กถาวัตถุ ๑๐

 
ugoae
วันที่  7 ม.ค. 2551
หมายเลข  6897
อ่าน  3,829

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 397

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปิจฺโฉ แปลว่า ผู้ไม่ปรารถนา. กถาแห่งอัปปิจฉะนั้น ชื่อว่า อัปปิจฉกถา หรือกถาที่เกี่ยวด้วยความเป็นผู้มักน้อย ชื่อว่า อัปปิจฉกถา. ก็ในที่นี้ ว่าด้วยอำนาจความปรารถนา มีบุคคล ๔ จำพวก คือ อตฺริจฺโฉ ผู้ปรารถนายิ่งๆ ขึ้น ๑ ปาปิจฺโฉ ผู้ปรารถนาลามก ๑ มหิจฺโฉ ผู้มักมาก ๑ อปฺปิจฺโฉ ผู้มักน้อย ๑. บุคคลเว้นโทษ มีความเป็นผู้ปรารถนาเกินไปเป็นต้นเหล่านี้ให้ห่างไกล แล้วมีความประสงค์ซ่อนคุณที่มีอยู่และรู้จักประมาณในการรับชื่อว่า เป็นผู้มักน้อย.

บทว่า สนฺตุฏฐิ ในคำว่า สนฺตุฏฐิกถา นี้ ได้แก่ ความยินดีด้วยของๆ ตนคือด้วยของที่ตนได้มา ชื่อว่าสันตุฏฐิ. อีกอย่างหนึ่งการละความปรารถนาปัจจัยที่ไม่สม่ำเสมอ แล้วยินดีปัจจัยที่สม่ำเสมอชื่อว่าสันตุฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง ความยินดีด้วยของที่มีอยู่ คือปรากฏอยู่ ชื่อว่าสันตุฏฐิ. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เป็นอดีต ไม่บ่นถึงสิ่งที่เป็น อนาคต ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งเป็นปัจจุบัน ท่าน เรียกว่า ผู้สันโดษ.

วิเวก ในบทว่า ปวิเวกกถา นี้ มี ๓ อย่าง คือ กายวิเวก ๑ จิตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก ๑ ใน ๓ อย่างนั้น ความที่ภิกษุละความอยู่คลุกคลีด้วยหมู่แล้วอยู่สงัดในกิจทั้งปวงในทุกอิริยาบถอย่างนี้ คือ รูปหนึ่งเดิน รูปหนึ่งยืน รูปหนึ่งนั่ง รูปหนึ่งนอน รูปหนึ่งเข้าบ้านบิณฑบาต รูปหนึ่งกลับ รูปหนึ่งก้าวไป รูปหนึ่งอธิษฐานจงกรม รูปหนึ่งเที่ยวไป รูปหนึ่งอยู่ ชื่อว่ากายวิเวก. อนึ่ง สมาบัติ ๘ ชื่อว่า จิตวิเวก. พระนิพพาน ชื่อว่า อุปธิวิเวก. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่าก็สำหรับผู้ปลีกกายออกผู้ยินดีในเนกขัมมะ จัดเป็นกายวิเวก สำหรับผู้มีจิตบริสุทธิ์ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง จัดเป็นจิตวิเวก สำหรับผู้หมดอุปธิกิเลสผู้ถึงวิสังขาร จัดเป็นอุปธิวิเวก. วิเวกนั้นแหละ คือปวิเวก. กถาที่เกี่ยวด้วยความสงัด ชื่อว่า ปวิเวกกถา.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 8 ม.ค. 2551

ขอเชิญอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาครับ

เชิญคลิกอ่าน....

กถาวัตถุ ๑๐ ประการ [ปฐมวัตถุกถาสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 8 ม.ค. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 8 ม.ค. 2551
ขอบพระคุณมากค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 9 ม.ค. 2551

กถาวัตถุ ๑๐ ส่วนมากท่านใช้กับพระภิกษุ เน้นเรื่องการไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ เช่น ไม่คลุกคลีกับมาตุตาม ไม่ว่าจะเป็น เสียง หรือการเห็น เน้นเรื่องของความมักน้อย สันโดษเลี้ยงง่าย ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 13 ก.พ. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 8 เม.ย. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.พ. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ