English-Thai-Hindi 15 March 2025

 
prinwut
วันที่  19 มี.ค. 2568
หมายเลข  49620
อ่าน  276

English-Thai-Hindi 15 March 2025


- (คุณอาคิ่ล - คิดคืออะไร และขณะที่คิดต่างหรือเหมือนกัน) เดี๋ยวนี้มีคิดไหม เพราะฉะนั้นคิดคืออะไร เป็นธรรมไหม เป็นธรรมประเภทไหน เห็นไหม ไม่ลืมว่าความจริงของธรรม ๒ อย่าง

- เพราะฉะนั้นคิดเป็นธรรมประเภทไหน (คุณอาช่า - นามธรรม) นามธรรมเป็นชื่อแต่ความจริงคือเป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดขึ้นรู้สิ่งที่เห็นเดี๋ยวนี้ สิ่งที่คิดเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นไม่ว่านามธรรมอะไรที่เกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ ถูกไหม ไม่ใช่แค่คำว่า นาม เท่านั้น เห็นเป็นนาม ได้ยินเป็นนาม เท่านั้นไม่พอแต่ความจริงของสิ่งที่เป็นนามไม่ใช่แค่คำ แต่เป็นสภาพที่มีจริงเดี๋ยวนี้เป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดขึ้นรู้

- เพราะฉะนั้นไม่ว่าขณะไหนที่อารมณ์ปรากฏต้องมีสภาพรู้เกิดขึ้นรู้สิ่งนั้น ไม่ว่าเห็นเดี๋ยวนี้ ได้ยินเดี๋ยวนี้ ได้กลิ่นเดี๋ยวนี้ คิดนึกเดี๋ยวนี้ เห็นไหม ต้นไม้คิดได้ไหม ด้วยเหตุนี้เราต้องมีพื้นฐานที่มั่นคงในความจริงว่า ธรรมไม่ใช่ใคร แต่เป็นสภาพธรรม สิ่งที่มีจริงต้องมีลักษณะของตน ยกตัวอย่างเช่น เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่ถูกเห็นเป็นสิ่งที่มีจริงไหม เมื่อเป็นสิ่งที่มีจริงๆ สิ่งนี้สามารถที่จะรู้สิ่งที่ปรากฏได้ไหมหรือป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น

- เริ่มต้นแล้วเริ่มต้นอีกที่จะเข้าใกล้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ว่าเป็นสภาพที่รู้สิ่งที่ปรากฏหรือเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถ้าไม่มีความเข้าใจที่มั่นคงพอก็จะมีความคิดว่าเป็น “เรา” ในแต่ละขณะที่รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเดี๋ยวนี้ เช่น “เราคิด” แต่ว่าเป็นเราหรือเป็นสภาพธรรมที่คิดถึงสิ่งที่เห็น ได้ยิน ฯลฯ

- เพราะฉะนั้นไม่ว่าที่ไหน เมื่อไหร่ สิ่งที่เรียนได้ศึกษาเป็นธรรม ถ้าไม่คิดว่าเป็นธรรมก็ต้องเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จริงไหม เพราะฉะนั้นไม่ลืมความจริงของธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงๆ กำลังปรากฏ แตกต่างกันตามลักษณะของแต่ละหนึ่ง มีสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงรู้อารมณ์เท่านั้นและอีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นไม่สามารถรู้อะไร เช่น กลิ่น เสียงไม่สามารถรู้อะไรได้เลย

- เมื่อมีความเข้าใจที่มั่นคงในสิ่งที่เกิดขึ้นและรู้สิ่งที่ปรากฏ การคิดนึกเป็นความคิดซึ่งเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง และตามความเป็นจริงต้องเป็นจิตซึ่งเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ถูกไหม ไม่ใช่แค่คำว่า “คิดเป็นธรรม” แบบนั้นไร้ประโยชน์ แต่เดี๋ยวนี้มีคิดที่ไม่ใช่เห็น ไม่ใช่เห็น ไม่ใช่ได้กลิ่น ไม่ใช่ลิ้มรส ไม่ใช่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เพราะฉะนั้นความคิดเกิดต่อเมื่อรู้อารมณ์ใดก็ตามที่เกิดขึ้นปรากฏก็คิดถึงสิ่งนั้น

- วิถีจิตทางตารู้อารมณ์ที่ถูกเห็นเท่านั้น คุณอาคิ่ลช่วยแปลด้วย ในแต่ละวันมีแต่เห็นแต่ได้ยินเท่านั้นหรือเปล่า หรือว่ามีการคิดด้วยว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดทันทีอย่างเร็วสุดประมาณ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ๑ ขณะของเห็น จิตที่เกิดก่อนเห็นไม่เห็น จิตที่เกิดหลังเห็นไม่เห็น มีเพียงขณะเดียวเท่านั้นที่เห็นสั้นมาก แต่ว่าไม่มีอะไรปรากฏเดี๋ยวนี้ว่าเป็นจิตก่อนเห็นหรือจิตหลังเห็น แต่สิ่งที่มีตลอดคือเห็น

- เพราะฉะนั้นเราอยู่ในโลกของความไม่รู้ที่ไม่เข้าใจความจริงแต่ละขณะ ถูกต้องไหม นี้คือ สัจจบารมี มั่นคงในความจริงเพราะความจริงลึกซึ้งอย่างยิ่ง ถูกต้องไหม เดี๋ยวนี้มีเห็นแต่ไม่เข้าใจลักษณะของเห็นเพียงคิดถึงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเท่านั้น และเมื่อมีความคิดถึงสิ่งที่ถูกเห็นนั่นไม่ใช่เห็น เพราะฉะนั้นคิดเกิดต่อจากแต่ละทางที่รู้สิ่งที่มีไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น หรือทางกาย ถูกไหม

- เพราะฉะนั้นไม่สงสัยเห็น คิดมีจริงๆ แต่ว่าไม่เห็น ไม่ได้ยินแต่คิดคิดถึงสิ่งซึ่งถูกเห็น ถูกได้ยินเป็นต้น ชัดเจนขึ้นไหม ความเข้าใจต้องมีสามรอบ ไม่ใช่ไปรอบที่สามตั้งแต่ตอนเริ่มต้น แต่ต้องเป็นความเข้าใจในขั้นปริยัติก่อนเมื่อเริ่มต้นคือเดี๋ยวนี้ให้มั่นคงขึ้นๆ ถูกต้องไหม สัจจบารมี ด้วยเหตุนี้จึงต้องเริ่มต้นแล้วเริ่มต้นอีกตราบใดที่ยังมาการคิดนึกอยู่เดี๋ยวนี้แต่ว่ายังไม่เข้าใจลักษณะของเห็น ถูกต้องไหม สัจจบารมี

- เดี๋ยวนี้กำลังคิดถึงสัจจะไหม คิดถึงคำว่า สัจจบารมี เพราะฉะนั้นคิดมีทั้งวันต่อจากเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรสและถึงแม้ว่าจะไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่ว่าสามารถที่จะคิดถึงสิ่งที่เคยเห็นแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นตอนนี้ไม่สงสัยแล้วหรือว่ายังสงสัย คุณสุคินมาหรือยัง ช่วยแปลหน่อย คนไทยที่ฟังอยู่จะได้เข้าใจด้วย

- เดี๋ยวนี้มีคิดไหมคุณอาช่า (คุณอาช่า - มี) คืออะไร (จิต) เห็นไหม (ไม่เห็น) ด้วยเหตุนี้เข้าใจถูกในสิ่งที่เกิดขึ้นคิดเกือบตลอดทั้งวัน แต่ความเข้าใจยังอบรมไม่มากพอเพราะว่าเป็นเพียงขั้นฟัง ต้องฟังอีก ฟังอีก ฟังอีกเพื่อถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังรู้สิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่คิด แต่เมื่อคิดคือขณะที่เกิดแทรกคั่นระหว่างสิ่งที่รู้อารมณ์ทางทวารหนึ่งทวารใดใน ๕ ทวาร ถูกไหม

- ไม่สงสัย แต่ยังไม่ใช่ขณะที่รู้ชัดเจนในคิดและในเห็นเพราะว่าต้องเป็นความเข้าใจในระดับที่สูงขึ้น ขณะนี้เรากำลังศึกษาเพียงสิ่งที่มีว่ามีอะไรและคืออะไร แต่ไม่มีปัจจัยที่จะเข้าถึงลักษณะของสิ่งที่กำลังมีว่าไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่เราเลย จึงต้องอาศัยความอดทนกว่านี้มาก และอาศัยวิริยะที่จะเริ่มต้นแล้วเริ่มต้นอีกเพราะว่ายังห่างไกลจากความเข้าใจแม้ธรรมจะมีอยู่ใกล้มากๆ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 19 มี.ค. 2568

- ธรรมไม่ได้อยู่ไกลออกไปที่ไหนเลย เห็นเดี๋ยวนี้อยู่ที่ตา ได้ยินอยู่ที่หู แต่ไม่รู้เพราะอยู่ใกล้มากจนกว่าจะมีความเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังมีที่สามารถที่จะเริ่มต้นเข้าใจในสิ่งนี้ทีละน้อยๆ นี้คือความหมายของอนัตตา ธรรมทุกทั้งหลายเป็นอนัตตาและธรรมทั้งหมดละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง เพราะว่ากำลังมีอยุ่ใกล้ๆ เดี๋ยวนี้ ไม่ได้ไกลเลยแต่ว่ายังไม่เจข้าใจตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่เราเป็นอนัตตา

- เพราะฉะนั้นเราสามารถสนทนาธรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะคิดเท่านั้น เพราะยังไม่มีการรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่มีใคร ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเดี๋ยวนี้ เพียงศึกษาเพื่อเข้าใจความจริงเพื่ออบรมความเข้าใจถูกต่อๆ ไปเพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่งปัญญาเกิดขึ้นพร้อมการระลึกตรงลักษณะของ ๑ สภาพธรรมเดี๋ยวนี้โดยไม่เลือก

- เพราะฉะนั้นมีคำถามอะไรไหม (คุณอาช่า - วิถีจิตมี ๑๗ ขณะ วิถีจิตที่เป็นความคิดมี ๑๗ ขณะเหมือนกันไหม) ไม่ใช่แค่คำแต่วิถีจิตคืออะไร ต้องเข้าใจความจริงไม่ใช่เพียงแค่คำ วิถีจิตคืออะไร (วิถีจิตคือขณะที่มีการคิดเท่านั้นถึงจะเข้าใจวิถีจิตได้)

- นั่นไม่ใช่ความหมายของวิถีจิต เมื่อเราใช้คำว่า วิถีจิต หมายถึงสภาพธรรม ๑ อย่าง ๑​ ขณะ หรือจิตหลายขณะที่เป็นวิถีจากขณะหนึ่งไปอีกขณะหนึ่ง (เข้าใจว่าหมายถึง ครบ ๑๗ ขณะจิตเป็นหนึ่งวิถี) เรายังไม่กล่าวว่า วิถีจิตมีกี่ขณะ แต่ว่าเราเพียงสนทนาถึงความหมายของคำว่า วิถีจิต เพื่อเข้าใจความต่างระหว่างวิถีจิตและที่ไม่ใช่วิถีจิต

- วิถีมุตตและวิถีจิต ต่างกันไหม (จิตที่เกิดทางตาไปจนถึงทางกายเป็นวิถีจิต) และเพราะคำว่าวิถีจิตและวิถีมุตตจิต ความรู้เบื้องต้น จำได้ไหม (คุณอาช่า - รู้แค่ว่าเกิดทางทวาร) ไม่ใช่ เราต้องเข้าใจจิตแต่ละขณะตั้งแต่ต้น

- ปฏิสนธิเป็นจิตขณะแรกของชาติหนึ่งเป็นวิถีจิตหรือไม่ใช่วิถีจิต (เป็นวิถีจิต) ไม่ใช่ เพราะว่าความต่างของจิตที่รู้อารมณ์ของโลกนี้แตกต่างจากขณะที่เกิดขึ้นปฏิสนธิไม่ได้รู้อารมณ์ของโลกนี้แต่กรรมเป็นปัจจัยให้เจิตนี้เกิดขึ้นทำกิจปฏิสนธิต่อจากจุติจิตของชาติก่อนทันทีโดยไม่มีระหว่างขึ้น เพราะฉะนั้นขณะแรกของชาตินี้จึงไม่ใช่วิถีจิตเพราะว่าเป็นจิตเพียง ๑ ขณะที่เกิดขึ้นโดยมีกรรมเป็นปัจจัยเพื่อทำกิจเกิดทันทีไม่มีระหว่างคั่นหลังตาย เพียง ๑ ไม่ใช่วิถีจิต ถูกต้องไหม

- วิถีคือจิตที่เกิดขึ้นเป็นไปหลายจิตไม่ใช่จิตเดียว เพราะฉะนั้นหนึ่งของปฏิสนธจิตเป็นวิถีจิตไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีคำว่า พ้น หรือ ไม่ใช่ วิถีมุตตจิตไม่ใช่วิถีจิตเพราะว่าเกิดขึ้นเพียงว ๑ ขณะ ตอนนี้เข้าใจชัดเจนขึ้นถึงความหมายของวิถีจิตและจิตที่เกิดต่อจากจิตทำกิจเกิดคือจิตอะไร ทันทีที่ปฏิสนธิจิตดับไปอะไรเกิดต่อทันที นี้เป็ฯหนทางศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจธรรม เพื่อเข้าใจเพิ่มขึ้นๆ จนถึงเดี๋ยวนี้ว่า แต่ละขณะต่างกันโดยปัจจัย โดยกิจหน้าที่ โดยลักษณะ

- เพราะฉะนั้นต้องเริ่มต้นแล้วเริ่มต้นอีกๆ ปฏิสนธิจิตเป็นชาติอะไร เพื่อที่จะรู้กิจหน้าที่ของจิต ปฏิสนธิจิตเป็นชาติอะไร (คุณอาช่า - วิบากจิต) วิบากจิตใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะนั้นอะไรเป็นปัจจัยให้วิบากจิตเกิดขึ้น (กรรมที่เกิดก่อน) จากไหน เมื่อไหร่ (ไม่มีใครรู้) เพราะว่ากรรมมีมากจากในอดีตหลายแสนโกฏกัปป์สามารถเป็นปัจจัยให้มีจิตที่ทำกิจเกิดเกิดขึ้นเมื่อถึงพร้อม

- ด้วยเหตุนี้ปฏิสนธิจิตจึงเกิดขึ้นเพียง ๑ ขณะจึงไม่สามารถเป็นวิถีจิต เริ่มต้นเข้าใจความต่างของวิถีจิตและจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต และขณะต่อไปหลังเกิดเป็นอะไร ขณะต่อไปมีจิตเกิดต่อโดยไม่มีระหว่างคั่นหลังตายทันทีโดยปัจจัย ไม่สามารถเป็นจิตอื่นได้นอกจากจิตที่ทำกิจเกิด และมีเพียงจิตเดียวเท่านั้นที่เกิดต่อที่ทำกิจที่ไม่ใช่ปฏิสนธิกิจอีกต่อไป แต่มีกิจหน้าที่ของตนเองซึ่งยังไม่ใช่วิถีจิต

- นี้เป็นชีวิตหรือเปล่า เป็นความจริงของชีวิตหรือเปล่า ต้องมีขณะที่เกิดตามด้วยขณะอื่น คืออะไร กรรมเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะเท่านั้นหรือ ไม่พอเลย กรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นปัจจัยให้ผลเกิดขึ้นเป็นวิบากแค่แค่ทำกิจเกิดขึ้นเท่านั้นไม่พอ

- เพราะฉะนั้นอะไรเกิดต่อจากปฏิสนธิจิตทันที ด้วยเหตุนี้เราจึงศึกษาเพื่อเข้าใจจิตแต่ละขณะๆ ในชีวิต จิตอะไรเกิดต่อจากปฏิสนธิจิต (ภวังคจิต) ภวังคจิตคืออะไร (คือจิตที่ทำกิจดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้จนกว่าจิตต่อไปจะเกิดขึ้น) จิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิตเป็นวิบากเป็นผลของกรรมเดียวกันที่เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นหรือเปล่า (ใช่ เหมือนกัน)

- เพราะฉะนั้นทำกิจอะไรเพราะไม่สามารถทำกิจปฏิสนธิได้อีกต่อไป เพียง ๑ ขณะของจิตที่สามารถทำกิจเกิดได้ เพราะฉะนั้นหลังจากเกิด กรรมเดียวกัะนที่ีทำให้จิตเกิดเป็นผลเดียวกันแต่ไม่ได้ทำกิจเดียวกันเพราะทำกิจปฏิสนธิไปแล้ว เพราะฉะนั้นจิตต่อไปเป็นผลของกรรมเดียวกันซึ่งเป็นปัจจัยให้ชีวิตในชาตินั้นเกิดขึ้นเป็นปฏิสนธิจิตสืบต่อไปๆ ทีละขณะ แม้เช่นนั้นก็ไม่ใช่วิถีจิตเพราะเหตุว่าไม่ได้รู้อารมณ์ของโลกนี้ และเมื่อรู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้อารมณ์นั้นจึงไม่ปรากฏ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 19 มี.ค. 2568

- เพราะฉะนั้นอารมณ์ของปฏิสนธิจิตและอารมณ์ของภวังค์จึงไม่ปรากฏเพราะไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่วิถีจิต เพียงเกิดขึ้นแล้วดับโดยกรรมเดียวกันเป็นปัจจัยให้ดำรงชีวิตอยู่ยังไม่ตายตราบเท่าที่กรรมยังไม่หมด ภวังค์เกิดดับสืบต่อต่อไปหลายๆ ขณะมากมายแต่เป็นประเภทเดียวกันกับปฏิสนธิจิตแต่ไม่ได้ทำกิจเดียวกันกับปฏิสนธิและยังไม่ใช่วิถีจิต ชัดเจนขึ้นไหม

- ปฏิสนธิจิตและภวังค์ไม่ใช่วิถีจิตเลยเพราะยังไม่ใช่จิตที่เป็นวิถีที่รู้อารมณ์ของโลกนี้ ด้วยเหตุนี้คำว่าวิถีหมายถึงจิตขณะที่รู้อารมณ์ของโลกนี้เดี๋ยวนี้ สิ่งที่ปรากฏทางตากำลังปรากฏกับจิตเห็น เสียงกำลังปรากฏับจิตได้ยินเป็นอารมณ์ของโลกนี้ เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจความต่างของวิถีจิตและจิตที่ไม่ใช่วิถี ปฏิสนธิจิตและภวังค์ไม่สามารถเป็นวิถีจิตได้เพราะเกิดขึ้นแต่ละ ขณะโดยมีกรรมเป็นปัจจัยเพื่อรู้อารมณ์ที่ไม่ปรากฏเพราะไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้ เพราะฉะนั้นต้องเริ่มเข้าใจ

- เดี๋ยวนี้มีปฏิสนธิจิตไหม (คุณอาช่า - ไม่มี) เดี๋ยวนี้มีภวังคจิตไหม (มี) เมื่อไหร่ (อยู่คั่นระหว่างวิถีจิตสองวาระ) ไม่เอาอย่างนั้น เอาความเข้าใจให้เขาคิดด้วยความเข้าใจว่า เดี๋ยวนี้มีภวังค์ไหม คุณสุคินอย่าลืมนะคะ ฟังคำถาม เข้าใจคำถาม คิดคำตอบ ตอบตรงคำถาม ดิฉันถามว่า เดี๋ยวนี้มีภวังคจิตไหม

- บอกคุณอาช่าว่า ฟังคำถาม คิดคำถาม เข้าใจคำถามแล้วตอบตรงคำถามเท่านั้น เรียนธรรมต้องเรียนทีละคำจริงๆ ให้เข้าใจละเอียดแจ่มแจ้ง มิฉะนั้นจะไม่เข้าใจเลย นี้เป็นคำถามให้เข้าใจวิถีจิตแต่จะไม่ถามตรง ให้คิดไตร่ตรอง คุณอาช่าทราบแล้วใช่ไหมจิตที่ไม่ใช่วิถีคืออะไร (คุณอาช่า - จิตที่ไม่ใช่วิถีเป็นจิตที่ไม่ได้เกิดทางทวารใดทวารหนึ่ง) ดิฉันพูดว่าทุกจิตต้องรู้อารมณ์ จิตที่ไม่ใช่สวิถีจิตเป็นจิตที่ไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้

- ต้องตั้งต้นแล้วไม่ลืม จิตเกิดขึ้นไม่รู้อารมณ์ได้ไหม อารมณ์หมายความถึงสิ่งที่จิตรู้ (ไม่ได้) กำลังนอนหลับสนิท จิตรู้อารมณ์อะไร (คุณอาช่า - เป็นอารมณ์ในอดีตที่ไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้) เมื่อนอนหลับสนิทมีจิตยังไม่ตายแต่ขณะนั้นไม่ได้รู้อารมณ์ของโลกนี้ อารมณ์นั้นปรากฏไหม กำลังนอนหลับสนิทไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้ ขณะนั้นจะรู้ไหมว่าเป็นใครอยู่ที่ไหน (ไม่ได้)

- เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นผลของกรรมที่ทำให้เป็นคนนี้ในโลกนี้เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ ขณะเกิดจิตต้องรู้อารมณ์แต่อารมณ์ไม่ปรากฏ เพราะปฏิสนธิจิตมีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จุติของชาติก่อนใกล้ตายขณะสุดท้าย จากขณะสุดท้ายที่ตายจากโลกก่อนเป็นปฏิสนธิทันทีของโลกใหม่ขณะแรกมีอารมณ์เดียวกัน

- เพราะฉะนั้นขณะเกิด ขณะที่เป็นภวังค์หลับสนิท ขณะจุติ มีอารมณ์เดียวกันเพราะเป็นผลของกรรมเดียวกัน เกิดเป็นนกๆ ยังไม่ตายแล้วนกก็ตาย เกิดเป็นปลาๆ ยังไม่ตายแล้วปลาก็ตาย เพราะฉะนั้นเป็นผลของกรรมเดียวกันที่ทำให้เกิด เมื่อยังไม่ตายจิตประเภทืเดียวที่เป็นผลของกรรมที่ทำให้เกิดก็ดำรงภพชาติใช้คำว่า ภว กับ องฺค ทำกิจภวังค์ ขณะที่เกิดมีอารมณ์เดียวไม่ปรากฏ ขณะที่เป็นภวังค์มีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิ อารมณ์จะปรากฏไหม (ไม่)

- เพราะฉะนั้นตราบใดที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก จิตต้องเกิดทำกิจภวังค์ดำรงภพชาติโดยอารมณ์ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นภวังคจิตเกิดดับดำรงภพชาติเหมือนกระแสน้ำที่ไหลไปและเมื่อกระทบกับสิ่งที่กระทบตาก็เห็น

- เพราะฉะนั้นขณะที่เห็นไม่ใช่ขณะที่หลับสนิท ถ้าไม่มีสิ่งที่กระทบตาจิตเห็นจะเกิดเห็นสิ่งนั้นได้ไหม เพราะฉะนั้นทุกจิตที่ไม่ใช่ภวังคจิตเป็นวิถีจิต ตอนนี้มั่นคงหรือยัง จิตเกิดดับสืบต่อจนกว่าจะมีการกระทบตา ขณะนั้นที่กระทบแล้วเห็นไม่ใช่ภวังคจิต เพราะฉะนั้นจิตทุกจิตที่ไม่ใช่ภวังคจิตเป็นวิถีจิตทั้งหมด

- เห็นเป็นวิถีจิตหรือเปล่า ได้ยินเป็นวิถีจิตหรือเปล่า คิดเป็นวิถีจิตหรือเปล่า ภวังคจิตเป็นวิถีจิตหรือเปล่า (ไม่) เข้าใจชัดเจนแล้วนะคะ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตเกิดเพราะกรรมเดียวกันเป็นปัจจัยแตืทำกิจต่างกัน

- จิตเกิดขึ้นทำกิจหนึ่ง ไม่ทำไม่ได้ จิตหนึ่งจิตทำ ๒ กิจได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นกรรมที่ทำให้ผลของกรรมคือวิบากจิตขณะแรกทำปฏิสนธิกิจเท่านั้นทำกิจอื่นได้ไหม (ไม่ได้) จิตที่ทำกิจเกิดปฏิสนธิทำปฏิสนธิกิจจะทำจุติกิจได้ไหม (ไม่ได้) เพราะว่าปฏิสนธิจิตทำกิจปฏิสนธิ จุติจิตทำกิจจุติ ทำกิจเดียวกันไม่ได้แต่ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตเป็นจิตประเภทเดียวกันเป็นผลของกรรมเดียวกัน

- เพราะฉะนั้นกรรมที่ได้ทำแล้วจะเป็นปัจจัยให้จิตทำกิจปฏิสนธิเกิดขึ้นและเป็นภวังค์ไม่รู้อารมณ์ใดของโลกนี้เลย พอไหมที่จะเป็นผลของกรรม (ต้องมีกรรมอื่นให้ผล) ถ้ากรรมทำให้เกิดแล้วก็เป็นภวังค์แล้วก็ตาย ไม่เห็นไม่ได้ยินอะไรเลยจะเป็นผลของกรรมได้ไหมแค่นั้นเพราะไม่มีอะไรปรากฏเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prinwut
วันที่ 19 มี.ค. 2568

- เพราะฉะนั้นกรรมให้ผลมากกว่านั้น มากกว่าปฏิสนธิ ภวังค์และจุติ เพราะฉะนั้นเกิดแล้วจึงต้องเห็นไม่เห็นไม่ได้ ใครจะรู้บ้างว่า เห็นเดี๋ยวนี้เป็นผลของกรรมที่ทำให้ต้องเห็น

- มีใครเลือกเห็นสิ่งที่น่าพอใจได้ไหม (ไม่ได้) นี่แหละวิถีจิตเริ่มเพราะเกิดแล้วเป็นผลของกรรมที่ต้องเห็นเลือกไม่ได้ พูดอย่างนี้ดูเหมือนธรรมดาแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า ขณะเห็นไม่ใช่ขณะหลับสนิท ไม่ใช่ขณะเกิด ไม่ใช่ขณะตาย

- ใครทำให้เห็นเกิดได้ไหมเดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น บางคนเห็นสิ่งที่น่าพอใจสวยงามมากเพชรนิลจินดา บางคนเห็นสิ่งที่ไม่น่าจะสบายใจเลย เห็นซากศพอุบัติเหตุกลางถนน ต่างกันไหม เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจธรรม ทุกอย่างที่มีจริงเกิดแล้วมีจริงๆ เป็นธรรม ธรรมที่เกิดเป็นธาตุรู้ จิตเจตสิกต้องรู้สิ่งที่ปรากฏเป็นอารมณ์

- เดี๋ยวนี้มีจิตไหม (มี) เดี๋ยวนี้จิตรู้อารมณ์ไหม (รู้) กำลังนอนหลับสนิทมีจิตไหม จิตรู้อารมณ์หรือเปล่า (รู้) อารมณ์ของจิตที่หลับสนิทปรากฏไหม เพราะฉะนั้นขณะที่หลับสนิทเป็นวิถีจิตหรือปล่า (ไม่) ดีมาก ไม่ลืมตลอดชีวิตทุกชาติเปลี่ยนไม่ได้เลย

- กำลังเห็นเป็นวิถีจิตหรือเปล่า (เป็น) ไม่สงสัยเลย กำลังได้ยินเป็นจิตไม่ใช่เราและก็เป็นวิถีจิตที่กำลังได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทั้งวัน เพราะฉะนั้นบางคนกล่าวว่า ทั้งวันมีแต่วิถีจิตแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ทั้งวันไม่ใช่มีแต่วิถีจิตเท่านั้น มีภวังคจิตเกิดสลับกับวิถีจิตด้วยเพราะขณะเห็นเป็นวิถีจิต ขณะได้ยินเป็นวิถีจิต ทันทีที่วิถีจิตที่เห็นดับจะได้ยินต่อทันทีไม่ได้ต้องมีภวังคจิตเกิดคั่น ด้วยเหตุนี้ทั้งวันจึงมีวิถีจิตสลับกับจิตที่ไม่ใช่วิถีคือ ภวังคจิต

- เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือยัง ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสรู้และไม่ทรงแสดงความจริงที่ลึกซึ้ง ไม่ว่าใครทั้งสิ้นจะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม ก็ไม่รู้ความจริงนี้ได้ เพราะฉะนั้นจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อได้เริ่มฟังคำของพระองค์ทีละคำและเข้าใจความจริงที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่งที่พระองค์ตรัสว่า ธรรมทั้งปวงทั้งสิ้นทั้งหมดเป็นอนัตตา เพราะเป็นธรรมแต่ละ ๑ ที่เกิดดับเร็วมาก ปกปิดความจริงทั้งชาติ

- เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจวิถีจิต แต่เดี๋ยวจะละเอียดขึ้น เดี๋ยวนี้สิ่งที่ถูกเห็นมีไหม กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็น เห็นจะเกิดก่อนสิ่งนั้นกระทบตาได้ไหม (ไม่ได้) เห็นไหม ก่อนเห็นยังต้องมีปัจจัยที่จะทำให้เห็นเกิด ถ้าไม่มีตาจะเห็นได้ไหม มีตาแต่ไม่มีสิ่งที่กำลังปรากฏกระทบตาจะเห็นได้ไหม เพราะฉะนั้นเริ่มรู้ว่า ต้องเห็นสิ่งที่กระทบตาเท่านั้น ถ้าสิ่งนั้นไม่กระทบตาจะเห็นสิ่งนั้นได้ไหม คุณอาช่าเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหลังแล้วไม่กระทบตาได้ไหม

- เริ่มเข้าใจว่า​ ธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา ทุกอย่างที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ต้องเกิด เกิดแล้วต้องดับเพราะไม่ได้เห็นตลอดเวลา สิ่งที่ปรกาฏทางตาความจริงไม่ได้ปรากฏทั้งวันตลอดเวลาเพราะขณะที่ได้ยินไม่ใช่ขณะที่เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ จริงไหม

- จิตเกิดดับเร็วมากมานานแล้วสืบต่อไม่หยุดเลยจนถึงเดี๋ษยวนี้ บางขณะเป็นจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต บางขณะเป็นจิตที่เป็นวิถีจิต ขณะที่ไม่ใช่วิถีจิตเป็นจิตอะไร (ตอนแรกตอบว่าเป็นวิถีวิมุตติ แต่ตอนหลังตอบว่าเป็นภวังค์) เรียนภาษาบาลีทีละคำก็ได้ ไม่ใช่วิถีจิต พ้นจากการเป็นวิถีจิต เป็นวิถีจิตไม่ได้นั่นคือ วิถีมุตตจิต

- เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจจิตที่ไม่ใช่วิถีจิตแล้ว ตอนนี้เราจะศึกษาเรื่องของวิถีจิตทีละเล็กทีละน้อยจึงจะชื่อว่า มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ใครก็ตามที่เพียงพูดว่า “มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง” แต่ไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยไม่เข้าใจความจริงที่พระองค์ทรงแสดงด้วยคำหลากหลายที่แสดงความต่างๆ ของธรรมจะรู้ความจริงได้ไหม จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งหรือเปล่า

- เพราะฉะนั้นต้องตรงในความหมายของพุทธ ไม่ใช่ปัญญาธรรมดาแต่เป็นปัญญาที่เหนือปัญญาใดๆ เพราะทรงแสดงความจริงที่ถูกปกปิดไว้เมื่อไม่ค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ก่อนฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ไหมว่าธรรมคืออะไร และถ้าไม่รู้ว่าธรรมคืออะไรจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งหรือ ถ้าคิดว่ามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแต่ไม่ฟังคำของพระองค์ให้เข้าใจเลย จะเป็นความจริงไหมว่ามีพระองค์เป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้นจึงเริ่มสัจจบารมี ทุกคำที่เริ่มค่อยๆ เข้าใจขึ้นเป็นการเคารพและพึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่เริ่มได้ฟังจนกระทั่งเข้าใจขึ้นจนประจักษ์แจ้งความจริงได้จึงเริ่มเข้าใจความหมายของธรรม สัจจธรรม อริยสัจจธรรม

- เพราะฉะนั้นเรากำลังเริ่มต้นที่จะเข้าใจวิถีจิตแรก ทำไมใช้คำว่าวิถีจิตที่ ๑ หรือวิถีจิตแรกเพราะวิถีจิตทุกขณะทุกวิถีจิตเป็นจิตที่รู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prinwut
วันที่ 19 มี.ค. 2568

- ถ้าสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเดี๋ยวนี้ไม่กระทบตาจะเห็นไหม ไม่เห็นแน่แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความละเอียดของวิถีจิต ขณะที่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาที่เล็กที่สุดที่กระทบตาขณะนั้นจิตเป็นอะไร ทันทีที่สิ่งที่กระทบตาเดี๋ยวนี้กระทบจักขุปสาทรูปพิเศษที่สิ่งที่กระทบตาสามารถกระทบได้เพียงรูปเดียวขณะนั้นจิตเป็นอะไร (เป็นภวังค์) ภวังค์ไหน เพราะอะไร

- ขณะที่สิ่งที่กำลังกระทบตา เราจะใช้คำว่า รูป รูปารมณ์ หรือสีสีนวัณณะก้ได้ จะไม่ใช้คำอะไรเลยก็ได้ สิ่งนี้มีจริงกระทบตาจักขุปสาทขณะนั้นที่รูปนั้นกระทบตาจิตขณะนั้นเป็นอะไร (ภวังคจิต) เป็นภวังคจิตแต่เป็นภวังค์แรกที่ถูกกระทบ ถูกต้องไหม

- กำลังเป็นภวังคจิตๆ แล้วมีสิ่งคือมีรูปกระทบตาขณะนั้นจิตกำลังเป็นภวังค์ ขณะที่รูปกระทบตาครั้งแรกสุดกระทบภวงัค์ที่ชื่อว่า อตีตภวงัค์ ทำไมเรียกอตีตภวังค์ เพราะทรงแสดงว่า รูปทุกรูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗​ ขณะ ตราบใดที่รูปยังไม่ดับก็จะเป็นปัจจัยให้จิตรู้รูปที่กรนะทบ จิตทุกขณะที่รู้รูปที่ยังไม่ดับเป็นวิถีจิต ถ้าพูดอย่างนี้หมายความว่า วิถีจิตมีหลายขณะไม่ใช่ขณะเดียว

- จิตทุกจิตต้องเกิดขึ้นทำกิจสืบต่อกันตามลำดับเพราะฉะนั้นภวงัคจิตจะเห็นไม่ได้แต่วิถีจิตเท่านั้นที่สามารถจะรู้อารมณ์ที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กายได้ อย่าลืมว่า รูปอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗​ ขณะ ๑๗​ ขณะเร็วมาก เมื่อรูปดับแล้วจิตจะรูปรูปนั้นต่อไปไม่ได้เพราะรูปดับแล้ว มีหลายคนบอกว่า วิถีจิตยากเพราะไม่ฟังให้ดีๆ ไม่ฟังให้ละเอียดทีละ ๑ วิถีจิต เป็นสิ่งที่ไม่เคยคิดไม่เคยรู้มาก่อนเลย จึงเป็นสิ่งที่ใหม่มากทำให้รู้ว่ายากมาก

- เพราะฉะนั้นขณะแรกที่รูปกระทบตาขณะนั้นจิตเป็นภวังค์ เราใช้คำทุกคำที่จะให้เห็นความต่างของจิตต่างๆ ที่รู้รูปที่ยังไม่ดับเป็นวิถีจิตทั้งหมด ไม่รีบร้อนที่จะเข้าใจเร็ว จำเร็วๆ แต่ต้องเข้าใจละเอียดขึ้น รูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ทันทีที่รูปเกิดกระทบภวังค์ ๑ ขณะแล้วเพราะฉะนั้นรูปยังมีอายุเหลืออีกกี่ขณะ (๑๖) ​เพราะฉะนั้นภวังค์ที่ถูกกระทบชื่อว่า อตีตภวังค์เพื่อจะรู้ว่ารูปจะดับเมื่อไหร่

- รูปเกิดพร้อมกับอตีตภวังค์ ๑ ขณะ จะให้จิตเกิดขึ้นเห็นทันทีไม่ได้ เพราะกำลังเป็นกระแสภวังค์ ต้องสิ้นสุดกระแสของภวังค์จึงสามารถรู้รูปที่กระทบได้ เพราะฉะนั้นขณะที่ ๑ เป็นอตีตภวังค์ ขณะที่ ๒ ยังรู้ทันทีไม่ได้ต้องไหวที่จะทิ้งอารมณ์เก่าจึงชื่อว่า “ภวังคจลนะ”

- ภวังคจลนะมีอะไรเป็นอารมณ์ (ไม่สามารถรู้ได้เพราะเป็นอารมณ์ของชาติอก่อน) เพราะฉะนั้นอารมณ์ของภวังค์ไม่เปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นภวังค์อะไรก็ตามแต่ ภวังค์ต้องมีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิ จุติ มีอารมณ์ของชาติก่อน

- เพราะฉะนั้นรูปกระทบเป็นอตีตภวังค์ ขณะที่ ๒ ภวังค์ไหวเพื่อที่จะรับอารมณ์ใหม่แต่ก็ยังต้องมีอารมณ์เดิมเพราะทำหน้าที่ภวังค์จึงเป็นภวังคจลนะ เพราะฉะนั้นถ้ามีภวังคจลนะก็แสดงว่า ยังรู้อารมณ์ของภวังค์อยู่และภวังคจลนะดับไหม (ดับ) การดับไปของภวังคจลนะเป็นปัจจัยให้ภวังค์ที่เกิดต่อสิ้นสุดกระแสของภวังค์เป็นภวังค์ต่อไปไม่ได้

- เป็นภวังค์ต่อไปไม่ได้หมายความอะไร (หลังจากนั้นต้องเป็นวิถี) ต่อจากนั้นต้องเป็นวิถีจิตหมายความว่าอะไร อารมณ์กระทบภวังค์เพราะฉะนั้นจะเป็นภวังค์ต่อไปไม่ได้ แต่ต้องหลังจากที่กระทบแล้ว ๑ ขณะเป็นภวังค์ ขณะต่อไปเป็นภวังคจลนะเริ่มไหวที่จะทิ้งอารมณ์เก่า เมื่อภวังคจลนะดับแล้วเป็นภวังคุปัจเฉทะสิ้นสุดกระแสภวังค์จะเป็นภวังค์ต่อไปไม่ได้เพราะมีอารมณ์กระทบจึงเป็นปัจจัยให้ต้องรู้อารมณ์ที่กระทบ

- เพราะฉะนั้นจิตต่อไปคือจิตอะไร (ปัญจทวาราวัชชนะ) เป็นจิตอะไร (เป็นกิริยา) เป็นอะไร (เป็นจิตที่ไม่ใช่วิบาก ไม่ได้เป็นกุศล ไม่ได้เป็นอกุศล) เป็นอะไร (รู้ว่าเป็นกิริยาที่ไม่ทำให้เกิดผล) แต่เรากำลังเรียนเรื่องวิถีจิตกับจิตที่ไม่ใช่วิถีจิตให้มั่นคงให้เข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงชื่อ เพราะฉะนั้นเมื่อภวังคุปัจเฉทะดับเป็นภวังค์ต่อไปไม่ได้ จิตต่อไปเริ่มเป็นวิถีจิต

- คำว่าเริ่มเป็นวิถีจิตหมายความว่าอะไร (เป็นวิถีจิตแรก) หมายความว่าจะต้องมีวิถีจิตอื่นต่อไปใช่ไหมเพราะใช่คำว่า “เริ่มเป็นวิถีจิตแรก” เวลาภวังคุปเฉทะดับเป็นปัจจัยให้วิถีจิตแรกเกิดขึ้นทำกิจอะไร (ทำกิจที่จะรู้อารมณ์ที่กระทบ) จิตนี้เห็นไหม (ไม่) เพราะอะไร (เพราะมีกิจของตนเอง) กิจนั้นคืออะไร (ไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร) ไม่เรียกแต่ถ้าไม่ใช้ชื่อก็ไม่รู้ แต่ชื่อนั้นต้องตรงกับหน้าที่าของจิต

- เพราะฉะนั้นเมื่ออารมณ์กระทบตาขณะนั้นจิตเป็นภวังค์ยังไม่เห็น จนกว่าจะหมดกระแสภวังค์จึงจะมีอารมณ์อื่นไดเ้ เพราะฉะนั้นเมื่อภวังคจิตไม่ใช่วิถีจิต จิตที่ไม่ใช่ภวังค์จึงเป็นวิถีจิตเพราะเริ่มรู้สิ่งที่กระทบไม่ว่าจะทางตา หรือหู หรือจมูก หรือลิ้น หรือกายจึงไม่ใช่ภวังค์เพราะมีอารมณ์ใหม่คือ รู้อารมณ์ที่กระทบตา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prinwut
วันที่ 19 มี.ค. 2568

- เพราะฉะนั้นจิตที่เพียงรู้ว่า อารมณ์กระทบตาภาษาบาลีใช้คำว่า “อาวัชชนะ” คุณอาช่าอยู่ในห้อง มีแขกมาที่ประตู เห็นไหม (ไม่รู้) ไม่เห็นแต่รู้ไหมว่ามีคนที่หน้าประตู (รู้) รู้แต่ไม่เห็นใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะนั้นจิตนี้เป็นวิถีจิตแรกที่รู้ว่ามีอะไรกระทบทางไหนทวารไหน ก่อนได้ยินเสียงต้องกระทบหู

- เพราะฉะนั้นในขณะที่เป็นภวังค์ไม่มีอะไรกระทบเลยก็เป็นภวังค์ต่อไป แต่ในขณะที่กำลังเป็นภวังค์แล้วมีสิ่งที่กระทบตาหรือหูหรือจมูกก็ตามแต่ ตาเป็นปัจจัยให้เกิดเห็นแต่เห็นสิ่งที่ถูกเห็นกระทบตา ตาเป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นปัจจัยที่จะทำให้เห็นซึ่งเป็นผลของกรรม

- เพราะฉะนั้นทันทีที่รูปกระทบตา ขณะนั้นเป็นภวังค์ ภวังค์เกิดดับสืบต่อจนกว่าจะมีอะไรกระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะฉะนั้นเมื่อตาเป็นปัจจัยที่จะทำให้จิตเห็นเกิดเมื่อรูปกระทบตาขณะที่เป็นภวังค์ ขณะแรกที่กระทบตาเป็นภวังค์ที่ใช้คำว่า อตีตภวังค์เพราะให้รู้ว่ารูปจะดับเมื่อไหร่ เพราะรูปจะดับเมื่อจิตเกิดดับ ๑๗​ ขณะ

- เพราะฉะนั้นรูปที่กระทบกระทบตากี่ขณะครั้งแรก รูปเกิดกระทบตากี่ขณะเมื่อกระทบ เป็นรูปกี่ขณะเมื่อกระทบตา (เป็นจิตแรกใน ๑๗​ จิตที่จะเกิด) เป็น ๑ ขณะของรูปที่เกิดเพราะรูปจะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ

- เพราะฉะนั้นถ้าจิตยังคงเป็นภวังค์ต่อไปไม่เห็นก็ไม่ได้รับผลของกรรมทางตา แต่ทุกขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นผลของกรรมที่จะต้องเกิดขึ้นให้จิตรู้สิ่งนั้น ภวังค์ที่ถูกกระทบ ๑ ขณะเพราะฉะนั้นขณะที่ภวังค์ที่รูปกระทบดับจิตจะเกิดขึ้นรู้สิ่งที่กระทบทันทีไม่ได้เพราะกำลังเป็นกระแสของภวังค์ยังต้องเป็นภวังค์ต่อไปอีกแต่เริ่มไหวที่จะทิ้งอารมณ์เก่าจึงชื่อว่า ภวังคจลนะ เป็นรูปกี่ขณะแล้ว

- อตีตภวังค์คือภวังค์ที่กระทบตา การที่ใช้คำว่า “อตีต” และชื่ออื่นๆ เพื่อแสดงให้รู้ว่า รูปมีอายุกี่ขณะแล้ว เพราะรูปทุกรูปที่เกิดดับเมื่อจิตเกิดดับไป ๑๗ ขณะ หมายความว่า รูปดับช้ากว่าจิต รูปๆ เดียวจิตต้องเกิดดับถึง ๑๗ ขณะรูปนั้นจึงดับ

- ตอนนี้กำลังพูดเรื่องอายุของจิตกับอายุของรูปซึ่งต่างกัน เพราะถ้ารูปดับไปแล้วจิตจะเกิดรู้รูปนั้นไม่ได้แต่เพราะรูปๆ ๑ มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เราจึงแสดงจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ของรูปซึ่งยังไม่ดับ รูปเกิดกระทบตาขณะนั้นเป็นภวังค์จึงชื่อว่า อตีตภวังค์ เพราะแสดงว่ารูปเกิดที่ภวังค์นั้นขณะภวังค์นั้น

- รูปเกิดกระทบตากระทบภวังค์จะเกิดเห็นทันทีไม่ได้เพราะเมื่อรูปกระทบตาแล้วต้องเป็นภวังค์ต่อไปอีก ๑ ขณะ ขณะที่รูปกระทบตาเป็นอตีตภวังค์ ๑ ขณะดับยังคงต้องเป็นภวังค์ต่อไป แต่ว่าเริ่มไหวที่จะทิ้งอารมณ์เก่าเพื่อที่จะรู้อารมณ์ใหม่จึงใช้คำเรียกภวังค์ที่ต่อจากอตีตภวังค์ว่า ภวังคจลนะ เริ่มที่จะทิ้งอารมณ์เก่า ขณะนั้นรูปดับหรือยัง (ยัง)

- เพราะฉะนั้นรูปยังเหลืออีกกี่ขณะจิต (๑๕) เพราะฉะนั้นเมื่อภวังคจลนะดับยังรู้อารมณ์ทันทีไม่ได้ต้องเป็นภวังค์ขณะสุดท้ายที่จะมีภวังค์นั้นต่อไปไม่ได้ เป็นภวังคุปัจเฉทะทำหน้าที่ตัดกระแสภวังค์หมายความว่า ต่อจากนั้นภวังคจิตเกิดต่อไปไม่ได้ต้องเป็นวิถีจิต เหลือรูปอีกเท่าไหร่ ไม่ต้องถามไม่ต้องตอบก็ได้เพราะรู้อยู่แล้วว่า รูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗​ ขณะ รูปๆ ๑ จึงดับ แต่ถามเพื่อให้มีเวลาที่จะคิดและจำไม่ลืมเรื่องอายุของรูปกับอายุของจิต

- ตอนนี้เป็นภวังค์สุดกท้ายแล้ว หมายความว่าอะไร (หลังจากนั้นต้องเป็นวิถีจิต) หมายความว่าเมื่อเป็นภวงัค์สุดท้ายต่อจากนั้นเป็นภวังค์ไม่ได้ต้องเป็นวิถีจิตคือ รู้สิ่งที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จากภวังคุปเฉทะต้องเป็นวิถีจิตแรกหมายความว่า ที่ ๑ แสดงว่า วิถีจิตมีหลายขณะรู้รูปที่ยังไม่ดับไปทีละขณะจนกว่ารูปดับจึงรู้รูปนั้นต่อไปไม่ได้เพราะรูปดับแล้ว

- ทันทีที่รูปดับจิตรู้รูปนั้นต่อไปไม่ได้เพราะฉะนั้นขณะต่อไปจิตทำหน้าที่อะไร จิตอะไรเกิด (หลังจากนั้นต้องเป็นภวังค์ต่อ) ถูกต้อง เพราะฉะนั้นจึงมีภวังคจิตซึ่งไม่ใช่วิถีจิตและวิถีจิตหลายขณะ วิถีจิตที่รู้รูปทางตาไม่ใช่ขณะเดียว หลายขณะเดี๋ยวนี้

- เดี๋ยวนี้เราเห็นหรืออะไรเห็น (เห็นเห็นไม่ใช่เรา) ถามอีก ตอบให้ตรงทุกคำถามได้ เดี๋ยวนี้เห็นอะไรเห็น (เป็นจิตที่เห็น) ต้องตอบว่าเป็นวิถีจิต เรากำลังพูดเรื่องวิถีจิตกับวิถีมุตตจิต เราสนทนาเรื่องนี้เพื่อไม่ให้ลืมจิตที่ต่างกัน เป็นจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต เป็นภวังคจิตดำรงภพชาติไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้เลยกับวิถีจิตที่เห็น ได้ยินสิ่งต่างๆ ที่มีในโลกนี้แต่ไม่ใช่ ๑ ขณะจึงเป็นวิถีจิตทุกขณะที่รู้ วันนี้ก็หมดเวลาแล้วนะคะ สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 22 มี.ค. 2568

ใครก็ตามที่เพียงพูดว่า “มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง” แต่ไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยไม่เข้าใจความจริงที่พระองค์ทรงแสดงด้วยคำหลากหลายที่แสดงความต่างๆ ของธรรมจะรู้ความจริงได้ไหม จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งหรือเปล่า


กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านที่ร่วมสนทนา

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะ (บารมีทุกประการ) ของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ อย่างยิ่งที่แปลและถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 22 มี.ค. 2568

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ