ลื่นๆ คืออะไรในลักษณะของสถาพธรรมที่กำลังปรากฎ

 
jurairat
วันที่  8 ม.ค. 2551
หมายเลข  6905
อ่าน  1,527

คือสภาพธรรมที่กำลังปรากฎทางกาย จะอธิบายถึงความแตกต่างของรูปและนามที่ลื่น ได้อย่างไร


Tag  ลื่น  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 9 ม.ค. 2551

สภาพธรรมที่มีจริงและกำลังปรากฏในชีวิตประจำวันไม่พ้น จิต เจตสิก รูป จิต และ เจตสิก เป็นสภาพรู้ รูปเป็นสภาพไม่รู้ สิ่งที่กำลังปรากฏหมายถึงขณะนั้นจิตกำลังรู้ อารมณ์นั้นอยู่ ถ้าเป็นทวารตา สิ่งที่กำลังปรากฏ คือสี รูปารมณ์ ถ้าเป็นทวารหู สิ่งที่กำลังปรากฏ คือเสียง สัททารมณ์ ถ้าเป็นทวารจมูก สิ่งที่กำลังปรากฏ คือกลิ่น คันธารมณ์ ถ้าเป็นทวารลิ้น สิ่งที่กำลังปรากฏ คือรส รสารมณ์ ถ้าเป็นทวารกาย สิ่งที่กำลังปรากฏ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว โผฏฐัพพารมณ์ ถ้าเป็นทวารใจ สิ่งที่กำลังปรากฏ คือธรรมทั้งหมด จิต เจตสิก รูป ดังนั้นที่ว่าลื่นๆ ปรากฏทางไหนใช่กายหรือเปล่า

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 9 ม.ค. 2551

ลื่นๆ เป็นธรรมะที่ปรากฏได้ทางกาย เช่น ขณะที่สติเกิดระลึกรู้ตรงลักษณะที่เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ว่าเป็นธรรมะอย่างหนึ่งเกิดแล้วดับ ไม่ใช่เรา ไม่มีสัตว์ บุคคล ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 9 ม.ค. 2551
ขอบพระคุณค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 ม.ค. 2551

ขณะที่คิดนึกถึงสภาพธรรม (ลื่นๆ) กับขณะที่รู้ลักษณะจริงๆ ย่อมต่างๆ กันกับการคิดนึกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
jurairat
วันที่ 10 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ ถ้าสติไม่เกิดย่อมไม่อาจรู้จักสภาพธรรมที่เป็นของจริงได้ว่า เป็นจิตที่คิดนึกถึงชื่อหรือสภาพธรรมที่กำลังปรากฎทางกายขณะนั้น ขณะทำงานก็ กระทบสัมผัสกับสิ่งต่างมากมาย เมื่อสติเกิด รู้ถึงสภาพธรรมที่กำลังปรากฎบางครั้ง ก็รู้ว่าลักษณะใดเป็นนามธรรมลักษณะใดเป็นรูปธรรม และรู้ว่าอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาหลงลืมสติ ไม่มีสภาพธรรมที่เป็นจิต เจตสิกหรือรูป ปรากฎให้รู้ได้ รู้เป็นเรื่องราว ไปหมดและส่วนมากจะเป็นคิดนึก

ขอบพระคุณค่ะ

ดิฉันทราบแน่นอน และมั่นคงในพระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าค่ะ ว่าหนทางเดียวที่จะรู้และเข้าใจถึงสัจจธรรมที่ทรงตรัสรู้และทรงแสดงได้นั้นคือการเจริญสติปัฏฐานเท่านั้น ที่คอยถามถึงเรื่องราวหรือลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎแต่ละทวารนั้น เพื่อให้สัญญา (ความจำ) มั่นคงไม่วิปลาส เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นสัตว์บุคคลไปอีก แต่ก็มิได้หวังให้สติเกิดรวดเร็วจนรู้แจ้งบรรลุ ถึงความเป็นพระโสดาบันทันที หรือในวันในพรุ่ง เหมือนเตือนตัวเองอย่ามัวเมา ประมาทในการหลงลืมสติ เพลิดเพลินกับการเจริญอกุศลมากกว่ากุศลธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงแล้วนั้น ลึกซึ้ง จึงเห็นได้ยาก ด้วยพระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณและพระบริสุทธิคุณของพระองค์ จึงทรงแสดงไว้อย่างละเอียดเพื่อให้เราศึกษาจนเข้าใจและรู้ตามที่พระองค์ทรงตรัสไว้ได้จริง เพราะธรรมะมีให้พิสูจน์อยู่ตลอดเวลา เมื่อสติเกิดก็รู้ได้จริงๆ ค่ะแต่ไม่ง่ายเหมือนพูดตามหรอกค่ะ ดิฉันยังรู้นิดๆ หน่อยๆ ค่ะ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านที่เมตตาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นทุกท่านอีกครั้งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
lichinda
วันที่ 10 ม.ค. 2551

ก็ความไม่ประจักษ์ในสภาพธรรมตามความเป็นจริงทางกายว่ากระทบสัมผัส ในสภาพที่ เย็นร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ทางกาย บุคคลจึงรู้สภาพธรรมโดยรวมทางใจต่อจากที่ ปรากฏทางกายผิดไปจากสภาพความเป็นจริงว่าเป็นสภาพที่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว แล้วยึดเอา ถือเอา ว่าเป็นตัวตน แล้วติดข้อง ยินดี ไม่ละคลาย แท้งจริงแล้ว "สภาพที่ลื่น" หามีไม่

ขอสนทนาธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jurairat
วันที่ 10 ม.ค. 2551

ตามความเห็นของคุณ lichinda ว่าสภาพลื่นๆ ไม่มีในสภาพธรรมะที่เป็นจริง มันเป็นลักษณะของการกระทบสัมผัสทางกาย แค่อ่อนๆ เช่นเดียวกับนุ่มๆ สภาพธรรมะนุ่มไม่มี มีแต่อ่อนใช่ไหมคะ จริงๆ แล้วเราจะเรียกว่าอะไรก็ได้ที่กระทบทางกาย ให้เรารู้ได้ เป็นธรรมะที่เกิดแล้วก็ดับไปอย่างนั้นหรือคะ สนทนาต่อให้เข้าใจอีกหน่อยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
lichinda
วันที่ 12 ม.ค. 2551

ผมเข้าใจว่า สภาพของรูปที่สัมผัสได้ทางกายมีแค่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว เท่านั้น สภาพที่ลื่นเป็นการรู้อารมณ์ทางใจ ที่ปะปนกันของ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว เป็นธรรมารมณ์ที่กระทบทางใจ เหมือนรสต่างๆ ที่กระทบลิ้น ทำให้อร่อย ยินดี พอ ใจ แท้จริงเป็น เปรี๊ยว หวานมัน เค็ม ขม เผ็ด ปะปนกัน เพราะเรายังไม่ประจักษ์ใน ความต่างกันของ รูป-นาม ครับขอสนทนาธรรมด้วยครับ ผมคิดว่าการสนทนาธรรม คือการแลกเปลี่ยน โต้ตอบสองทางผู้ถามพึงถามก่อน ถ้าผู้ตอบไม่รู้ ผู้ถามพึงตอบ ถ้าผู้ตอบรู้ ผู้ถามพึงฟัง ถ้าตอบ ผิดพึงแย้ง ถ้าทั้งผู้ถาม ผู้ตอบไม่รู้ พึงถามผู้รู้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ป้าจาย
วันที่ 14 ม.ค. 2551

ถ้าตามที่ป้าเข้าใจ ลื่นเป็นสภาพที่ปรากฏทางกาย สภาพธรรมที่มีจริงนี้ จะปรากฏให้จิตรู้ได้ ๓ ลักษณะ เย็น หรือ ร้อน (เย็นน้อย) อ่อน หรือ แข็ง (อ่อนน้อย) ตึง หรือ ไหว (ตึงน้อย) คุณจุไรรัตน์คิดว่า ลื่น เย็นหรือ อ่อน หรือ ตึงไม่มีเกินไปจากนี้ค่ะ และลื่นเป็นรูปธรรม สภาพรู้ลื่น เป็นนามธรรม ไม่มีเกินไปกว่านี้อีกแน่นอน ต่อไปก็ไม่ต้องถามว่า สิ่งนี้ คืออะไร สิ่งโน้นคืออะไร สิ่งไร ที่ไม่รู้ ไม่มีสภาพรู้ สิ่งนั้นเป็น รูปธรรม สิ่งไร ที่เป็นสภาพรู้ สิ่งนั้นเป็นนามธรรม เมื่อแยกสองสิ่งนี้ ได้ด้วยความ เข้าใจเบื้องต้นอย่างนี้แล้ว แม้ไม่ใส่ชื่อ เราก็มั่นคงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
jurairat
วันที่ 16 ม.ค. 2551

ยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ ที่จะสนทนาต่อ วันนี้ลำบากนิดหน่อยเพราะทานยาที่หมอ จัดให้แล้วง่วงมาก เมื่อวานก็ตอบไปแล้วใกล้จะเสร็จแต่ยังไม่ทันคลิ๊กที่ส่งข้อความ ไปหาข้อมูลในเว็ปหน้าอื่นเพื่ออ้างอิง เกิดความผิดพลาดข้อความหายหมด เลยเลิก พิมพ์ต่อ คุณ lichinda ต้องใจเย็นและอดทนที่จะฟังและฟังให้เข้าใจ ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานเป็นปรกติจะไม่มีความเห็นผิดว่าสภาพธรรมะอยู่ปะปนกันระหว่างรูปธรรมและนามธรรม เวลาพิจารณาแม้ขั้นคิดซึ่งยังไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน คิดตามเหตุ ตามผลนะคะ ลักษณะของรูปคือ สภาพที่ไม่รู้อะไรเลย แต่นามธรรมเป็นสภาพรู้ เช่น เห็น รู้เสียง (ได้ยินเสียง) รู้กลิ่น (ได้กลิ่น) รู้รส รู้เย็น รู้ร้อน รู้อ่อน รู้แข็ง รู้ตึง และ รู้ ไหว ลองสังเกตทีละทวารนะคะ เมื่อสติเกิด เช่น เห็นกับสิ่งที่ปรากฏทางตา และไม่ได้รู้ลักษณะเห็นกับสิ่งที่ปรากฎทางตาพร้อมกัน ทวารอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ขออนุญาตสนทนาแค่นี้ก่อนนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
lichinda
วันที่ 19 ม.ค. 2551

คุณ jurairat ถีนมิทธะ เกิดเพราะทานยาหรือครับ! จิตเกิดที่ละขณะ : ไม่ได้รู้ลักษณะเห็นกับสิ่งที่ปรากฎทางตาพร้อมกัน ทวารอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
แช่มชื่น
วันที่ 19 ม.ค. 2551

"ลื่น" เป็นบัญญัติ รู้ได้ทางมโนทวาร อันที่จริงกว่าจะรู้ว่าลื่น จิตเกิดดับนับไม่ถ้วนแล้วครับ กายที่กระทบสัมผัสกับ เย็น - ร้อน อ่อน - แข็ง ตึง - ไหว แล้วกายวิญญาณ เกิดดับสลับกับทางมโนทวารหลายขณะ ซึ่งจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฯลฯ ก็อาจจะเกิดดับสลับได้เช่นกัน) เมื่อยังไม่อาจจะประจักษ์ถึงการเกิดดับอันรวดเร็ว เราก็ไปยึดสภาพที่คิดนั้นว่า มาจากสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น ลื่นสบู่ ลื่นปลาไหล ฯลฯ ทั้งๆ ที่ความ จริงจิตที่รู้โผฏฐัพพะเกิดแล้ว และดับไปนานแล้ว ไม่ได้มีลื่นจากสิ่งนั้นจริงๆ ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
jurairat
วันที่ 19 ม.ค. 2551

ง่วงเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แต่ยังต้องการเขียนข้อความ ก็ฝืนทำไปความผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อยๆ เข้า บางขณะหลับไปเลยก็มี ในที่สุดเลิกพิมพ์ วันนี้ก็ยังไม่แจ่มใสแต่ยังมีความพอใจที่จะแสดงความคิดเห็น ก่อนนอนอีกสักหน่อย ขอบคุณ คุณlichinda ที่กรุณาเตือนสติในการเขียนข้อความ อ่านแล้วตีความได้สอง นัย แต่ดิฉันตั้งใจจะตอบอย่างที่ คุณlichinda กล่าวไว้ในความคิดเห็นที่ 11 และขอ อภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

ขอบคุณ คุณแช่มชื่น ที่กรุณาแสดงความคิดเห็นให้เข้าใจในธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งดิฉันเข้าใจว่า "ลื่น" เป็นรูปธรรมที่ปรากฎทางกาย ลักษณะของปัฐวีธาตุปรากฎให้รู้ได้ทางกาย การรู้ลักษณะที่ลื่นๆ นั้นเป็น นามธรรม ถ้าดมดูก็มีกลิ่นให้รู้ได้ทางจมูกดิฉันไม่ได้สงสัยในคำบอกคำสอนหรอกค่ะ ถ้าพูดแล้วไม่ผิดในลักษณะของรูปธรรมและนามธรรม ถ้าสติสัมปชัญญะเกิดกับใครเขาผู้นั้นก็รู้ด้วยตัวของเขาเอง เมื่อเขามีความเข้าใจถูกต้องแล้วตามที่ได้ฟังมา แต่เพราะสติยังระลึกไม่ทั่ว (สำหรับดิฉันอง) ทั้งๆ ที่สภาพธรรมะมีปรากฎจริงๆ ให้ระลึกได้ตลอดเวลา แต่สติก็ยังไม่มีปัจจัยให้ระลึก การสนทนาธรรมก็เป็นปัจจัยหนึ่งให้สติเกิดระลึกได้ในธรรมะที่กำลังปรากฎ ส่วนมากเวลาถูสบู่ ถ้าสติเกิดจะ รู้ลักษณะที่ลื่นๆ เท่านั้นจะเป็นทางมโนทวารหรือปัญจทวาร ดิฉันก็ไม่สนใจรู้แค่รู้ก็ พอแล้ว คิดว่ารู้หยาบๆ ไปก่อนแล้วละเอียดจะตามมาเอง ส่วนเจ้าตัว "ลื่น" ดิฉัน พิจารณาตามคำบอกคำสอนว่าเป็นรูปธรรม ชาตินี้จะรู้มากน้อยแค่ไหนก็ไม่ได้สำรวจ แต่ก็มีคววมรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้น มากกว่าการที่ไม่ได้ยินได้ฟัง

ขอบพระคุณผู้ ตอบกระทู้ทุกท่าน และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
lichinda
วันที่ 10 ก.พ. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 9 โดย ป้าจาย

ถ้าตามที่ป้าเข้าใจ ลื่นเป็นสภาพที่ปรากฏทางกาย สภาพธรรมที่มีจริงนี้ จะปรากฏให้ จิตรู้ได้ ๓ ลักษณะ เย็น หรือ ร้อน (เย็นน้อย) อ่อน หรือ แข็ง (อ่อนน้อย) ตึง หรือ ไหว (ตึงน้อย) คุณจุไรรัตน์คิดว่า ลื่น เย็น หรือ อ่อน หรือ ตึง ไม่มีเกินไปจากนี้ค่ะ และ ลื่น เป็นรูปธรรม สภาพรู้ลื่น เป็นนามธรรม ไม่มีเกินไปกว่านี้อีกแน่นอน ต่อไป ก็ไม่ ต้องถามว่า สิ่งนี้ คือ อะไร สิ่งโน้นคือ อะไร สิ่งไร ที่ไม่รู้ ไม่มีสภาพรู้ สิ่งนั้น เป็น รูปธรรม สิ่งไร ที่เป็นสภาพรู้ สิ่งนั้น เป็นนามธรรม เมื่อแยกสองสิ่งนี้ ได้ด้วย ความเข้าใจเบื้องต้นอย่างนี้แล้ว แม้ไม่ใส่ชื่อ เราก็มั่นคงค่ะ "สิ่งไร ที่ไม่รู้ ไม่มีสภาพรู้ สิ่งนั้น เป็นรูปธรรม สิ่งไร ที่เป็นสภาพรู้ สิ่งนั้น เป็น นามธรรม เมื่อแยกสองสิ่งนี้ ได้ด้วยความเข้าใจเบื้องต้นอย่างนี้แล้ว แม้ไม่ใส่ชื่อ เรา ก็มั่นคง" ขอทราบว่าแยกอย่างไร รูปธรรม กับ นามธรรม ปนกันอยู่หรือแยกกันอยู่หรือ โปรดแสดงธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
study
วันที่ 11 ก.พ. 2551

รูปธรรม กับ นามธรรม ไม่มีการปะปนกัน เข้ากันไม่ได้ เป็นสภาพธรรมคนละ ประเภทแต่เพราะอวิชชาปกปิดความจริงไว้ สัตว์ทั้งหลายจึงสำคัญผิดว่าปะปนกัน เป็นสิ่งเดียวกันแยกไม่ได้ และสำคัญว่าเป็นเราเป็นเขา เป็นสัตว์บุคคลตัวตน แต่ผู้มีปัญญาเห็นแจ้งความจริงย่อมรู้ชัดความจริงว่า รูปธรรมกับนามธรรม ไม่ใช่ อย่างเดียวกัน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
jurairat
วันที่ 12 ก.พ. 2551

ดิฉันได้ยินจากท่านอาจารย์สุจินต์แนะนำว่า ให้ระลึกศึกษาสภาพรู้ ซึ่งเป็น นามธรรมส่วนรูปธรรมไม่ใช่สภาพรู้อารมณ์ใดๆ การระลึกสภาพธรรมต้องเป็นสติ ปัฏฐานซึ่งระลึกในปรมัตถธรรม หมายความว่าต้องรู้ว่าขณะใดสติเกิดนอกนั้นหลงลืม สติ เพราะฉะนั้นรูปธรรมจึงไม่ปะปนกันกับนามธรรม แต่ใครจะรู้หรือไม่รู้เท่านั้น ขณะนี้รูปธรรมและนามธรรมก็กำลังเกิดดับอยู่เป็นปรกติ สติใครเกิดก็ระลึกศึกษา ไป บ่อยๆ เข้าจนปัญญารู้ชัดเห็นแจ้งเป็นปัญญาญาณ ถึงความแตกต่างของนามธรรม และรูปธรรมทางมโนทวารคือ นามรูปปริจเฉทญาณ ไม่ใช่ของแปลกเป็นเรื่องของ ธรรมชาติที่เกิดจากเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ถ้ายังประมาทอยู่ไม่ระลึกศึกษา ก็ไม่มีโอกาสได้ รู้จักธรรมชาติที่แท้จริง

ขออนุโมทนากับกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ