อกิตติจริยา .. เพียงเสี้ยวหนึ่งของ ...สาธุ

 
khampan.a
วันที่  5 ม.ค. 2551
หมายเลข  6873
อ่าน  1,515

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 49

ข้อความตอนหนึ่งจาก...

อกิตติจริยา

อนย นยติ ทุมฺเมโธ อธุราย นิยุฺชติ ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต ปกุปฺปติ วินย โส น ชานาติ สาธุ ตสฺส อทสฺสน ฯ

"คนพาลย่อมแนะนำสิ่งไม่ควรแนะนำ, ย่อมขวนขวายในกิจ อันไม่ใช่ธุระ, คนพาลแนะนำให้ดีได้ยาก, พูดดีหวังจะให้เขา เป็นคนประเสริฐกลับโกรธ, คนพาลนั้นไม่รู้วินัย, การไม่เห็นคนพาลได้ เป็นความดี.

นย นยติ เมธาวี อธุราย น ยุฺชติ สุนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต น กุปฺปติ

วินย โส ปชานาติ สาธุ เตน สมาคโม ฯ "นักปราชญ์แนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ, ไม่ขวนขวายในกิจที่มิใช่ธุระ, นักปราชญ์แนะนำ ได้ง่าย, พูดหวังจะให้ดีก็ไม่โกรธ, นักปราชญ์ ย่อมรู้จักวินัย, การสมาคมกับนักปราชญ์ เป็นความดี"

[เล่มที่ 62] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

ข้อความตอนหนึ่งจาก...

อุมมาทันตีชาดก

สาธุ ธมฺมรุจี ราชา สาธุ ปฺาณวา นโร

สาธุ มิตฺตาน อทุพฺโภ ปาปสฺสากรณ สุข ฯ

"พระราชาผู้ชอบใจธรรม จึงจะดีงาม, นรชนผู้มีเป็นปัญญา เป็นคนดี, การไม่ประทุษร้ายต่อมิตร เป็นความดี, การไม่ทำบาป เป็นสุข"


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แช่มชื่น
วันที่ 5 ม.ค. 2551

ขอรบกวนคุณ khampan.a ช่วยอธิบายที่มาของคำว่า สาธุ ได้ไหมครับขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

คนพาลย่อมแนะนำสิ่งไม่ควรแนะนำ

คนพาล เมื่อมีความรู้อย่างคนพาล มีปกติอย่างคนพาลคือ ทุศีล เห็นผิด ก็ย่อมแนะนำสิ่งที่ผิด เช่น แนะนำให้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์..เป็นต้น หรือแม้ศึกษาธรรมก็เข้าใจหนทางผิด เห็นผิด ก็ย่อมแนะนำในสิ่งที่ผิด ชักชวนในหนทางผิด ดังข้อความในพระไตรปิฎก

[เล่มที่ 60] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 292

ข้อความบางตอนจาก....

อกิตติชาดก

บทว่า อนย นยติ ความว่า คนมีปัญญาทรามย่อมยึดถือสิ่งที่มิใช่เหตุว่า เป็นเหตุ คือย่อมคิดถึงกรรมที่ทารุณเห็นปานนี้ว่า เราจักกระทำปาณาติบาต เป็นต้นเลี้ยงชีพ. บทว่า อธุราย ความว่า คนมีปัญญาทราม ไม่ชักชวนในสัทธาธุระ ศีลธุระ และปัญญาธุระ ชักชวนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ม.ค. 2551

คนพาลย่อมขวนขวายในกิจอันไม่ใช่ธุระ

คนพาลเมื่อมีความรู้ผิด ก็ย่อมขวนขวายในสิ่งที่ผิด ประพฤติในสิ่งที่ผิด เช่น ประพฤติล่วงศีล หรือประพฤติปฏิบัติในหนทางที่ผิด ดังข้อความในพระไตรปิฎก

[เล่มที่ 60] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 292

ข้อความบางตอนจาก....

อกิตติชาดก

บทว่า ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ ความว่า การแนะนำชั่วนั่นแลเป็นความดีสำหรับผู้มีปัญญาทราม คือ เขาย่อมยึดเอาทุศีลกรรมห้าประการแล้วประพฤตินั่นแหละเป็นดี

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ม.ค. 2551

คนพาลแนะนำให้ดีได้ยาก

เมื่อจะแนะนำคนพาล ย่อมไม่น้อมประพฤติปฏิบัติตาม แม้แต่การเห็นประโยชน์ของสิ่ง ที่แนะนำ เพราะความไม่รู้และความที่เป็นคนพาลอันเนื่องจากกิเลสครอบงำ จึงแนะนำได้ยาก ไม่เชื่อฟังตามคำแนะนำ ดังข้อความในพระไตรปิฎก

[เล่มที่ 60] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 292

ข้อความบางตอนจาก....

อกิตติชาดก

อีกอย่างหนึ่ง เขาเป็นคนที่แนะนำได้ยากในทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพราะใครๆ ไม่สามารถที่จะแนะนำได้.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ม.ค. 2551

คนพาลพูดดีหวังจะให้เขาเป็นคนประเสริฐกลับโกรธ

เพราะคนพาลย่อมไม่เห็นประโยชน์ของกุศลธรรมและยินดีพอใจในรูป เสียงที่ดี เมื่อ ได้ยินเสียงที่ไม่ดี อันตำหนิตน ย่อมโกรธและคิดไม่ได้ว่าสิ่งที่แนะนำทำให้เจริญ เพียงแต่โกรธเท่านั้น ดังข้อความในพระไตรปิฎก

[เล่มที่ 60] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 292

ข้อความบางตอนจาก....

อกิตติชาดก

บทว่า สมฺมา วุตฺโต ความว่า เขาถูกกล่าวโดยเหตุโดยการณ์ย่อมโกรธเคือง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ม.ค. 2551

คนพาลนั้นไม่รู้วินัยคนพาลย่อมไม่รู้ว่าสิ่งใดควรประพฤติ กุศลควรประพฤติ ความเห็นถูกควรประพฤติเพราะคนพาลมากด้วยความไม่รู้

[เล่มที่ 60] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 292

ข้อความบางตอนจาก....

อกิตติชาดก

บทว่า วินย ความว่า เขาไม่รู้จักวินัยที่ต้องประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ เช่นว่าต้องก้าวไปอย่างนี้ เป็นอาทิ ทั้งไม่รับโอวาทด้วย.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ม.ค. 2551

การไม่เห็นคนพาลได้เป็นความดี

[เล่มที่ 60] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 292

ข้อความบางตอนจาก....

อกิตติชาดก

บทว่า สาธุ ตสฺส ความว่า เพราะเหตุเหล่านี้ การไม่พบเห็นเขาเสียได้นั่นแหละเป็นการดี.

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ม.ค. 2551

ส่วนบัณฑิตก็นัยตรงกันข้ามกับคำอธิบายของคนพาลที่ผ่านมา

ขออนุโมทนา สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ม.ค. 2551

พระราชาชอบใจธรรม จึงจะดีงาม

พระราชาผู้ประพฤติธรรม คือกุศลธรรมย่อมเป็นเป็นผู้ประกอบด้วยความดีงามคือกุศลธรรม จึงเป็นพระราชาที่ดีงาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

คำว่า สาธุ คือ ความดีงาม คือ ความประเสริฐสุด.
พระราชาทรงชื่อว่าเป็น

ผู้ชอบใจในธรรม เพราะอรรถว่า ทรงพอพระหทัยในวินิจฉัยธรรม ประเพณีธรรม และสุจริตธรรม. จริงอยู่ พระราชาเช่นนั้นแม้จำต้องสละพระชนชีพก็ไม่ยอมทรงทำกรรมอันมิใช่พระราชกรณียกิจ เพราะฉะนั้น จึงเป็นพระราชามีความดีงาม.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ม.ค. 2551

ความไม่ประทุษร้ายต่อมิตร เป็นความดี

การไม่เบียดเบียนประทุษร้ายทางกายและวาจา แต่ประกอบด้วยความหวังดีและประพฤติประโยชน์ต่อมิตรย่อมดีงามเพราะกุศลเป็นสิ่งที่ดีงาม

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

ข้อความบางตอนจาก...

อังกุรเปตวัตถุ

บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะการ ประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ม.ค. 2551

การไม่กระทำบาป เป็นสุข

การไม่กระทำบาป ย่อมไม่ได้รับผลกรรมของบาปนั้น และย่อมไม่เดือดร้อนใจเพราะเหตุแห่งการทำบาปนั้น จึงชื่อว่าเป็นสุข

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ.....

ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤกติธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ม.ค. 2551

อธิบาย สาธุ

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

ในคาถานั้น ศัพท์ว่า สาธุ นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมี วอนขอ, รับ,ปลอบใจ,

และดีเป็นต้น. จริงอย่างนั้น สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถ วอนขอ

ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ

เทเสตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อ

โปรดข้าพระองค์ด้วยเถิด. ใช้ในอรรถ รับ ได้ในประโยคเป็นต้นว่าสาธุ

ภนฺเตติ โข โส ภิกฺขุ ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา

ภิกษุรูปนั้นยินดีอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า.

ใช้ในอรรถ ปลอบใจ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ สาธุ สาริปุตฺต ดีละ

ดีละ สารีบุตร. ใช้ในอรรถ ดี ได้ในบาลีเป็นต้นว่า

สาธุ ธมฺมรุจิ ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร

สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ.

พระราชาผู้ชอบธรรม ดี, นรชนผู้มีปัญญา ดี, ผู้ไม่

ประทุษร้ายมิตร ดี, การไม่ทำบาป เป็นสุข

.เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ...

คำว่าสาธุกับอนุโมทนา

ขอทราบความหมายของประโยค อนุโมทนา สาธุ

อนุโมทนา ...สาธุ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
medulla
วันที่ 5 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
khampan.a
วันที่ 6 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาที่คุณแล้วเจอกันยกมาอย่างละเอียด สมบูรณเป็นอย่างยิ่ง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ทศพล.com
วันที่ 6 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงยิ่ง
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
pornchai.s
วันที่ 6 ม.ค. 2551

สาธุ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
pornpaon
วันที่ 6 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาทั้งคุณคำปันและคุณแล้วเจอกัน เพราะทำให้ได้อ่านเรื่องที่น่าอ่านและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง รวมทั้งการอธิบายความโดยละเอียดด้วย ขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
wannee.s
วันที่ 7 ม.ค. 2551

ถ้ารู้ว่าตนเองเป็นคนพาล อาศัยการคบบัณฑิตก็มีโอกาสเป็นคนดีได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
อิสระ
วันที่ 7 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
saifon.p
วันที่ 7 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ