ธรรมของสภา [โขมทุสสสูตรที่ ๑๒]

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 ก.พ. 2551


ในที่ใดไม่มีคนสงบ ที่นั้นไม่ชื่อว่า

สภา คนเหล่าไดไม่กล่าวธรรม คนเหล่า

นั้นไม่ชื่อว่าคนสงบ คนละราคะโทสะ

และโมหะแล้วกล่าวธรรมอยู่ คนเหล่านั้น

ชื่อว่าคนสงบ.

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 24 ก.พ. 2551

ถ้าอยู่ในคนหมู่มาก ไม่นั่งนิ่งก็สนทนาธรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
happyindy
วันที่ 25 ก.พ. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 25 ก.พ. 2551

กุศลจิตที่เกิดในขณะที่เราสนทนาธรรมกัน ก็เป็นความสงบครับ ...อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 2 มี.ค. 2551

เชื่อว่า คนสงบ แปลจาก สัตบุรุษ

อยากทราบว่า สัตบุรุษ แปลได้กี่อย่างครับ

คนสงบ นี่ ฟังดูแคบไปอย่างไรชอบกล ครับ

ผมทับศัพท์แล้วอ่านดู ชื่นใจกว่าเยอะเลย

ท่านเห็นอย่างไรบ้างครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 2 มี.ค. 2551


ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สัตบุรุษ ผู้ที่สงบ สงบในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงนั่งนิ่งๆ แต่หมายถึงการสงบจากกิเลสครับ และอีกความหมายหนึ่งหมายถึง บัณฑิตก็ได้ครับ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

อรรถกถาอรัญญสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า สนฺตานํ ได้แก่ ผู้มีกิเลสอันสงบระงับแล้ว อีกอย่างหนึ่ง

ได้แก่บัณฑิต. แม้บัณฑิตท่านก็เรียกว่า สัตบุรุษ เช่นในคำมีอาทิว่า สนฺโต

ทเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ ดังนี้ก็มี ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ