อยากให้คนอื่นมีความสุข

 
oom
วันที่  8 ม.ค. 2551
หมายเลข  6901
อ่าน  1,155

การที่เราปรารถนาดีอยากให้ทุกคนที่อยู่ใกล้ชิดเรามีความสุข ยอมตามใจคนอื่นตามความเหมาะสม ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ถูกใจอีกคน แต่ก็ไม่มีปัญหาอะไร การที่เรา ยอมตามใจนั้น ถือเป็นเมตตาได้หรือไม่ หรือว่าเป็นแค่ความหวังดี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 8 ม.ค. 2551

ควรทราบความจริงว่า การกระทำบางอย่างที่เหมือนกันแต่สภาพจิตต่างกัน ย่อมมีได้ การที่จะรู้ว่า ขณะไหนเป็นเมตตาหรือไม่ใช่เมตตา ผู้นั้นย่อมทราบในขณะ นั้นเอง ดัวยสติและสัมปชัญญะ อนึ่ง สภาพจิตเกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็วมาก ไม่ควรเหมารวมเหตุการณ์ทั้งหมดว่าเป็นเมตตาทั้งหมด หรือไม่ใช่เมตตาทั้งหมด แต่ต้องอาศัยการอบรมสติและสัมปชัญญะจึงจะทราบความละเอียดของสภาพจิตได้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 9 ม.ค. 2551

เมตตาคือ ความรู้สึกที่เป็นมิตร หวังดี เป็นเพื่อน การตามใจคนอื่นในทางกุศลดี เป็น เมตตาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การยอมตามใจด้วยโลภะหรือเมตตาก็ได้ จิตเกิดดับสลับกันเร็วมากครับ แม้การตามใจเป็นคนเทียมมิตรก็ได้ เช่น หวังประจบ (มิตรหัวประจบ)

[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๘๔

กถาว่าด้วยมิตรเทียม

[๑๘๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ

ตามใจเพื่อน ให้ทำความชั่ว (จะทำชั่วก็คล้อยตาม) ๑

ตามใจเพื่อน ให้ทำความดี (จะทำดีก็คล้อยตาม) ๑

ต่อหน้าก็สรรเสริญ ๑

ลับหลังนินทา ๑

ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 10 ม.ค. 2551

อนุโมทนา..คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
oom
วันที่ 10 ม.ค. 2551

การที่บุคคล คนหนึ่งทำอะไรต่างๆ เพื่อส่วนรวมก่อนเสมอ โดยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ ส่วนตนจัดว่าบุคคลนั้นเจริญกุศลธรรมในข้อใดบ้าง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 10 ม.ค. 2551

ทำเพื่อส่วนร่วม โดยเป็นบุญประการใด ประการหนึ่งก็ได้ เช่น การช่วยเหลือ การให้ การแสดงธรรม เป็นต้น แล้วแต่ว่าจะทำเพื่อส่วนร่วมเป็นประเภทใด แต่ต้องทราบ ว่ากุศลที่ถูกคืออะไร เพราะถ้าไม่เข้าใจกุศลจริงๆ ย่อมสำคัญว่าสิ่งที่ทำเป็นกุศลและทำเพื่อส่วนรวม เช่น การแสดงพระธรรมที่ผิดกับคนหมู่มาก เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
oom
วันที่ 18 ม.ค. 2551

การพูดธรรมะให้คนอื่นฟัง ถ้ากรณีถ้าเราจำผิดพลาด จะกลายเป็นบาปด้วยหรือไม่ โดยที่เราไม่ได้เจตนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 19 ม.ค. 2551

ถ้าเราไม่มีเจตนา ไม่บาป แต่ภายหลังรู้ว่าพูดธรรมะผิด ก็ให้ไปพูดแก้ไขใหม่ได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แช่มชื่น
วันที่ 19 ม.ค. 2551

พูดแต่ธรรมะที่เราเข้าใจจริงๆ ดีกว่า เพราะถ้าพูดเกินกว่าที่เราเข้าใจ ส่วนใหญ่ เราจะอิงความคิดเห็นของเราเป็นหลัก ทำให้การกล่าวพระธรรมคลาดเคลื่อน ถ้าผู้ที่ฟังเรา เขายังไม่ได้ศึกษาพระธรรมส่วนละเอียด เขาอาจจะได้รับผลเสียจากการจำสิ่งที่เข้าใจผิดได้ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ