ถามเรื่อง...ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน

 
ajarnkruo
วันที่  28 ก.ย. 2550
หมายเลข  4949
อ่าน  3,664

ผมเพิ่งอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งครับ เนื้อหาในข่าวเกี่ยวกับประเพณีการตักบาตรเที่ยงคืนของพระภิกษุและสามเณรที่จังหวัดเชียงราย บอกว่าเป็นพระเพณีที่สืบทอดมานานของทางล้านนา จะเป็นการทำให้พระภิกษุกระทำผิดพระวินัยไหมครับ?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 29 ก.ย. 2550

ตามพระวินัยบัญญัติของพระพุทธองค์ พระภิกษุรับอาหารในเวลาวิกาลผิดพระวินัยและผิดวิสัยของนักบวชทั้งหลายด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คนส่งสาร
วันที่ 29 ก.ย. 2550

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ -หน้าที่ 528 พระบัญญัติ ๘๑. ๗.

อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ในเวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ [๕๐๙] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . . บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ . . .นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล หมายตั้งแต่เวลาเที่ยงวันล่วงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น ที่ชื่อว่าของเคี้ยว คือ เว้น โภชนะ ๕ ของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่า ของเคี้ยวที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง. ปลา เนื้อ ภิกษุรับไว้ด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ขณะกลืน คืออาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คํากลืน. ดังนั้นผิดแน่นอน

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การบิณฑบาตรหลังเวลาวิกาล (เลยเที่ยง) ผิดพระวินัยโดยเฉพาะเวลากลางคืนไม่เหมาะสม และผิดพระวินัยครับ ซึ่งในพระไตรปิฎกแสดงว่า การบิณฑบาตรเวลากลางคืน มีโทษคือ ทำให้ตกหลุม ตกบ่อ ถูกหนาม เป็นต้น เพราะมองไม่ค่อยเห็น โจรย่อมฆ่าภิกษุได้ มาตุคาม (ผู้หญิง) ย่อมเชื้อเชิญเสพอสัทธรรม (เมถุน) ได้ นี่คือโทษในเวลาการบิณฑบาตรในเวลากลางคืน ซึ่งในตามความเป็นจริงแล้ว พระภิกษุควรมีกิจน้อย เวลากลางคืน ควรเป็นเวลาที่บำเพ็ญสมณธรรมด้วย ไม่ใช่เวลามาบิณฑบาตรครับ ซึ่งจะขอแสดงข้อความในพระไตรปิฎกเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้ามบิณฑบาตรตอนกลางคืน และโทษของการบิณฑบาตรตอนกลางคืน ลองอ่านดูนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 ก.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ครูโอ
วันที่ 29 ก.ย. 2550

ผิดเพี้ยนไปตามยุคสมัยแล้วจริงๆ หนอ...ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 29 ก.ย. 2550

ถ้าพุทธเจ้าจะทรงบัญญัติสิกขาบทปัญจมปาราชิก ก็จะทรงบัญญัติว่า ถ้าภิกษุบริโภคอาหารไม่พิจารณาก่อนบริโภคต้องปาราชิก แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมแทน ให้พิจารณาอาหาร เปรียบเหมือนเนื้อบุตร ไม่มัวเมาในอาหาร บริโภคเพื่อให้มีชีวิตอยู่ประพฤติธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายต้องบริโภคอาหารและยังติดในรส ปาราชิกจึงมี ๔ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เสพเมถุน อวดคุณธรรมที่ไม่มีในตน

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ตุลา
วันที่ 1 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pisan_08
วันที่ 12 ต.ค. 2554

แล้วที่มีบางจังหวัดจัดให้มีเป็นประเพณีใหญ่โต ทำไมไม่คำนึงถึงว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้พระกระทำผิดวินัยสงฆ์ โดยที่คนส่วนใหญ่ก็ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นคนส่งเสริมให้พระกระทำผิดวินัยสงฆ์ น่าจะมีการให้ความรู้ให้มากกว่านี้จะได้เป็นชาวพุทธที่มิใช่พุทธแต่ชื่อ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
xbird
วันที่ 1 ส.ค. 2557

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 11 มี.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ