทรงกำหนดด้วยการถือเอา ๓ หมวดที่เป็นไปในสันดานของสัตว์อันหาเบื้องต้นมิได้ เพราะเป็นเทสนาที่ทรงให้เป็นไป เพียงเพื่อการละการถือเอานั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสวิปัสสนาให้ถึงพระอรหัตต์ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงแสดงว่า ตรัสมรรคทั้ง ๔ พร้อมทั้งวิปัสสนาฯ

จบ ฏีกาสมุคฆาตสัปปายสูตรที่ ๒

หมายเหตุ ฏีกาทั้งสองสูตรนี้ ข้าพเจ้า Spob แปลจากคัมภีร์สังยุตตฏีกา ทุติยภาค ฉบับมหาจุฬา ฯ หน้า ๓๔๓-๓๔๔

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 5 มี.ค. 2551

ขออนุโมทนาในวิริยะของคุณ Spob เป็นอย่างยิ่งที่ได้นำข้อความจากฎีกา มาโพสต์ เพื่อการศึกษาที่ละเอียดและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ajarnkruo
วันที่ 5 มี.ค. 2551

อนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณ Spob ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
happyindy
วันที่ 7 มี.ค. 2551
อนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
suwit02
วันที่ 3 ธ.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ