ประเภทของภวังคจิต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ม.ค. 2551
หมายเลข  7085
อ่าน  2,448

เมื่อรูปใดเกิดขึ้นกระทบกับปสาทรูปใด และกระทบภวังค์ วิถีจิตจะเกิดขึ้นทันทีไม่ได้ แต่เพื่อกำหนดให้รู้ว่ารูปเกิดขึ้นกระทบภวังคจิตขณะใด จึงบัญญัติภวังคจิตที่รูปเกิดขึ้นกระทบนั้นว่า “อดีตภวังค์” คือ เป็นภวังค์ที่เหมือนกับภวังค์ก่อนๆ แม้ว่ารูปจะเกิดดับเร็วมาก แต่จิตก็เกิดดับเร็วกว่ารูป สภาวรูปรูปหนึ่งเกิดดับเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ

ฉะนั้น อดีตภวังค์ คือ ขณะที่รูปเกิดกระทบกับปสาทรูปและกระทบกับภวังค์ขณะนั้น ทั้งนี้ เพื่อให้รู้ว่ารูปที่กระทบปสาทรูปและกระทบกับอตีตภวังค์นั้นจะดับเมื่อไร เพราะรูปหนึ่งมีเพียงอายุจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะเท่านั้น

เมื่ออดีตภวังค์ดับไปแล้วก็เป็นปัจจัยให้ภวังคจิตดวงต่อไปไหวเป็น “ภวังคจลนะ” ซึ่งยังเป็นภวังคจิตอยู่ เพราะวิถีจิตจะเกิดขึ้นคั่นกระแสของภวังค์ทันทีไม่ได้ เมื่อภวังคจลนะดับไปแล้วภวังคจิตที่เกิดต่อเป็น “ภวังคุปัจเฉทะ” คือ เป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสของภวังค์เพราะเป็นภวังคจิตดวงสุดท้ายของกระแสภวังค์ เมื่อภวังคุปัจเฉทะดับไปแล้ว วิถีจิตจึงเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ปรากฏทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจได้

ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 3 เม.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Selaruck
วันที่ 4 ก.ค. 2562

กราบแทบเท้าระลึกถึงพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์

กราบอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 23 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Kalaya
วันที่ 13 เม.ย. 2564

สาธุค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ